วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS <p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong><br />เป็นวารสารวิชาการ บริหารจัดการโดยกองบรรณาธิการรวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้บทความจากงานวิจัยและบทความเชิงวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข นวัตกรรมสุขภาพ การแพทย์ การพยาบาล และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ บทความต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)</p> th-TH <p>1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> <p>2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย</p> Jhis@phcsuphan.ac.th (อาจารย์ ดร. นพดล ทองอร่าม) Jhis@phcsuphan.ac.th (Dr.Nopadol Thongaram) Fri, 11 Oct 2024 10:00:54 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กรของบุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1734 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อวัดระดับความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี จำนวน 229 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่าความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 86.00 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กร (r=0.142, r=0.129, p-value&lt;0.05) ตามลำดับ บรรยากาศองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี (r = 0.503, r = 0.497 ตามลำดับ, p-value &lt; 0.01)</p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานและผู้บริหารกำหนดนโยบาย ทิศทางและวางแผน <br />ในการดำเนินงานปรับกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และส่งเสริมความผูกพันองค์กรให้มากขึ้นโดยสร้างบรรยากาศองค์กร และเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร</p> จักรพงษ์ ชมวะนา, ณฐา เมธาบุษยาธร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1734 Fri, 11 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2129 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองราชบุรี โดยทำการสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 2) แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ. 2ส. ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2567- วันที่ 30 สิงหาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ (M = 54.30, S.D. = 3.07) และพฤติกรรมสุขภาพ (<em>M</em> = 23.73, S.D.= 2.40) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M = 54.26, S.D. = 3.08) และ พฤติกรรมสุขภาพ (M = 24.50, S.D. =1.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเป็นต้นแบบด้านสุขภาพและแกนนำในการจัดการสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชนได้ต่อไป</p> พิมพ์ณรัณ ผุดผาด Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2129 Thu, 21 Nov 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลของยา Salmeterol/Fluticasone กับยา Tiotropium ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B โรงพยาบาลบางกล่ำ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2196 <p>การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลของยา Salmeterol/ Fluticasone กับยา Tiotropium ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B โรงพยาบาลบางกล่ำ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่รับยา Salmeterol/Fluticasone จำนวน 22 ราย และกลุ่มที่รับยา Tiotropium จำนวน 16 ราย เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูล Hos XP ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ ระยะเวลาที่เป็นโรค ประวัติการสูบบุหรี่ และโรคประจำตัวอื่นๆ ค่าใช้จ่ายด้านยาต่อเดือน และประสิทธิผลของการใช้ยา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่าค่าใช้จ่ายด้านยาต่อเดือนของกลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Tiotropium เท่ากับ 582.23 บาท และกลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Salmeterol/ Fluticasone เท่ากับ 154.06 บาท และการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา พบว่าจำนวนครั้งที่ต้องมาห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาการกำเริบ (Exacerbation) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (<em>p</em>-value&lt;0.05) โดยกลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Tiotropium มีค่าเฉลี่ยที่ต้องมาห้องฉุกเฉินมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับยา Salmeterol/ Fluticasone ดังนั้น ในการเลือกใช้ยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่ม B อาจพิจารณาใช้ยา Salmeterol/ Fluticasone เป็นอันดับแรก เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล และลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบ</p> วนรัตน์ จิตดำริห์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2196 Tue, 10 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1687 <p><strong> </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 194 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทั้งนี้ แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปดำเนินการด้วยวิธีการทางสถิติต่าง ๆ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ ใช้สถิติไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 66.49 ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 85.05 และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.11 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ อายุ และสถานภาพสมรส มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05 แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน(r=0.47) และแรงสนับสนุนทางสังคม(r=0.59) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05 ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงควรสร้างแรงจูงใจและเพิ่มการสนับสนุนทางสังคม </p> อัมรา อุบล, ณฐา เมธาบุษยาธร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/1687 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700