วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS
<p><strong>วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวารสารทางการพยาบาลราย 4 เดือน จัดทำขึ้นโดยวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์<br /><br />วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์</li> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ งานวิจัย บทความวิชาการ บทความพิเศษ ปกิณกะสาระความรู้ ด้านการพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า</li> <li>เพื่อเสริมสร้างนักวิชาการทางการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์และการศึกษา ค้นคว้าเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่</li> <li>เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกับสหวิชาชีพทั่วประเทศ</li> <li>เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานของสมาชิกวารสารวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม</li> </ol> <p><strong>ประเภทบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่</strong></p> <ol> <li>รายงานผลการวิจัย (Research report) หรือรายงานการค้นคว้าและการสำรวจด้านวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ</li> <li>บทความทางวิชาการ (Articles) ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ ที่มีเนื้อหาทันสมัย นำเสนอองค์ความรู้และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ</li> <li>บทความพิเศษ (Special articles) ประสบการณ์ด้านวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ ประสบการณ์ทางคลินิกพยาบาลหรือสหวิชาชีพ บทวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์วิชาชีพพยาบาล บทสัมภาษณ์ทางวิชาชีพการหรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</li> <li>บทความปกิณกะ (Miscellany) หรือนานาสาระ เป็นบทความที่แสดงข้อคิดเห็นสาระสำคัญบางประการที่น่าสนใจและที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพยาบาล ที่ไม่อาจจัดเข้าประเภทที่ 1-3 ได้บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และต่างหน่วยงาน/ต่างสถาบัน จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</li> </ol> <p><strong>กระบวนการ</strong><strong> Peer Review Process</strong></p> <p> บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ จำนวน 2 ท่าน <strong>โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind)</strong> และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร</strong><strong><br /></strong>จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม – เมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 (เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 (เดือน กันยายน – ธันวาคม)</p> <p> </p>
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
th-TH
วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
-
การพัฒนารูปแบบการบริการ ARI Clinic แบบ 3P Safety ในโรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2396
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการ ARI Clinic แบบ 3P safetyเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 20 คน ผู้ดูแลหรือผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 100 คน ระยะเวลาในการศึกษา มีนาคม -ตุลาคม 2565 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมิน Checklist ARI และประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัย พบว่า</p> <p style="font-weight: 400;"> 1) สภาพปัญหาการจัดบริการพยาบาล ARI Clinic พบว่า สถานที่จุดบริการและห้องน้ำยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ไม่มีป้ายประชาสัมพันธ์บอกเส้นทางไปที่ ARI Clinicทำให้ผู้มารับริการได้รับบริการที่ล่าช้า อีกทั้งยังไม่มีแนวทางการบริการ ARI Clinic ที่ชัดเจน จากการประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีระดับคะแนนน้อย ในด้านการเข้าถึงการบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทันเวลา</p> <p style="font-weight: 400;"> 2) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ค้นพบ โดยใช้แบบ 3P safety ดังนี้ (1) การจัดการด้านอาคารสถานที่(P1<strong>=</strong>Place) ได้ดำเนินการสร้างอาคารบริการ ARI และห้องน้ำให้แยกออกจากอาคารทั่วไป (2)การประชาสัมพันธ์หรือสื่อสาร(P2=Promote) ติดป้ายจุดบริการให้เห็นชัดเจน รวมถึงการแบ่งโซนการบริการของแต่ละกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (3)การให้บริการ(P3=Product) จัดแนวทางบริการแบบ One Stop Service</p> <p style="font-weight: 400;"> 3) ผลการประเมิน พบว่า(1)การจัดการด้านอาคารสถานที่ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 (2)การประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารติดป้ายจุดบริการให้เห็นชัดเจน รวมถึงการแบ่งโซนการบริการของแต่ละกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ไม่พบรายงานความเสี่ยงการหาจุดบริการและไม่พบผู้ติดเชื้อจากจุดบริการ ARI (3) การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อที่ ARI Clinic มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (= 4.69<strong>, </strong>SD = 0.43) (4) ผลการประเมินความรู้ของบุคลากรในการให้บริการ ARI Clinic พบว่า คะแนนหลังการให้ความรู้ในการให้บริการ ARI Clinic สูงกว่าก่อนการให้ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0<strong>0</strong>1</p>
จันทร์เพ็ญ คุณโน
ฐญา ธนบดีวิวัฒ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-11
2024-11-11
4 3
7
19
-
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคจิตเภทร่วม : กรณีศึกษา
