https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/issue/feed วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2023-12-20T11:15:54+07:00 รศ.ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ (บรรณาธิการ) ahs.ssru.journal@gmail.com Open Journal Systems <p style="text-align: justify;"> วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ISSN (Online): 2730 – 1907ยินดีรับบทความวิจัยและวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เป็นผลงานวิจัย/วิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น การเขียนบทความต้นฉบับ ต้องตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนด บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ต่อหนึ่งบทความ (เกณฑ์ผ่านการพิจารณา 2 ใน 3) โดยวิธีการประเมินแบบ double – blinded กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง</p> <p><em><strong>วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์วารสาร</strong></em></p> <p> 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p> 2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><em><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></em></p> <p style="text-align: justify;"> กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน, ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม)</p> https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/288 พืชสมุนไพรที่ใช้สำหรับการรักษากลุ่มอาการทางผิวหนังในตำรายาหมอพร 2023-07-14T14:36:08+07:00 เซียวหลิ หลิ 422891521@qq.com อรอุมา ซองรัมย์ anchalee.pr@chula.ac.th อัญชลี ประสารสุขลาภ anchalee.pr@chula.ac.th <p>ตำรายาสมุนไพรตำรับหมอพรเป็นตำรายาที่เขียนและบันทึกโดยกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (หมอพร) ที่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2458 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพืชสมุนไพรเฉพาะที่ใช้สำหรับการรักษากลุ่มอาการทางผิวหนังในตำรายาหมอพรที่เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์<br />แผนไทย โดยรวบรวมตำรับยาและวิเคราะห์พืชสมุนไพรทั้งความถี่ในการใช้และข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ จากการศึกษานี้พบว่ามีการใช้สมุนไพรทั้งหมด 66 ชนิด จาก 36 วงศ์ ใน 78 ตำรับ สำหรับการรักษา 29 กลุ่มอาการทางผิวหนัง พบพืชในวงศ์ปาล์ม (Arecaceae) ที่มีการใช้มากที่สุด (ร้อยละ18) รองลงมาเป็นพืชในวงศ์ถั่ว <em>(Fabaceae/Leguminosae)</em> (ร้อยละ 14) วงศ์พลับพลึง (Alliaceae) (ร้อยละ 12) วงศ์มะเขือและขิง (Solanaceae, and Zingiberaceae) (ร้อยละ 11) ส่วนพืชสมุนไพรที่มีการใช้มากที่สุด ได้แก่ มะพร้าว <em>(Cocos nucifera </em>L<em>.) </em>(ร้อยละ 11) ตามด้วยมะนาว <em>(Citrus aurantifolia </em>Swingle<em>)</em> (ร้อยละ 5) กระเทียม หอมแดง และชุมเห็ดเทศ <em>(Allium sativum </em>L<em>., Allium ascalonicum </em>L<em>., Cassia alata </em>(L.) Roxb) (ร้อยละ 4) ส่วนของพืชที่มีการนำมาเตรียมตำรับยามากที่สุด ได้แก่ ผล (ร้อยละ37) และใบ (ร้อยละ30) การศึกษานี้เป็นรายงานแรกของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของพืชสมุนไพรที่พบในตำรายาหมอพรโดยเฉพาะสูตร<br />ตำรับยาสำหรับกลุ่มอาการทางผิวหนังซึ่งสามารถช่วยในการอนุรักษ์ความรู้ภูมิปัญญาไทยทางด้านสมุนไพรและเอื้อต่อการวิจัยการพัฒนายาสมุนไพรที่ทันสมัยในอนาคต</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/416 การวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ การทำนายคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยากัญชาแผนไทยอายุวัฒนะ 2023-08-21T15:19:01+07:00 Chawalit Yongram chawalit.yo@ssru.ac.th Panupan Sripan panupan.sr@ssru.ac.th Suwadee Chokchaisiri suwadee.ch@ssru.ac.th Rumrada Meeboonya rumrada.me@ssru.ac.th Orawan Wonganan orawan.wo@ssru.ac.th Nophadon Luangpirom nophadon.lu@ssru.ac.th Thavatchai Kamoltham thavatchai.ka@ssru.ac.th Anuvat Roongpisuthipong anuvat.ro@ssru.ac.th Panyada Panyatip panyada@g.swu.ac.th Ploenthip Puthongking pploenthip@kku.ac.th <p>ตำรับยาแผนไทยมีการใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ ยาแผนไทยโบราณ โดยตำรับยาเข้ากัญชาเป็นหนึ่งในตำรับที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP รวมไปถึงการวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ด้วยเทคนิค HPLC และปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมของตำรับยาอายุวัฒนะเข้ากัญชา 3 ตำรับได้แก่ ตำรับยาอินทจวร ตำรับยามหาวัฒนะ และตำรับยาแก้ธาตุพิการ นอกจากนี้ยังศึกษาการทำนายคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารแคนนาบินอยด์ที่พบในตำรับยาอายุวัฒนะ จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดตำรับยาอินทจวร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดด้วยค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 54.21±1.81 µg/ml ตามลำดับ ด้วยวิธี ABTS และตำรับยามหาวัฒนะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงด้วยวิธี DPPH และ FRAP โดยทั้ง 3 ตำรับมีปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมสูง ซึ่งในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิค HPLC พบว่ามีปริมาณของ CBDV และ ∆9-THC เป็นสารที่พบได้มากในตำรับยาอายุวัฒนะในแต่ละตำรับ นอกจากนี้แล้วการทำนายคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์พบว่า สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์มีคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่สมองได้ดี ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดตำรับยาอายุวัฒนะ 3 ตำรับมีความสัมพันธ์กันกับปริมาณฟีนอลิกรวมและกรดแกลลิก จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาทั้ง 3 มีความความสัมพันธ์กันกับปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวม นอกจากนี้แล้วผลการทดลองนี้สามารถนำไปพัฒนาตำรับยาแผนไทยไปสู่เภสัชภัณฑ์ที่ดีได้</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/399 องค์ประกอบทางเคมีและสารปนเปื้อนในดอกเกลือทะเลจากจังหวัดสมุทรสงคราม 2023-08-21T15:15:34+07:00 rattana panriansaen rattana.pa@ssru.ac.th ณัษฐา กิจประเทือง rattana.pa@ssru.ac.th ปริศนา เพียรจริง rattana.pa@ssru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและสารปนเปื้อนในดอกเกลือทะเลจากจังหวัดสมุทรสงคราม โดยตัวอย่างดอกเกลือทะเลจากนาเกลือ ในเดือนมีนาคม และเมษายน 2560 <br />ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ แคลเซียมชนิดละลายน้ำ แมกนีเซียมชนิดละลายน้ำ โปแตสเซียม ไอโอดีน วิเคราะห์สารปนเปื้อน ได้แก่ โครเมียม ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว แมงกานีส ซัลเฟต สารหนู แคดเมียม รวมถึงการวิเคราะห์ความชื้น โดยวิธีทดสอบตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เกลือบริโภค ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีนใช้วิธีการไทเทรตแบบไอโอโดเมตริก พบว่าในดอกเกลือทะเลจากทุกแหล่งสำรวจตรวจพบแคลเซียมชนิดละลายน้ำ แมกนีเซียมชนิดละลายน้ำ แมงกานีส โปแตสเซียม ซัลเฟต ความชื้น โซเดียมคลอไรด์ และไอโอดีน แต่ไม่พบแคดเมียม โครเมียม ทองแดง และเหล็ก องค์ประกอบทางเคมีหลักคือโซเดียมคลอไรด์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 91.7±1.9 โดยน้ำหนัก รองลงมา ได้แก่ แคลเซียมชนิดละลายน้ำ และแมกนีเซียมคลอไรด์ชนิดละลายน้ำ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.21±0.12 และ 1.04±0.22 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ พบการปนเปื้อนของสารหนูและตะกั่วจาก 2 ใน 3 แหล่ง เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างเกลือตัวอย่างกับมาตรฐานที่เกี่ยวกับเกลือในประเทศไทย และพบว่าสารหนู ทองแดง ตะกั่ว ความชื้น โซเดียม คลอไรด์ และไอโอดีน เป็นที่น่าพอใจและ<br />ไม่พบองค์ประกอบเกินค่ากำหนดของมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้น สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการนำเสนอคุณสมบัติพิเศษของดอกเกลือทะเลของจังหวัดสมุทรสงครามและเพื่อการใช้ประโยชน์ของข้อมูลเชิงพาณิชย์ต่อไป</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/586 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2023-11-14T13:58:52+07:00 พัชรินทร์ ยุพา patcharin.y@nrru.ac.th อรุณรัตน์ ป้อมคล้าย patcharin.y@nrru.ac.th จารุวรรณ์ วิลา patcharin.y@nrru.ac.th ชลลัดดา เรืองแสง patcharin.y@nrru.ac.th ธวัชชัย เอกสันติ patcharin.y@nrru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 357 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบวัดความเครียด ตอนที่ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านครอบครัว ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการปรับตัวต่อการเรียน ด้านการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสุงสุด ต่ำสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดด้วยค่า Chi - square หรือ Fisher’s exact test และหรือวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's Correlation) ตามเงื่อนไขของการใช้สถิติ</p> <p>ผลการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.7 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 98.6 เงินที่ได้รับต่อเดือน 8,001 -12,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 54.2 