วารสารเทคโนโลยีทางการแพทย์และสหเวชศาสตร์
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JMAS
<p><strong><u>Scope</u></strong></p> <p>ภารกิจหลักของวารสารเทคโนโลยีทางการแพทย์และสหเวชศาสตร์ คือ การจัดให้มีแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการสำหรับนักวิจัย เพื่อตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มี peer-reviewed จำนวน 2-3 ท่าน เป้าหมายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการจัดเตรียมเส้นทางที่ไม่ยุ่งยากสำหรับเจ้าหน้าที่วิจัยรุ่นใหม่และนักศึกษาในการได้รับการตีพิมพ์บทความชิ้นแรกก่อนที่จะก้าวไปสู่วารสารนานาชาติที่มีชื่อเสียงมากขึ้น ดังนั้นวารสารจึงยินดีรับบทความด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมสุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข และสาขาที่เกี่ยวข้อง ด้วยการเน้นและให้ความสำคัญกับการวิจัยในประเทศไทย โดยคำนึงถึงการให้บริการทางวิชาการที่มีคุณค่าในการช่วยให้นักวิจัยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน วารสารนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข</p>
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก (Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology)
th-TH
วารสารเทคโนโลยีทางการแพทย์และสหเวชศาสตร์
-
Validity and Reliability of Two Smartphone Applications on Heart Rate Variability in Healthy Subjects
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JMAS/article/view/2893
<p>Heart rate variability (HRV) parameters represent the body's autonomic activity. The approach to obtaining these parameters needs special equipment. Interestingly, smartphone applications (apps) have recently become more friendly. With Polar H10, Elite app has good validity and reliability. HRVlogger is another fascinating app with more sophisticated in functionality. This study aims to determine the validity and reliability between Elite HRV and HRV logger application implementing the same chest strap, Polar H10, on heart rate variability parameters in healthy subjects. Twenty-six healthy adults performed three consecutive five-minute HRV recordings with one minute rest in both app during sitting. There were three correlations with the highest strength, natural log of the root mean square of successive differences between normal heartbeats (LnRMSSD) (r = 0.95, <em>p</em>-value < 0.01), the percentage of adjacent normal to normal intervals that differ from each other by more than 50 ms (pNN50), (r = 0.94, <em>p</em>-value < 0.01), and RR interval (r = 0.93, <em>p</em>-value < 0.01). The excellent correlation was root mean square of successive differences between normal heartbeats (RMSSD), heart rate (HR), and standard deviations of all the NN intervals (SDNN). The values were 0.88, 0.86, and 0.84, respectively (<em>p</em>-value < 0.01). Moreover, the low frequency/high frequency (LF/HF) ratio had moderate correlation (r = 0.59, <em>p</em>-value < 0.01). Reliability was excellent. RMSSD is 0.93 (0.84, 0.97), LnRMSSD is 0.97 (0.94, 0.99), HR is 0.97 (0.94, 0.99), RR interval is 0.97 (0.92, 0.94), SDNN is 0.90 (0.78, 0.96), and pNN50 is 0.94 (0.87, 0.97). The LF/HF ratio is poor to moderate, 0.38 (-0.39,0.72). HRV logger has moderate to excellent validity and reliability.</p>
Sirinut Chaiduang
Jirawat Wattanapanyawech
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-30
2025-04-30
1 1
e2893
e2893
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชน ในกลุ่มวัยทำงาน เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JMAS/article/view/2934
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในกลุ่มวัยทำงาน เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการออกกำลังกายในกลุ่มวัยทำงาน เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ จำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์<br />ของเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนำด้านการรับรู้สภาวะสุขภาพ และเจตคติต่อการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในกลุ่มวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.428**) ปัจจัยเอื้อด้านอุปกรณ์และสถานที่ในการออกกำลังกาย และประกาศนโยบายการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในกลุ่มวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.479**) ปัจจัยเสริมด้านการสนับสนุนจากสังคมและบุคคล และการได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในกลุ่มวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.414**)</p>
ปารีวัต แก่นเพ็ชร
สุรเดช สำราญจิตต์
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-30
2025-04-30
1 1
e2934
e2934
-
ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JMAS/article/view/2965
<p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2566 ที่อาศัยอยู่ในตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 40 ราย การสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำการศึกษา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และ Paired sample t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.50 ช่วงอายุ 46-55 ปี ร้อยละ 52.50 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือน้อยกว่า (1-7 ปี) ร้อยละ 52.50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 67.50 มีรายได้อยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 55.00 กลุ่มตัวอย่างก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้อยู่ในระดับต่ำร้อยละ 35.00 ระดับสูงและระดับปานกลาง ร้อยละ 32.50 ตามลำดับ การเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และระดับความดันโลหิตก่อนและหลังการทดลองพบว่า หลังได้รับโปรแกรมแตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการให้ข้อมูลและโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความรู้แต่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและลดความเสี่ยงของโรคได้ ดังนั้น การขยายผลโปรแกรมนี้ไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ และการติดตามผลระยะยาว จึงเป็นสิ่งสำคัญในการยกระดับสุขภาพประชาชน</p>
วิมลรัตน์ ตะวังทัน
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-30
2025-04-30
1 1
e2965
e2965
-
บทบรรณาธิการ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JMAS/article/view/3134
วันนิศา รักษามาตย์
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-30
2025-04-30
1 1
-
อาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคลมปลายปัตคาต: มุมมองเชิงลึกในศาสตร์การแพทย์แผนไทย
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JMAS/article/view/2846
<p>อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ พบได้บ่อยในคนทั่วไป โดยมีร้อยละ 45 ของประชากรที่ประสบปัญหานี้ อาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคลมปลายปัตคาตเป็นกลุ่มโรคที่พบมากที่สุดในการมาขอรับการรักษาจากแพทย์แผนไทย และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ทำให้การเข้าใจถึงโรคนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแพทย์แผนไทยในการวินิจฉัยและรักษา ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย โรคลมปลายปัตคาตเกิดจากการแข็งตัวของเลือด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นกระดูก สาเหตุหลักเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ไม่สอดคล้องกัน สำหรับการรักษาโรคลมปลายปัตคาต แพทย์แผนไทยจะใช้วิธีการตรวจสภาพร่างกายด้วยการดู คลำ และตรวจการเคลื่อนไหวในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อค้นหาความผิดปกติและความไม่สมดุลของธาตุต่าง ๆ และวางแผนการรักษาตามหลักการรุ การล้อม การรักษา และการบำรุง ในการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม อาทิ การนวด การประคบ การพอก เพื่อให้สอดคล้องกับอาการและความรุนแรงของโรค รวมถึงธรรมชาติของผู้ป่วยแต่ละราย</p>
อำพล บุญเพียร
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-30
2025-04-30
1 1
e2846
e2846