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2397
<p style="font-weight: 400;"><strong>บทนำ</strong> : โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากเกิดร่วมกับโรคทางจิตเวชจะทำให้การดูแลซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยจิตเภทที่มีโรคเบาหวานร่วมนั้นเกิดมาจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหารมากเกินไป การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงจากภาวะของโรคและการได้รับยาจิตเวช ที่ใช้รักษาโรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการข้างเคียงที่พบคือ ความผิดปกติระบบเผาผลาญ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลเป็นไปด้วยความลำบาก พยาบาลมีบทบาทที่สำคัญในการดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคจิตเภทร่วม ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วิธีการศึกษา</strong> : การศึกษาเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคจิตเภทร่วม ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 2 ราย ที่เข้ามาตรวจรักษาในคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลบ้านไผ่ ระหว่าง วันที่ 18 มกราคม 2567 – 23 สิงหาคม2567 </p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ผลการศึกษา :</strong> การดูแลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการมีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ดังนี้ 1) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากขาดความรู้และมีพฤติกรรมการ ดูแลตนเองไม่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน 2)ผู้ป่วยมีภาวะไขมันในเลือดสูง 3)ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของเท้าเนื่องจากมีอาการชาบริเวณ ปลายมือและเท้าทั้งสองข้าง 4)เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเนื่องจากเวียนศีรษะ 5)ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยและการจัดการความเครียด ยังไม่เหมาะสม 6)มีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้รับการดูแลสามารถปรับเปลี่ยนความคิด การรับรู้ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและเรื้อรัง</p>
ภัศรพร เจริญศักดิ์ขจร
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-11
2024-11-11
4 3
20
32
-
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2449
<p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>การออกแบบวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังทดลอง</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลวาปีปทุม 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกล และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และติดตามเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา t-test และ paired-test</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>: </strong>พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t=4.01, P<.05) และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=6.74, P <.05)</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ข้อเสนอแนะ </strong><strong>: </strong>ทีมสุขภาพควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่เหมาะสม </p>
ปัทมาพร ชนะมาร
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
33
46
-
การพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอน ของประชาชนในชุมชนตำบลหัวดง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2450
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอนของประชาชนในชุมชนตำบลหัวดง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือประชาชนทั่วไปในตำบลหัวดง จำนวน 400 คน ระยะเวลาในการวิจัย เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เก็บรวบรวบข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา </p> <p style="font-weight: 400;"> ผลการวิจัย พบว่า</p> <p style="font-weight: 400;"> 1.ปัญหาที่ประชาชนขาดความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน พบว่า (1) ประชาชนทั่วไปไม่ได้อบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ ทำให้ขาดความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ (2) มีข้อจำกัดด้วยงบประมาณ ในการที่จะทำการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน</p> <p>2. การพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอน ของประชาชนในชุมชนตำบลหัวดง ได้ดำเนินการดังนี้ 1) สร้างทีมในการฝึกอบรม 2) จัดอบรมการปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน แบบ 4 ขั้นตอน มาใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ใช้ระยะเวลาอบรม 3 ชั่วโมง/ครั้ง</p> <p>3. การประเมินผลความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอนของประชาชนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 และในส่วนผลประเมินความพึงพอใจ พบว่า รูปแบบการอบรม รูปแบบการสอนแบบฝึกปฏิบัติจริง มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด</p> <p style="font-weight: 400;"> </p>
บัวบาน ปักการะโต
สหัศถญา สุขจำนงค์
อนุชิต สิ้วอินท์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
47
57
-
การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2452
<p style="font-weight: 400;">การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนาดูน ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - เดือนมีนาคม 2567 แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่1 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและความต้องการ ระยะที่2 การพัฒนารูปแบบ ระยะที่3 การทดลองใช้รูปแบบ และระยะที่4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 12 คน 2) กลุ่มผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 25 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1)แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2)แบบทดสอบความรู้ 3)แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ pair t-test</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาดูน ให้ได้รับการดูแลอย่างครบถ้วนและการดำเนินการที่ได้มีการทบทวนแนวปฏิบัติ ที่มีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ส่งผลให้งานวิจัยนี้มีแนวปฏิบัติ ประกอบด้วย การประเมินและคัดกรอง, การประเมินซ้ำ, การปฏิบัติการพยาบาล, การพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วย และการประเมินผลลัพธ์ 2) ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย ความรู้พยาบาลวิชาชีพ พบว่าการพัฒนามีคะแนนความรู้ สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p style="font-weight: 400;">สรุปผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ทำให้การลดการเกิดอุบัติการณ์การคัดแยกผู้ป่วยล่าช้า หรือการส่งตัวผู้ป่วยล่าช้าได้ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสองได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น</p>
อภิญญา อินทรวิเศษ
สายสกุล สิงหาญ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
58
71
-
รูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในโรงพยาบาลแม่ข่าย จังหวัดมหาสารคาม
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2453
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทของการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง พัฒนากระบวนการจัดการระบบบริการสุขภาพ และศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาการจัดการระบบบริการสุขภาพโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จังหวัดมหาสารคาม แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่กันยายน 2565 ถึง กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มที่ 1 คือ คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคมะเร็ง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 26 คน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้รับผิดชอบงานมะเร็ง ในหน่วยงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งสิ้น 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามในการวิจัย ค่าความชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดการระบบบริการสุขภาพโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มหาสารคาม พบว่า มีขึ้นตอนการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน บทบาทการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในรูปแบบ ก่อนอยู่ในระดับปานกลางและหลังอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 3P การจัดการระบบบริการสุขภาพโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง หน่วยงานสาธารณสุขต้องมีการส่งเสริมให้ดำเนินงานคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง มีการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยซ้ำโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง</p>
ดวงดาว ราตรีสุข
วัชรินทร์ ทองสีเหลือง
กาญจนา จันทะนุย
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
72
84
-
พัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลหนองคู อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2454
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลหนองคู อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบการดูแลหลักในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ ผู้ดูแล จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู 15 คน ระยะเวลาในการศึกษา มกราคม–กันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (ADL) การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษา พบว่า ได้รูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลหนองคู ดังนี้ 1) พัฒนาการส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล และชุมชน เพื่อให้บริการผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด 2) พัฒนาศักยภาพผู้ดูแล เพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยในชุมชน เน้นเนื้อหาการดูแลกับหลัก 3 อ. (อ.อิริยาบถ, อ.อารมณ์, อ.อุดมปัญญา) 3) ร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชนการจัดทำแผนดูแลรายบุคคลที่สอดคล้องนาฬิกาชีวิตผู้ป่วย 4) ประสานและจัดหาแหล่งสนับสนุนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 5) ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ดังนี้ 5.1) ภาคีเครือข่ายชุมชน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 5.2) แพทย์แผนไทย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง5.3) ทีมสหวิชาชีพ เดือนละ 1 ครั้ง ภายหลังการพัฒนาทำให้มีการส่งต่อข้อมูลที่รวดเร็วทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยมีคะแนนการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (ADL) เพิ่มขึ้นทุกราย ผลการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.94, SD=0.77) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
วิศรุต ศรีสว่าง
พวงเพชร สีหาบูราณ
พิทักษ์พงษ์ พรรณพราว
ชุลีภรณ์ ปักกาเวสา
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
85
96
-
การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2455
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิด ภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 170 คน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 คน และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเมทฟอร์มิน จำนวน 150 คน ระยะเวลาในการศึกษา ตุลาคม 2564 - กันยายน 2566 เครื่องมือในการศึกษา1)แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน (MALA) ในโรงพยาบาลนาดูน 2)แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย 3)แบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัย พบว่า</p> <p style="font-weight: 400;">1. ผลการวิเคราะห์ปัญหาการเกิดภาวะ MALA ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน พบว่า ยังไม่มีรูปแบบในการป้องกันการเกิด MALA ที่ชัดเจน ขาดการทบทวนและติดตามการใช้ยา ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเกิด MALA แต่ยังได้รับยาเมทฟอร์มินซ้ำ ไม่มีแนวทางปฏิบัติสำหรับป้องกัน MALA</p> <p style="font-weight: 400;">2. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิด ภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน ประกอบด้วย 1) จัดทำแนวทางการสั่งใช้ยาเมทฟอร์มินตามระดับค่า eGFR 2)กำหนดบทบาทของสหวิชาชีพ ในการเฝ้าระวังป้องกันและติดตามการใช้ยา 3)จัดทำแนวทางการเฝ้าระวัง ผู้ป่วยที่มีประวัติ MALA 4)จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งใช้ยาเมทฟอร์มิน 5)จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาเมทฟอร์มิน 7)จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเมทฟอร์มิน</p> <p style="font-weight: 400;">3. ผลการประเมิน พบว่า มีการพัฒนารูปแบบ 3 วงรอบ ทำให้ได้รูปแบบ MALA Na dun Model ซึ่งจากการนำรูปแบบดังกล่าวมาใช้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการปรับลดขนาดยาลง ร้อยละ 16.67 สามารถหยุดยาได้ ร้อยละ 4.67 และปรับเพิ่มขนาดยาที่เหมาะสม ร้อยละ 3.33 ไม่พบอุบัติการณ์การเกิด MALA และสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบ ในระดับมาก ( = 4.18, SD = 0.46) </p>
สุจินดา วิเศษศรี
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
97
108
-
พัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2456
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้พัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการศึกษา วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกรายงานผลตรวจ แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เชิงปริมาณใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า</p> <p style="font-weight: 400;">1.ผลการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน พบว่า ขั้นตอนการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการมีหลายขั้นตอน มีความยุ่งยากในการลงบันทึกข้อมูล ไม่มีการทบทวนแนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ (LIS) ผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมากจึงมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มากขึ้น</p> <p style="font-weight: 400;">2.การพัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน ประกอบด้วย 1) ทบทวนแนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ(LIS) 2) แยกประเภทใบส่งตรวจแต่ละประเภทให้ชัดเจน 3) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การให้บริการของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 4) การรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยเร่งด่วน CBC Electrolyte Top-T ภายใน 30 นาที และ BUN/Creatinine ภายใน 45 นาที</p> <p>3. ผลการประเมิน พบว่า 1) การรายงานผลการตรวจ CBC Electrolyte Top-T ภายใน 30 นาที ร้อยละ 93.3, 93.3 ,100 ตามลำดับ ส่วน BUN/Creatinine ภายใน 45 นาที ร้อยละ 90 2) การประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, SD=0.32) </p> <p style="font-weight: 400;"> </p>
พรทิวา ไชยสงคราม
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
109
118
-
การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2457
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน ดำเนินการพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ครอบครัวผู้ป่วยและภาคีเครือข่ายชุมชน โดยใช้แนวคิด Holistic Nursing และ Home visit <strong> </strong>ระยะเวลาตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2565–กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผนจำหน่ายที่เชื่อมโยงกับทีมดูแลต่อเนื่องในชุมชน 2) การจัดบริการการเยี่ยมโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ ครอบครัว และภาคีเครือข่ายชุมชน และ 3) การกำหนดบทบาทหน้าที่ทีมสหวิชาชีพ ครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน ประเมินผลหลังการปฏิบัติตามแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลาง พบว่า ด้านทักษะความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยระยะกลางและผู้ดูแลในชุมชน อยู่ในระดับมาก ( = 4.28, SD = 0.48) ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยระยะกลางลดลง โดยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ลดลงจากร้อยละ 8.45เป็น 1.13 ภาวะปอดอักเสบ ลดลงจากร้อยละ 11.27 เป็น 2.25 การเกิดแผลกดทับ ลดลงจากร้อยละ 2.82 เป็น 0 ภาวะซึมเศร้าลดลงจากร้อยละ 7.05 เป็น 0 ผู้ป่วยกลับมา Readmit ลดลงจากร้อยละ 7.05 เป็น 2.25 จากการติดตามประเมิน ADL เมื่อครบ 6 เดือน พบว่า ร้อยละผู้ป่วยระยะกลางมีคะแนน Barthel ADL index = 20 จากร้อยละ 91.55 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 97.76</p>
สุดใจ บุบผาทาเต
สุธิกาญจน์ อิทธิศักดิ์โภคิน
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-25
2024-11-25
4 3
119
130
-
การพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2484
<p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินการการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (The assessment form of intra-aortic balloon pump weaning ; IABP weaning) ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน 1 ตุลาคม 2665 – 30 กรกฎาคม 2567 การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์และสำรวจสภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ IABP ระยะที่ 2 วางแผนการพัฒนาการดูแลและการหย่าผู้ป่วยที่ใส่เครื่อง IABP โดย 1) จัดประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อออกแบบแนวทางการดูแล 2) พัฒนาสมรรถนะบุคลากร 3) สร้างแบบประเมินการหย่าเครื่อง IABP โดยการมีส่วนร่วม ระยะที่ 3 นำใช้แบบประเมินการหย่าเครื่อง IABP กับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 ราย ระยะที่ 4 ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย</p> <p style="font-weight: 400;"> ผลการศึกษา: พบว่า 1) สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยขณะอย่าเครื่อง IABP ยังไม่ครอบคลุมตามมาตรฐานการดูแล บุคลากรให้การดูแลตามประสบการณ์และมีความหลากหลาย 2) การพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ ได้สืบค้นงานวิจัยจำนวน 15 เรื่อง นำมาสังเคราะห์สกัดข้อมูลและประเมินความเป็นไปได้ในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ในการพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ โดยได้กิจกรรมการพยาบาล 12 ข้อ 3) ผลจากการใช้แบบประเมิน พบว่า อัตราการอย่าเครื่องได้สำเร็จ 29 ราย (ร้อยละ 96.67) พบอุบัติการณ์ที่เป็นภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อัตราการเกิดภาวะ Bleeding 5 ราย (ร้อยละ 16.67) อัตราการเกิด Hematoma 4 ราย (ร้อยละ13.33 ) ไม่พบการเกิด Acute Limb ischemia ซึ่งการพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่อง IABP สามารถปฏิบัติตามได้จริงและทำให้ประเมินภาวะแทรกซ้อนได้อย่างรวดเร็ว</p>
สุกัญญา สมานชัย
มยุรี สีล้อม
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-08
2024-12-08
4 3
131
139
-
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลเชียงยืน
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2485
<p style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) พัฒนาตามกรอบแนวคิดตามหลักฐานเชิงประจักษของซูคัพ (Soukup) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลเชียงยืน 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลห้องคลอดต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน และสตรีตั้งครรภที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 24 ถึงก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แบบบันทึกผลลัพธ์ทางการพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ ผลลัพธ์ทางการพยาบาล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเปรียบเทียบระหว่างก่อนใช้ และหลังใช้แนวปฏิบัติฯ วิเคราะห์ด้วยสถิติ Independent t-test</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลเชียงยืน ที่ได้พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 ระยะการประเมิน หมวดที่ 2 ระยะการพยาบาล 24 ชั่วโมงแรก หมวดที่ 3 ระยะการพยาบาลหลัง 24 ชั่วโมง หมวดที่ 4 ระยะการจำหน่ายและการติดตามเยี่ยมบ้าน ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลในภาพรวมของพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจมาก การเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดระหว่างกลุ่มก่อนใช้และหลังใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 ผลลัพธ์ของสตรีตั้งครรภ์คลอดตามกำหนดพบร้อยละ 90.0 การกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์พบร้อยละ 10.0 และการยืดระยะเวลาของการ</p> <p style="font-weight: 400;">ตั้งครรภ์ให้ครบกำหนดพบร้อยละ 90.0 ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติการพยาบาลที่อยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วย และการยกระดับการปฏิบัติทางคลินิกที่โรงพยาบาลเชียงยืน</p>
ชญาณิศา ถนอม
นุสรา ธนะเหมะธุสิน
เปรมฤดี ภารสำอางค์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-08
2024-12-08
4 3
140
153
-
การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวด ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2486
<p style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดในมารดาผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน มกราคม 2567 - พฤษภาคม 2567 โดยใช้แนวทางขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 ราย ทำการทดลองโดยนำแนวปฏิบัติพยาบาล ไปใช้ในมารดาผ่าตัดคลอด จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในมารดาผ่าตัดคลอด 2) แบบสอบถามความเป็นไปได้ของพยาบาลในการใช้แนวปฏิบัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาผ่าตัดคลอดต่อการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดจากการผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอด มี 5 เรื่อง คือ การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด การประเมินความปวดหลังผ่าตัด การจัดการความปวดโดยการใช้ยา การจัดการความปวดโดยการไม่ใช้ยา และการติดตามและบันทึกการจัดการความปวด 2) ความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกการจัดการความปวดจากการผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดไปใช้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 4.15 SD = 0.41) 3) ความพึงพอใจของพยาบาลภายหลังการใช้แนวปฏิบัติพยาบาล อยู่ในระดับสูง ( = 4.27, SD = 0.45) 4) ความพึงพอใจของมารดาหลังผ่าตัดคลอดภายหลังการใช้แนวปฏิบัติพยาบาล อยู่ในระดับสูง ( = 4.22,SD = 0.34) และ 5) จำนวนมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีคะแนนความปวดน้อยกว่าจุดตัดความปวดหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับการจัดการความปวดตามแนวปฏิบัติพยาบาล จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33</p> <p style="font-weight: 400;"> </p>
นทภัค ถิตย์รัตน์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-08
2024-12-08
4 3
154
165
-
ผลการพัฒนาระบบติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2487
<div> <p class="paragraph"><span lang="TH">การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายโรงพยาบาลนาดูน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มทีมสหวิชาชีพ </span>20 <span lang="TH">คน กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย </span>30 <span lang="TH">คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ตุลาคม 2565 – กรกฎาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึก </span>IN HOME SSS <span lang="TH">แบบประเมินผลความพึงพอใจ แบบบันทึกการทบทวนเวชระเบียน การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</span></p> </div> <div> <p class="paragraph"><span lang="TH">ผลการวิจัย พบว่า</span></p> </div> <div> <p class="paragraph"><span lang="TH">1.ผล</span><span lang="TH">การวิเคราะห์ปัญหาการติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย</span><span lang="TH"> พบว่า มีปัญหาด้านการบริหารจัดการยาเหลือใช้หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต ปัญหาด้านการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปัญหาด้านระยะเวลาที่เหมาะสมของการให้ยา ปัญหาด้านการเกิดพิษจากยามอร์ฟีน</span></p> </div> <div> <p class="paragraph">2.<span lang="TH">การพัฒนาระบบติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลนาดูน ประกอบด้วย </span>1) <span lang="TH">ด้านการควบคุมการจัดเก็บยามอร์ฟีนเหลือใช้ </span>2) <span lang="TH">ด้านการเบิกจ่ายยามอร์ฟีนที่ได้มาตรฐาน </span>3) <span lang="TH">ด้านการใช้ยามอร์ฟีนในผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างมีประสิทธิภาพ </span>4)<span lang="TH">ด้านระบบการติดตามผลการใช้ยา </span>5) <span lang="TH">การจัดการข้อมูลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการใช้ยามอร์ฟีน </span>6) <span lang="TH">พัฒนาแอปพลิเคชันไลน์ </span>Nadundrug line official</p> </div> <div> <p class="1"><span lang="TH">3. ผลการประเมิน พบว่า</span><span lang="TH"> มีการพัฒนารูปแบบ </span>2 <span lang="TH">วงรอบ ทำให้มี</span><span lang="TH">การติดตามและเก็บยามอร์ฟีนกลับคืนเข้าโรงพยาบาล มีมูลค่ายามอร์ฟีนทั้งสิ้น 12</span>,<span lang="TH">861.69 บาท อีกทั้งมีการนำยามอร์ฟีนที่เหลือ นำยาไปจ่ายให้กับผู้ป่วยคนอื่นได้ และสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบ ในระดับมากที่สุด </span><span lang="TH">(</span><img src="https://he04.tci-thaijo.org/public/site/images/phadoongsit@smnc.ac.th/blobid0.png" width="9" height="10"><span lang="TH">= 4.</span>70, SD = <span lang="TH">0.</span>1<span lang="TH">4) </span><strong><span lang="TH"> </span></strong><span lang="TH"> </span></p> </div>
คมสันต์ ศรัทธาคลัง
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-08
2024-12-08
4 3
166
176
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2609
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ 3) ประเมินผลรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ 1) อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 70 คน 2) หญิงตั้งครรภ์ 10 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ วางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อน เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามวัดความรู้ แนวทางการสนทนากลุ่ม ดำเนินการ ตุลาคม 2565 – มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ สถิติ Paired Samples t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า1) ด้านสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน ปัญหาคือ อาสาสมัครสาธารณสุขขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่มีระบบการติดตามและทะเบียนข้อมูล และขาดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน 2)กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่ารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ1.ระบบการค้นหาและติดตาม 2.การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข 3.การดูแลและให้คำปรึกษา 4.การประสานงานเครือข่าย 5.การติดตามและประเมินผล เกิดเครื่องมือเป็นแบบติดตามเฝ้าระวังดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุข นำรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขไปปฏิบัติ และ3) ประเมินผลลัพธ์ พบว่าหลังการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 สรุปรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ข้อเสนอแนะ กระบวนการวิจัยนี้นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่อื่นและปรับใช้กับงานที่มีลักษณะใกล้เคียง เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p>
จินตนา ทอนฮามแก้ว
วราวุธ กุลเวชกิจ
เรียมวรินทร์ พุทธกัลญา
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
4 3
177
187
-
บทบรรณาธิการ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/2608
ผศ.ดร.ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
4 3
1
6