วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS
<p style="text-align: justify;"> วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ISSN (Online): 2730 – 1907ยินดีรับบทความวิจัยและวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เป็นผลงานวิจัย/วิชาการที่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น การเขียนบทความต้นฉบับ ต้องตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนด บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ต่อหนึ่งบทความ (เกณฑ์ผ่านการพิจารณา 2 ใน 3) โดยวิธีการประเมินแบบ double – blinded กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง</p> <p><em><strong>วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์วารสาร</strong></em></p> <p> 1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p> 2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><em><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></em></p> <p style="text-align: justify;"> กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เดือนมิถุนายน, ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม)</p>
th-TH
วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2539-6749
-
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ของผู้ที่มาเข้ารับการรักษา ณ คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/908
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร้อยละประชากรที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จที่เข้าร่วมการบำบัดเลิกบุหรี่ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลิกบุหรี่โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ที่เลิกบุหรี่สำเร็จกับกลุ่มผู้ที่เลิกบุหรี่ไม่สำเร็จที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รูปแบบการวิจัย คือ Retrospective cohort study ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกฟ้าใสเพื่อบำบัดเลิกบุหรี่ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2558 - 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวน 102 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact test และ Binary logistic regression รูปแบบ Adjusted odds ratio กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งหมด 97 คน เป็นผู้เลิกบุหรี่สำเร็จ 37 คน (ร้อยละ 38.1) และผู้ที่เลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ จำนวน 60 คน (ร้อยละ 61.9) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ ได้แก่ อายุ อาชีพ โรคประจำตัว และจำนวนครั้งที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใสเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จ <br />เมื่อนำปัจจัยเหล่านี้มาแจกแจงตามกลุ่มย่อย พบว่า กลุ่มอายุ 40 – 64 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุ 15 – 39 ปี <br />มีโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 (p-value=0.035) อาชีพรับราชการ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 (p-value=0.026) สำหรับคนที่ไม่มีโรคประจำตัว เมื่อเทียบกับคนที่มีโรคประจำตัว มีโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 (p-value=0.017) และจำนวนครั้งที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใสมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง เมื่อเทียบกับผู้ที่มาคลินิกน้อยกว่า 5 ครั้ง มีโอกาสเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ร้อยละ 80 (p-value=0.001) ดังนั้นปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ ได้แก่ อายุ อาชีพ โรคประจำตัว และจำนวนครั้งที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใสเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่สำเร็จ</p>
กฤษฎา สายทองยนต์
นภชล ดำรงสิทธิ์
สิทธิโชค ราชศิริ
นริศรา นพโสภณ
ศุทรา สิริสุขสิน
สินีนาฏ เพชรประทุม
Copyright (c) 2024 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2024-11-29
2024-11-29
9 2
1
14
-
การเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของวิธีการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีและการหายใจแรงดันบวกระดับต่ำในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/909
<p>การถอดท่อช่วยหายใจที่ประสบความสำเร็จส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จวิธีการถอดท่อช่วยหายใจระหว่าง การให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที (T-piece) และวิธีการหายใจด้วยแรงดันบวกระดับต่ำ (Low pressure support) ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยโรคปอดอักเสบติดเชื้อที่ต้องได้รับการใส่ท่อเพื่อช่วยหายใจ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 118 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Fisher’s exact test และ T-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 118 คนผู้ป่วยที่ทดสอบการหายใจด้วย T-piece และ <br />Low pressure support จำนวน 66 คน (55.9%) และ 52 คน (44.1%) ตามลำดับ โดยอัตราความสำเร็จในการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 72 ชั่วโมง ในกลุ่ม T-piece และกลุ่ม Low pressure support คิดเป็นร้อยละ 93.9 และ 90.4 ตามลำดับ (p=0.505) อัตราความสำเร็จในการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 72 ชั่วโมง ในกลุ่มที่ใช้การหายใจแบบ T-piece ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ใช้การทดสอบการหายใจแบบ Low pressure support อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเลือกเครื่องมือ 2 แบบขึ้นอยู่กับการที่แพทย์วินิจฉัยและอาการของตัวผู้ป่วย โดยที่ใช้การทดสอบการหายใจแบบ Low pressure support ใช้ในระยะแรกเริ่มและเมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการหอบเหนื่อย จึงเปลี่ยนไปใช้การหายใจแบบ T-piece เพื่อให้ผู้ป่วยได้ฝึกการหายใจด้วยตนเองและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ</p>
หฤทัย บุญทศ
ชาติสยาม ทาวิซัน
ณัฏฐิริณีย์ นัดดาศรี
ณัฐกิต คำมาสาร
นุชรินทร์ ศิลาคำ
วีรชิต เมฆฉาย
ศุภวิชญ์ เตยวัฒนะชัย
อภิรดี ชลวัฒนาคินทร์
Copyright (c) 2024 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2024-11-29
2024-11-29
9 2
15
30
-
ผลของตัวทำละลายต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและองค์ประกอบทางเคมี ของตำรับยาแก้มุศกายธาตุอติสาร
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/1718
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตัวทำละลายต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาแก้มุศกายธาตุอติสาร ซึ่งเป็นตำรับยาโบราณที่ใช้รักษาอาการท้องเสียหรืออุจจาระร่วง การศึกษานี้ใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน, เอทิลอะซิเตท และเอทานอล ในการสกัดสารสำคัญจากตำรับยา และตรวจสอบคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP ตรวจสอบปริมาณฟินอลิกรวม และฟลาโวนอยด์รวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu และ Aluminum Chloride Colorimetric และวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเทคนิค HPLC ผลการวิจัย พบว่า เอทานอลให้ปริมาณสารสกัดสูงสุด (7.08%) รองลงมาคือเอทิลอะซิเตต (4.75%) และเฮกเซน (3.18%) ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์สูงสุด โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 90.01±5.55 µg/ml ขณะที่การทดสอบด้วยวิธี ABTS พบว่าสารสกัดเฮกเซนมีฤทธิ์สูงสุด โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 17.74±1.42 µg/ml และมีค่า FRAP อยู่ในช่วง 23.45 - 59.57 mmol/100 g extract อย่างไรก็ตามฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดทั้งหมดยังต่ำกว่าสารมาตรฐาน Trolox การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่า สารสกัดเอทานอลมีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงสุด (33.64±2.99 mg GAE/g extract) ในขณะที่สารสกัดเฮกเซนมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงสุด (70.19±4.79 mg QE/g extract) สำหรับการวิเคราะห์แคนนาบินอย์ด้วยเทคนิค HPLC พบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตตมี ∆9-THC สูงที่สุดเท่ากับ 60.42±0.04 mg/g extract และมี CBN สูงที่สุดในสารสกัดเฮกเซนและสารสกัดเอทานอล เท่ากับ 59.17±0.07และ 39.58±0.04 mg/g extract ตามลำดับ นอกจากนี้การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค GC-MS สามารถระบุสารสำคัญได้ทั้งหมด 59 ชนิด โดยพบสารสำคัญหลัก ได้แก่ THC, CBD และ (+)-2-Bornanone ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าชนิดของตัวทำละลายมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อปริมาณสารสกัด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และองค์ประกอบทางเคมีของตำรับยาแก้มุศกายธาตุอติสาร ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการสกัดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และอาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาจากตำรับยาแผนไทยนี้<br />ในอนาคต</p>
พลพล ฉิมพาลี
ชวลิต โยงรัมย์
สุวดี โชคชัยสิริ
รัมภ์รดา มีบุญญา
อรวรรณ วงษ์อนันต์
ภาณุพันธ์ ศรีพันธุ์
อนุวัตร รุ่งพิสุทธิพงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2024-11-29
2024-11-29
9 2
31
50
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/1704
<p>การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาแสดงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุรี่ไฟฟ้าด้วยการทดสอบ Chi-square หรือ Fisher’s Exact ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.6 มีอายุ19 ปีและกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 28.4 ส่วนใหญ่มีมีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.6 อาศัยในหอพัก คิดเป็นร้อยละ 74.7 ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 68.8 นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยสูบบุหรี่มวน คิดเป็นร้อยละ 65.4 ไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 51.8 ในด้านความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าส่วนใหญ่ทราบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งเสพติด คิดเป็นร้อยละ 94.5 และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 76.3 โดยรวมความรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง คิดเป็นคิดร้อยละ 48.7 ในส่วนทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่ไฟฟ้าควรเก็บออมไว้ คิดเป็นร้อยละ 87.8 และเชื่อว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตราย คิดเป็นร้อยละ 78.6 และ โดยรวมมีทัศนคติในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 52.6 ส่วนพฤติกรรมเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยสูบหรือซื้อบุหรี่ไฟฟ้าผ่านออนไลน์คิดเป็นร้อยละ 78.6 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าโดยรวมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 70.0 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา(ชั้นปี) เงินที่ได้รับต่อเดือน ประวัติครอบครัวสูบบุหรี่ และประวัติการสูบบุหรี่มวน พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value </em>< 0.05)นอกจากนี้ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ายังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value</em> < 0.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรเสริมสร้างการรณรงค์เชิงรุก ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าภายในกลุ่มนักศึกษา การให้ความรู้ด้านการจัดการการเงินและการใช้จ่ายที่ดี ได้แรงสนับสนุนจากครอบครัว นักจิตวิทยาและสุขภาพ ควบคู่กับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ เป็นต้น</p>
พัชรินทร์ ยุพา
ธวัชชัย เอกสันติ
ศิริลักษณ์ เพียรธัญญะ
ศุภรัตน์ คงรอด
สิริยากร พันจันทึก
สุกัญญา ผลพิมาย
Copyright (c) 2024 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2024-11-29
2024-11-29
9 2
51
69
-
ความตระหนักรู้เรื่องกัญชา ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/1473
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความตระหนักรู้เรื่องกัญชา ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา และความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักรู้เรื่องกัญชาต่อทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) การตอบแบบสอบถาม เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยหลัก ปีการศึกษา 2565 <br />8 สาขา จำนวน 554 คน และ 2) การสนทนากลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางการเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา จากนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอย่างจำเพาะเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ความตระหนักรู้เรื่องกัญชา ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ 0.892, 0.890 และ 0.889 ตามลำดับ และคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 81.8) มีอายุเฉลี่ย 20.23 ศึกษาชั้นปีที่ 2 (ร้อยละ 37.5) ความตระหนักรู้เรื่องกัญชาของนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาของนักศึกษาอยู่ในระดับน้อย ความตระหนักรู้เรื่องกัญชามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .452**, p< .01) ความตระหนักรู้เรื่องกัญชามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับน้อยกับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.132**, p< .01) แนวทางการเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา การสกัดข้อมูลจากการศึกษามี 3 ประเด็น คือ 1) มหาวิทยาลัยควรกำหนดนโยบาย 2) ให้ความรู้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา 3) ทุกหน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้อง</p>
จุไร อภัยจิรรัตน์
สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2024-11-29
2024-11-29
9 2
70
85
-
หลักสังคหวัตถุ 4 กับการให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/1025
<p>บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมแนวคิดสังคหวัตถุ 4 กับการให้บริการทางสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งสังคหวัตถุ 4 (ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา) เป็นหลักธรรมที่ช่วยประสานคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขช่วยขจัดความขัดแย้งในสังคม หากนำมาปรับใช้ในหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,780 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ซึ่งเป็นหน่วยบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐานที่รัฐมีการจัดบริการให้ประชาชนในชุมชน ให้การดูแลแบบเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-centred care, PCC) เป็นหัวใจสำคัญของการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพสูงเนื่องจากเป็นการเพิ่มความเอาใจใส่ในตัวบุคคลนั้น ๆ การดูแลรูปแบบนี้เป็นสิ่งสำคัญมากกว่ามาตรฐานทั่วไป เนื่องจากบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย หรือผู้มารับบริการจะได้รับการดูแลรักษาที่ตรงกับโรคหรือเงื่อนไขทางสุขภาพที่เป็นอยู่แบบเฉพาะเจาะจงและเหมาะสม การนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาปรับใช้สำหรับการให้บริการแก่ประชาชนนั้น สอดคล้องกับแนวทางการให้บริการสาธารณะและยังช่วยเสริมให้การบริการสาธารณะมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยเฉพาะด้านปิยวาจา ซึ่งเป็นจุดที่ควรปรับปรุงสำหรับการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ สังคหวัตถุ 4 จะเน้นให้เจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับผู้รับบริการด้วยการมีวาจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้เกิดภาพลักษณ์และทัศนคติเชิงบวกต่อผู้รับบริการ ส่วนด้านอื่น ๆ จะเน้นให้เจ้าหน้าที่มีการส่งมอบบริการที่ดีให้กับผู้รับบริการ (ทาน ตรงกับ การให้บริการอย่างเพียงพอ) การเน้นให้เจ้าหน้าที่พัฒนาตนเอง มีจิตบริการ การให้บริการอย่างรวดเร็ว (อัตถจริยา ตรงกับการให้บริการอย่างก้าวหน้าและตรงเวลา) รวมถึงการปฏิบัติแก่ผู้ป่วยอย่างเท่าเทียมกัน สม่ำเสมอ (สมานัตตาตรงกับการให้บริการอย่างเสมอภาคและต่อเนื่อง) จะช่วยให้บรรลุผลลัพธ์การให้บริการ และผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงสุด</p>
จินตนา เตชะมนตรีกุล
ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ
กาญจนา ศรีสวัสดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2024-11-29
2024-11-29
9 2
86
99