วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS <p><strong>วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นวารสารทางการพยาบาลราย 4 เดือน จัดทำขึ้นโดยวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์<br /><br />วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และความรู้จากศาสตร์อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์</li> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ งานวิจัย บทความวิชาการ บทความพิเศษ ปกิณกะสาระความรู้ ด้านการพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า</li> <li>เพื่อเสริมสร้างนักวิชาการทางการพยาบาล การศึกษา การสาธารณสุข และเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์และการศึกษา ค้นคว้าเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่</li> <li>เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกับสหวิชาชีพทั่วประเทศ</li> <li>เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานของสมาชิกวารสารวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม</li> </ol> <p><strong>ประเภทบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่</strong></p> <ol> <li>รายงานผลการวิจัย (Research report) หรือรายงานการค้นคว้าและการสำรวจด้านวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ</li> <li>บทความทางวิชาการ (Articles) ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ ที่มีเนื้อหาทันสมัย นำเสนอองค์ความรู้และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ</li> <li>บทความพิเศษ (Special articles) ประสบการณ์ด้านวิชาชีพการพยาบาลหรือสหวิชาชีพ ประสบการณ์ทางคลินิกพยาบาลหรือสหวิชาชีพ บทวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์วิชาชีพพยาบาล บทสัมภาษณ์ทางวิชาชีพการหรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</li> <li>บทความปกิณกะ (Miscellany) หรือนานาสาระ เป็นบทความที่แสดงข้อคิดเห็นสาระสำคัญบางประการที่น่าสนใจและที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพยาบาล ที่ไม่อาจจัดเข้าประเภทที่ 1-3 ได้บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และต่างหน่วยงาน/ต่างสถาบัน จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</li> </ol> <p><strong>กระบวนการ</strong><strong> Peer Review Process</strong></p> <p> บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ จำนวน 2 ท่าน <strong>โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Double blind)</strong> และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร</strong><strong><br /></strong>จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้<br /> ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม – เมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 (เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 (เดือน กันยายน – ธันวาคม)</p> <p> </p> th-TH phadoongsit@smnc.ac.th (ดร.ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์) phadoongsit@smnc.ac.th (ดร.ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์) Thu, 05 Jun 2025 14:33:41 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3241 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 2)ระดับความพึงพอใจต่อโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติ Wilcoxon signed rank test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกล มีพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) 2.ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกล มีระดับความพึงพอใจต่อโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{X}" alt="equation" width="11" height="10">&nbsp;&nbsp;= 4.69) และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านพยาบาล มีระดับความพึงพอใจสูงสุด ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{X}" alt="equation" width="11" height="10">&nbsp;= 4.74) รองลงมา ได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{X}" alt="equation" width="11" height="10">&nbsp;&nbsp;= 4.69) ด้านความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูง ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{X}" alt="equation" width="11" height="10">&nbsp;&nbsp;= 4.65) การสื่อสารผ่านโปรแกรมไลน์ ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{X}" alt="equation" width="11" height="10">&nbsp;&nbsp;= 4.65) และด้านโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกล ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{X}" alt="equation" width="11" height="10"> = 4.60) โปรแกรมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เมื่อปฏิบัติตามสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล</p> อุบลรัตน์ สุขทรัพย์; แพรภัทรา เขียวชอุ่ม Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3241 Thu, 05 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี คลีนิคโรคตับ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3350 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี (HCV) ในคลินิกโรคตับ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ การศึกษาสถานการณ์ การพัฒนาแนวทาง และการประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ 10 คน และผู้ป่วย HCV รายใหม่ 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ศึกษาสถานการณ์ พบปัญหาการดูแลผู้ป่วย HCV ที่สำคัญ ได้แก่ การขาดระบบส่งต่อและติดตามที่ชัดเจน ผู้ป่วยต้องเดินทางมารับบริการหลายครั้งก่อนเริ่มรับยา ขาดแนวทางส่งเสริมการดูแลตนเอง ทำให้มีอัตราการขาดนัด ขาดยา และความล่าช้าในการเข้ารับการรักษา</li> <li>ดำเนินการพัฒนาแนวทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบบริการแรกรับแบบครบวงจร 2) การส่งเสริมการดูแลตนเอง 8 สัปดาห์ 3) แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (DMETHOD KH<sup>2</sup>) 4) ระบบส่งต่อไร้รอยต่อ และ 5) ระบบติดตามผู้ป่วยหลังรักษา</li> <li>ประเมินผล พบว่า ผู้ป่วย HCV รายใหม่ 42 คน มีคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.001) อัตราการขาดนัดลดลงเหลือร้อยละ 0 อัตราการขาดยาลดลงเหลือร้อยละ 2.38 ระยะเวลารอรับยาสั้นลง ระบบบริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อัตราการรักษาหายขาดร้อยละ 100 ทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อแนวทางในระดับมากที่สุด</li> </ol> <p>สรุปว่า แนวทางทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี คลีนิคโรคตับ ที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ ส่งเสริมการดูแลตนเอง ลดอุปสรรคในการรักษา และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย HCV ได้อย่างมีประสิทธิผล</p> เยาวลักษณ์ ศรีวิลัย Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/3350 Sun, 06 Jul 2025 00:00:00 +0700