https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/issue/feed
วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
2025-04-04T11:20:56+07:00
ดร.ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์
phadoongsit@smnc.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวารสารทางการพยาบาลราย 4 เดือน จัดทำขึ้นโดยวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์<br /><br />วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์</li> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ งานวิจัย บทความวิชาการ บทความพิเศษ ปกิณกะสาระความรู้ ด้านการพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า</li> <li>เพื่อเสริมสร้างนักวิชาการทางการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์และการศึกษา ค้นคว้าเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่</li> <li>เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกับสหวิชาชีพทั่วประเทศ</li> <li>เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานของสมาชิกวารสารวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม</li> </ol> <p><strong>ประเภทบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่</strong></p> <ol> <li>รายงานผลการวิจัย (Research report) หรือรายงานการค้นคว้าและการสำรวจด้านวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ</li> <li>บทความทางวิชาการ (Articles) ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ ที่มีเนื้อหาทันสมัย นำเสนอองค์ความรู้และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ</li> <li>บทความพิเศษ (Special articles) ประสบการณ์ด้านวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ ประสบการณ์ทางคลินิกพยาบาลหรือสหวิชาชีพ บทวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์วิชาชีพพยาบาล บทสัมภาษณ์ทางวิชาชีพการหรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</li> <li>บทความปกิณกะ (Miscellany) หรือนานาสาระ เป็นบทความที่แสดงข้อคิดเห็นสาระสำคัญบางประการที่น่าสนใจและที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพยาบาล ที่ไม่อาจจัดเข้าประเภทที่ 1-3 ได้บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และต่างหน่วยงาน/ต่างสถาบัน จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</li> </ol> <p><strong>กระบวนการ</strong><strong> Peer Review Process</strong></p> <p> บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ จำนวน 2 ท่าน <strong>โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind)</strong> และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร</strong><strong><br /></strong>จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม – เมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 (เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 (เดือน กันยายน – ธันวาคม)</p> <p> </p>
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2838
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนในชุมชน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
2025-02-06T10:50:48+07:00
กาญจนา มณีทัพ
journal_smnc@smnc.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนในชุมชน 2 ราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาล และนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติทางการพยาบาล กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทย อายุ 65 ปี อดีตข้าราชการครู รายได้ 30,000 บาท/เดือน มีสามีและลูกสาวเป็นผู้ดูแล มีแผลที่เท้าซ้าย เป็นเบาหวาน 18 ปี มีภาวะแทรกซ้อนทางไต และตา ควบคุมเบาหวานไม่ดีเนื่องจากความเครียดจากการดูแลสามี กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทย อายุ 63 ปี อาชีพรับจ้าง รายได้ประมาณ 5,000 บาท/เดือน มีหลานสาวอายุ 17 ปี เป็นผู้ดูแล มีแผลติดเชื้อที่เท้าขวา เป็นเบาหวาน 20 ปี มีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ รวมถึงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีผลต่อผลลัพธ์การดูแลที่แตกต่างกัน กรณีที่ 1 มีผลลัพธ์การรักษาดีกว่า เนื่องจากมีระดับการศึกษาและรายได้ที่สูงกว่า มีระบบสนับสนุนทางครอบครัวที่เข้มแข็ง และเข้าถึงบริการสุขภาพได้ดี ส่วนกรณีที่ 2 มีข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการ และขาดผู้ดูแลที่มีศักยภาพ ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซ้ำ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรพัฒนาระบบการดูแลในชุมชนที่ครอบคลุมมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ สร้างระบบสนับสนุนสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลและอาสาสมัครในชุมชน และสร้างเครือข่ายการดูแลที่เชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาล ชุมชน และองค์กรสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้เกิดการดูแลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p>
2025-02-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2899
ผลของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวเจริญ ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
2025-02-23T14:29:23+07:00
ธัญญานันท์ มูลศรี
journal_smnc@smnc.ac.th
<p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวเจริญ ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มทดลอง จำนวน 55 คน กลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 76 คน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาน าเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความเสี่ยงเมื่อป่วยเป็นเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคของการควบคุมเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2025-02-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2900
พัฒนารูปแบบการจัดการภาวะถดถอยของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
2025-02-23T14:42:42+07:00
ศิริวิมล สุระพล
journal_smnc@smnc.ac.th
จิตตรา ประทุมขำ
journal_smnc@smnc.ac.th
<p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะถดถอยของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนตำบลนาดูน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา 1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 15 คน, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน, และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงภาวะถดถอย จำนวน 60 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินTimed Up and Go test (TUG) แบบประเมิน Abbreviated Mental Test (AMT) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินด้านพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละ สถิติก่อน-หลัง Pared t-test เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1)สภาพปัญหาผู้สูงอายุเสี่ยงด้านการมองเห็น มากที่สุด ร้อยละ 20.70 ปัญหาช่องปาก ร้อยละ19.01 ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 18.77 2)จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนารูปแบบ ได้แผนงานดังนี้ (2.1)การจัดอบรมภาคทฤษฎีโดยการอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตร “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าว อร่อย” และจัดทำแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (2.2)การฝึกภาคปฏิบัติ โดยผู้สูงอายุนำแผนการดูแลสุขภาพ ไปปฏิบัติต่อเนื่องที่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผู้ดูแลร่วมด้วย (2.3)ติดตามดูแลและประเมินการทำกิจกรรมทุก 3 เดือน 3)ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะถดถอยของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุไม่พบการพลัดตกหกล้มในรอบ 6 เดือน การประเมินด้านความจำและความคิด มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น การประเมินภาวะซึมเศร้า ไม่พบภาวะซึมเศร้า และการประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ 1)ด้านกิจกรรมออกกำลังกาย 2)การรับประทานผัก ผลไม้สด 3)การดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 4)การสูบบุหรี่ 5)การมาพบแพทย์ตามนัด 6)การดื่มสุรา 7)การดูแลสุขภาพช่องปาก สูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation">=4.55, SD=0.19) สรุปการศึกษาครั้งนี้ทำให้มีรูปแบบในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ</p>
2025-02-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3041
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลกมลาไสย
2025-04-04T10:33:22+07:00
ภิตรดา ไสยบุญฌ์
journal_smnc@smnc.ac.th
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลกมลาไสย เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึง กันยายน 2567 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรสหสาขาวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ จำนวน 10 คน 2) บุคลากรสหสาขาวิชาชีพที่ให้บริการผู้ป่วย (แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนาการและนักกายภาพบำบัด) จำนวน 10 คน 3) ผู้ป่วยและญาติที่ผ่านการรักษาจำนวน 11 ราย และ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินระบบการดูแลผู้ป่วย STEMI 2) แบบบันทึกตัวชี้วัดทางคลินิก 3) แบบทดสอบความรู้และทักษะของบุคลากร และ 4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้</p> <p style="font-weight: 400;">ระยะที่ 1 (การศึกษาสภาพปัญหา) พบว่า ระบบการดูแลเดิมมีข้อจำกัดสำคัญ ได้แก่ ระยะเวลา Door-to-Needle Time เกินเกณฑ์มาตรฐาน 30 นาที อัตราการเสียชีวิตสูงถึง ร้อยละ 45.45 ซึ่งปัญหาที่เกิดมาจากขาดแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน และระบบประสานงานระหว่างแผนกไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงนอกเวลาราชการ นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์</p> <p style="font-weight: 400;">ระยะที่ 2 (การพัฒนาระบบ) ดำเนินการผ่าน 2 วงรอบ วงรอบแรกมุ่งพัฒนาระบบ Fast Track แนวปฏิบัติทางคลินิก และการฝึกอบรมบุคลากร ส่วนวงรอบสองเน้นการแก้ไขปัญหาที่พบในวงรอบแรก เช่น ปรับปรุงระบบส่งต่อและพัฒนาทักษะการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลลัพธ์หลังการพัฒนาพบว่า ระยะเวลา Door-to-Needle Time ลดลงเหลือ 27 นาที ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน</p> <p style="font-weight: 400;">ระยะที่ 3 (การประเมินผล) พบว่า อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บุคลากรมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม ร้อยละ 65 เป็นร้อยละ 85% หลังอบรม และผู้ป่วยมีระดับความพึงพอใจต่อบริการเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 90 นอกจากนี้ยังเกิดผลลัพธ์เชิงระบบ ได้แก่ การจัดทำชุดอุปกรณ์ STEMI Kit และระบบติดตามตัวชี้วัดทางอิเล็กทรอนิกส์</p> <p style="font-weight: 400;">สรุปได้ว่า การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลกมลาไสย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อน และสร้างความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ</p>
2025-04-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3042
ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
2025-04-04T10:48:54+07:00
จุฬาลักษณ์ พรมคำ
journal_smnc@smnc.ac.th
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (quasi - experimental research pre-posttest design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างเดือนในสิงหาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จำนวน 31 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และแบบประเมินทักษะในการการคัดแยกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ก่อนทดลองพบว่า ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ( = 6.98) ด้านทัศนคติอยู่ในปานกลาง ( = 4.07) และด้านทักษะอยู่ในสูง ( = 23.66) หลังทดลอง พบว่า ด้านความรู้อยู่ในระดับสูง ( = 8.35) ด้านทัศนคติอยู่ในระดับสูง ( = 4.43) และด้านทักษะอยู่ในระดับสูง ( = 27.64) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนน พบว่า ด้านความรู้ ด้านทักษะก่อนการทดลองและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านทัศนคติก่อนทดลองและหลังทดลองมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ρ ˂ 0.05) </p> <p style="font-weight: 400;">โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้ควรนำไปใช้ในการส่งเสริมทัศนคติในการคัดแยกของพยาบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานต่อไป</p>
2025-04-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3043
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ (New GFMIS Thai) ของบุคลากรในหน่วยบริการ สังกะดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
2025-04-04T11:01:14+07:00
บัวขาว กะฐินใหม่
journal_smnc@smnc.ac.th
อัจฉรานันท์ บัณฑจิต
journal_smnc@smnc.ac.th
รุ่งเรือง แสนโกษา
journal_smnc@smnc.ac.th
<p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ของบุคลากรในหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method Research) ระยะที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพ (Deming Cycle – PDCA) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฯ ในกลุ่มเป้าหมายบุคลากรหัวหน้างานการเงินและบัญชีหรือผู้แทนของหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information)และมีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop และระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณศึกษาในประชากรของบุคลากรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองและที่เกี่ยวข้องของหน่วยบริการ จำนวน 57 คน ในพื้นที่ 13 อำเภอ รยะเวลาศึกษา ระหว่าง มกราคม 2567 ถึง กันยายน 2567</p> <p style="font-weight: 400;"><strong> ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>1) จากการใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ (Deming Cycle – PDCA) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ พบว่า การดำเนินงานส่งงบทดลองให้กองเศรษฐกิจและประกันสุขภาพการพัฒนาคุณภาพบัญชีเกณฑ์คงค้างของหน่วยบริการ ผ่านเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ 100 2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ ปัจจัยด้านสมรรถนะของบุคลากร ปัจจัยระยะเวลาที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในหน่วยบริการ ปัจจัยระยะเวลาประสบการณ์ที่เคยเข้าใช้งานในระบบ New GFMIS Thai ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจแนวทางการบันทึกบัญชีตามนโยบายบัญชีภาครัฐ ปัจจัยด้านกระบวนการทำงาน ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านนโยบายของผู้บริหารหน่วยบริการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ โดยตัวแปรพยากรณ์ ทั้ง 8 ตัว สามารถอธิบายความแปรปรวน ของคะแนนผลการส่งงบทดลองในระบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ได้ร้อยละ 71.70 (R<sup>2</sup> = 0.717, P < 0.05) และนำไปกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ (New GFMIS Thai) ของบุคลากรในหน่วยบริการ สังกัดสำนกงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม</p> <p style="font-weight: 400;"> </p>
2025-04-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3044
การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
2025-04-04T11:20:56+07:00
นิศานาถ ถิระชัย
journal_smnc@smnc.ac.th
<p style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบกรณีศึกษาทารกแรกเกิด 2 ราย เป็นทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกป่วย โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยส่วนที่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินมาตรฐานการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยร่วมกับมีภาวะหายใจลำบากสำหรับพยาบาล และส่วนที่ 3) แผนการสอนการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดสำหรับมารดา/ผู้ดูแล เก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลจากเวชระเบียน จัดระเบียบข้อมูล วิเคราะห์และอธิบายเชิงเหตุผลเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป แผนการรักษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลตามช่วงเวลา</p> <p style="font-weight: 400;">กรณีศึกษาที่ 1 ทารกเพศหญิงผ่าตัดคลอดเนื่องจากมารดาความดันโลหิตสูง อายุครรภ์ 32<sup>+4</sup> สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิด 1,380 กรัม Apgar score นาทีที่ 1 เท่ากับ 5 นาทีที่ 5 เท่ากับ 5 ใส่ท่อช่วยหายใจ มีภาวะหายใจลำบากต่อมาเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ระหว่างการรักษามีภาวะตัวเย็น น้ำตาลในเลือดต่ำ ซีด ติดเชื้อและช็อกจากการติดเชื้อรุนแรง พบเลือดออกในโพรงสมองระดับ 1 ร่วมกับเนื้อเยื่อรอบโพรงสมองได้รับความเสียหาย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 10 วัน รักษาในหอผู้ป่วยทารกวิกฤตรวม 36 วัน อาการคงที่แต่ยังได้รับออกซิเจนทางจมูก ย้ายมาดูแลต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยทารกป่วยเพื่อให้นมทางสายยางและฝึกดูดนมมารดา รวมวันนอนโรงพยาบาล 44 วัน น้ำหนักก่อนกลับบ้าน 1,800 กรัม กรณีศึกษาที่ 2 ทารกเพศชายคลอดปกติ อายุครรภ์ 30<sup>+6</sup> สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิด 1,420 กรัม Apgar score นาทีที่ 1 เท่ากับ 6 นาทีที่ 5 เท่ากับ 8 ใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อมาเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ระหว่างการรักษามีภาวะตัวเย็น น้ำตาลในเลือดต่ำ ซีด ตัวเหลือง ติดเชื้อและช็อกจากการติดเชื้อรุนแรง พบเลือดออกในโพรงสมองระดับ 1 รักษาในหอผู้ป่วยทารกวิกฤตรวม 16 วัน อาการคงที่ย้ายมาหอผู้ป่วยทารกป่วย เพื่อดูแลให้นมทางสายยางและฝึกดูดนมมารดา รวมวันนอนโรงพยาบาล 26 วัน น้ำหนักก่อนกลับบ้าน 1,810 กรัม</p> <p><span style="font-weight: 400;"> สรุปข้อมูลของผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยในอดีต ปัจจุบัน แผนการดูแลรักษาระยะวิกฤต พ้นวิกฤตมีความคล้ายกันมาก กระบวนการดูแลทารกกลุ่มเปราะบางนี้ ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ พยาบาลสมรรถนะสูง ปฏิบัติตามมาตรฐานการการพยาบาลอย่างเคร่งครัด ประเมินได้ถูกต้อง รวดเร็วและต่อเนื่อง ตัดสินใจให้การดูแลช่วยเหลือทันท่วงที มีอุปกรณ์พร้อมใช้ ส่งผลให้อาการดีขึ้นเร็ว เกิดความปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทารกเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย </span></p>
2025-04-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025