คนในครอบครัวไม่มีประวัติปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 97.5 คนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคโควิด-19 ร้อยละ 67.4 และคนในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ร้อยละ 89.6 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความเครียดระดับสูง และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด พบ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ คณะ เงินที่ได้รับเฉลี่ยต่อเดือน และคนในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และปัจจัยด้านครอบครัว ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการป้องกันตนเองจากโรค&nbsp;&nbsp;&nbsp; โควิด-19 ด้านการปรับตัวต่อการเรียน มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่นักศึกษา และควรมีการจัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่มีความเครียดระดับมาก เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่อาจรุนแรงขึ้น</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/280 การใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ในประเทศไทย และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน 2023-08-17T16:00:16+07:00 ณัษฐา กิจประเทือง nustha.ki@ssru.ac.th ปริศนา เพียรจริง nustha.ki@ssru.ac.th <p>ว่านหางจระเข้หรือ <em>Aloe barbadensis</em> Miller ในบางกรณีอาจใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า <em>Aloe vera</em> Linne ซึ่งเป็นชื่อพ้องของ <em>A. barbadensis</em> และมักจะถูกเรียกสั้นๆว่า <em>Aloe vera</em> เป็นพืชที่มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์มากถึง 400 ชนิด นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในทางยา และเป็นอาหารที่หลากหลาย เพราะ ในส่วนประกอบของของวุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสรรพคุณทางยามากมาย และมีรสชาติดี ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตว่านหางจระเข้แปรรูปได้ในประเทศ โดยนำมาแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย เนื่องจากผู้บริโภคได้เกิดกระแสนิยมในการดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตามการผลิตอาหารและสินค้าจากว่านหางจระเข้นั้นจะเกิดของเสียเหลือทิ้งที่สำคัญคือ เศษเปลือกหุ้มใบ และน้ำทิ้ง ของเสียเหล่านี้ปนเปื้อนสารแอนธราควิโนนซึ่งมีความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตามของเสียจากอุตสาหกรรมการแปรรูปว่านหางจระเข้นั้นสามารถนำไปทำประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้ หากนำสารแอนธราควิโนนที่ปนเปื้อนในเปลือกหุ้มใบว่านหางจระเข้กลับมาใช้ประโยชน์ โดยสารสกัดนี้สามารถนำมาพัฒนาเป็นสารตั้งต้นเป็นสารอื่น ๆ ได้ เนื่องจากสารกลุ่มแอนธราควิโนนมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา และจุลชีพหลายชนิด ตลอดจนนำไปใช้ในตำรับยาไทยในลักษณะของยาดำ ในแต่ละปีประเทศไทยต้องนำเข้าสารสกัดยาดำเพื่อนำมาทำยาหลากหลายขนานหากสามารถรวบรวมและสกัดสารแอนธราควิโนนที่มีอยู่เปลือกหุ้มใบว่านหางจระเข้ได้ จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ของเสียจากอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มรูปแบบ และเป็นการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในกลุ่มผู้ผลิตว่านหางจระเข้ได้เนื่องจากของเสียเหล่านั้นจะถูกจำหน่ายออกไป และถูกนำไปสกัดยาดำเพื่อใช้ในประเทศ ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/521 การทบทวนวรรณกรรมการรักษาสิวด้วยสมุนไพรจีน 2023-10-18T15:17:17+07:00 นันทิดา สระโสม kawee_am19@hotmail.com ธัญลักษณ์ เจริญขำ kawee_am19@hotmail.com ศรัณย์ อินทกุล kawee_am19@hotmail.com <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาการรักษาสิวโดยการใช้ยาสมุนไพรจีน ทำการศึกษาข้อมูลงานวิจัย(documentary research) จากเว็บไซต์ CNKI (China National Knowledge Infrastructure) และ Pubmed คัดเลือกบทความจากปี 2011 – 2023 ที่มีผู้ป่วยจำนวน 20 รายขึ้นไป อายุระหว่าง 15 – 45 ปี เป็นผู้ป่วยทั้งเพศชายและเพศหญิง มีระยะการเป็นโรค ตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 15 ปี โดยใช้ยาสมุนไพรจีน <br />ได้นำงานวิจัยทั้ง 12 งานวิจัย มาเปรียบเทียบอันดับการใช้ยาสมุนไพรจีนที่ใช้บ่อย พบว่าจากการสืบค้นความถี่ของการใช้สมุนไพร คือ อันดับที่ 1 กันเฉ่า ร้อยละ 75.00 อันดับที่ 2 จือจื่อ ร้อยละ 58.33 อันดับที่ 3 ตังกุย ร้อยละ 50.00 อันดับที่ 4 จินอิ๋นฮวา เหลียนเฉียว หมู่ตันผี ร้อยละ 41.67 และอันดับที่ 5 ซวนซยง ไป๋เสา ถู่ฝูหลิง หวงฉิน ร้อยละ 33.33 ตามลำดับ จากงานวิจัยเชิงทดลองทั้ง 12 พบว่า การรักษาด้วยสมุนไพรจีนได้ผลดีและมีผลข้างเคียงน้อย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา