วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br />เป็นวารสารวิชาการ บริหารจัดการโดยกองบรรณาธิการรวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้บทความจากงานวิจัยและบทความเชิงวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข นวัตกรรมสุขภาพ การแพทย์ การพยาบาล และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ บทความต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</p> วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย th-TH วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย 3057-1111 <p>1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> <p>2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย</p> ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็ก โรคปอดบวมที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 โรงพยาบาลสงขลา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2498 <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดบวมก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลของเด็กที่ป่วยด้วยโรคปอดบวมที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 โรงพยาบาลสงขลา จำนวน 34 คน คำนวณโดยใช้โปรแกรม G* Power และใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนแบบวัดความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติ Wilcoxon signed ranks testและ Dependent t test ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังให้ข้อมูลคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคปอดบวม (M = 8.65, SD = 0.98) สูงกว่าก่อนให้ข้อมูล (M = 6.15, SD = 1.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ (2) หลังให้ข้อมูลคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคปอดบวม (M = 2.81, SD = 0.12) สูงกว่าก่อนให้ข้อมูล (M = 2.10, SD = 0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 พยาบาลวิชาชีพควรนำแนวทางการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนไปปรับใช้โดยจัดทำเป็นสื่อวิดีทัศน์เพื่อให้ผู้ป่วยผู้ดูแล ญาติได้นำไปปฏิบัติตลอดจนขยายผลไปยังคลินิกแผนกผู้ป่วยนอกโดยการให้ความรู้เชิงรุก การแลกเปลี่ยนรู้ และการใช้สถานการณ์มาเป็นตัวอย่างในการให้ความรู้</p> อารม ฤทธิเดช Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-30 2025-01-30 2 1 2498 ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในการกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2719 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางใน<br />การกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 34 คน กลุ่มควบคุมเป็นผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดตามปกติ เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในปีงบประมาณ 2566 ส่วนกลุ่มทดลองเป็นผู้เข้ารับ<br />การบำบัดยาเสพติดรายใหม่ที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง <br />เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi-square และ Fisher’s exact test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ตลอดระยะเวลาในการติดตาม 3 เดือน กลุ่มทดลองมีการกลับไปเสพซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = 0.002) และในการติดตามครั้งที่ 3 (2 เดือน) และครั้งที่ 4 (3 เดือน) กลุ่มทดลองมีการกลับไปเสพซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <br />(p – value &lt; 0.05) แสดงให้เห็นว่าการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางช่วยลด<br />การกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดได้</p> <p>จากการวิจัยสาเหตุของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางกลับมาเสพติดซ้ำลดลงเนื่องมาจากได้รับความช่วยเหลือจากทีมสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน นำมาซึ่งความร่วมมือในการวางแผนในการดูแล กำกับและติดตามยาเสพติดในชุมชน ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดสามารถบำบัดและติดตามครบตามเกณฑ์ได้ เป็นผลให้ผู้เข้ารับการบำบัดหยุดใช้ยาเสพติด</p> ผ่องพรรณ์ คำน้อย Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-18 2025-02-18 2 1 2719 คุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2463 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามการรับรู้ของผู้รับบริการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 211 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ ทัศนคติต่อการบริการของผู้รับบริการ ความคาดหวังต่อผลลัพธ์การบริการของผู้รับบริการ และคุณภาพการบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามการรับรู้ของผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในภาพรวมอยู่ใน<br />ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 91.47 รองลงมาระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 7.58 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ทัศนคติต่อการบริการของผู้รับบริการ และความคาดหวัง<br />ต่อผลลัพธ์การบริการของผู้รับบริการ ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรมีการส่งเสริมคุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มากขึ้น ได้แก่ การจัดให้<br />มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เจ้าหน้าที่มีทักษะ<br />การให้บริการที่ดี และมีการสอบถามถึงความต้องการ เข้าใจถึงความแตกต่างของผู้รับบริการ</p> ภาณุพงศ์ ศรีผุดผ่อง Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-30 2025-01-30 2 1 2463 Airborne outdoor environmental multidrug resistance bacteria: mini review on ecological source and health impact https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1641 <p>The emergence of multidrug-resistant (MDR) bacteria in outdoor environments present a growing threat to public health and ecosystems. This mini-review aims to explore the ecological sources and pathways of airborne MDR bacteria, emphasizing their prevalence in diverse outdoor environments such as urban areas, agricultural lands, and natural habitats. The review is based on a systematic literature review using electronic databases, where relevant studies were identified and analyzed for data on airborne MDR bacteria. The factors contributing to the dissemination of these bacteria, including human activities, animal interactions, and environmental changes, are discussed. Data was sourced from peer-reviewed journals, government reports, and environmental health studies. Health impacts, particularly the role of airborne MDR bacteria in respiratory infections and the potential for community-wide outbreaks, are focused on. The findings emphasize the need for enhanced monitoring, control measures, and global collaboration. By synthesizing current research, this review provides evidence-based recommendations to reduce the risks associated with airborne MDR bacteria and supports policy development.</p> Poomkhamol Chokphukhiao Chitthaya Muttoaut Lalasa Koosongdham Sirinda Chalermthiralert Tantakorn Jirajaroenpat Manatsanan Waratanarat Chinunporn Emwareesrisakun Phoomiphat Thewasingh Sittichai singsu Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-17 2025-03-17 2 1 1641