https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/issue/feed วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย 2024-08-28T10:11:18+07:00 อาจารย์ ดร. นพดล ทองอร่าม Jhis@phcsuphan.ac.th Open Journal Systems <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br />เป็นวารสารวิชาการ บริหารจัดการโดยกองบรรณาธิการรวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้บทความจากงานวิจัยและบทความเชิงวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข นวัตกรรมสุขภาพ การแพทย์ การพยาบาล และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ บทความต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</p> https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1615 ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ ในเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2024-08-28T10:11:18+07:00 ดุษฎี มิ่งขวัญ dusadee02@hotmail.com กิตติพร เนาว์สุวรรณ kittiporn@bcnsk.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จ.สงขลา 2) ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จ.สงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร ความมีจิตอาสา จริยธรรมบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และสมรรถนะการปฏิบัติการฉุกเฉิน 0.779 โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0 .67 – 1.00 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0 .70, 0.70, 0 .80, 0.71, 0.83, 0.73 และ 0 .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตอำเภอสะเดา จ.สงขลา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.05, S.D.= 0.61) ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ในเขตพื้นที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (β=0.527) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 27.80 (adj.R<sup>2</sup> = 0.278, p &lt;0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .001 ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์จึงมีความจำเป็นโดยมีแนวทางหลักการดูแลที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้รับบริการ</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1458 โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ในนักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัย โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 2024-08-19T09:29:46+07:00 ธนัตกรณ์ ผุดผาด Kornthanatkorn@gmail.com Pimnarun Phudphad natphud@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียนเขตเทศบาลเมือง จังหวัดราชบุรี และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ตามแผนเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ จำนวน 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์ 2) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนโดยรวมสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แยกเป็น 1. ด้านความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;0.002) 2. ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;0.004) 3. ด้านทักษะการสื่อสารในการป้องกันโรคอ้วนไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;0.094) 4. ด้านการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพในการป้องกันโรคอ้วน แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;0.005) 5. ด้านการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคอ้วนแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;0.027) และ 6. ด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันโรคอ้วน ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;0.187) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคอ้วนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแอพพลิเคชั่นไลน์สามารถทำให้นักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคอ้วนที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นได้</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1485 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการขยะของประชาชนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 2024-08-07T13:23:33+07:00 สุริยันต์ แนบเนียน tammasak.sa@gmail.com tammasak saykaew tammasak.sa@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนตัวแทนครัวเรือนหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำนวน 410 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคล์สแคว์ และสถิติสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการขยะของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (M = 1.64 S.D.= 0.45 ) และรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการขยะด้านการนำกลับมาใช้ซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง (M = 1.88 S.D.= 0.41) รองลงมาด้านการนำกลับมาใช้ใหม่อยู่ในระดับต่ำ (M = 1.66 S.D.= 0.55) ในขณะที่ด้านการลดปริมาณขยะอยู่ในระดับต่ำ (M = 1.57 S.D.= 0.67) นอกจากนี้ ระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 7.49 S.D.= 1.36 ) ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 3.68 S.D.= 0.77 ) และการมีส่วนร่วมจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.44 S.D.= 1.28 )</p> <p>ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน พบว่า จำนวนสมาชิกครัวเรือน ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = &lt; 0.001, 0.019 และ &lt;0.001 ตามลำดับ) และ ค่าสัมประสิทธิสัมพันธ์(r) มีค่าเท่ากับ 0.200, 0.116 และ 0.096 ตามลำดับ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้ประชาชนนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) <em>ลดการสร้างคาร์บอนในบรรยากาศ หรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (</em>Carbon Footprint) และอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ด้วยกระบวนการเรียนรู้อย่างส่วนร่วม (PL : Participatory Learning ) จากบุคคลต้นแบบด้านการจัดการขยะครัวเรือน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย