ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลดำเนินการโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างภายในกลุ่มก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ Paired T-test และการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent T-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองเป็นเพศชายร้อยละ 56.67 อายุระหว่าง 60-65 ปี ร้อยละ 43.33 กลุ่มควบคุมเป็นเพศหญิง ร้อยละ63.33 อายุระหว่าง 60-65 ปีร้อยละ 40 เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการดูแลตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ α=0.05 (p-value<0.01) และระดับความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช (Office of Disease Prevention and Control Region 11 Nakhon Sri Thammarat)
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช และ บุคคลากรท่านอื่น ๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
ห้ามนำข้อความทั้งหมด หรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร
References
Ostchega Y, Fryar CD, Nwankwo T, Nguyen DT. Hypertension prevalence among adults aged 18 and over: United States, 2017-2018. NCHS Data Brief. 2020;(364):1-8.
Aekplakorn W. Thai National Health Examination Survey VI. Nonthaburi: Aksorn Graphic and Design; 2021.
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรมควบคุมโรคแนะประชาชนใส่ใจสุขภาพ วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565]. แหล่งข้อมูล:https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=25290&deptcode=brc
Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.
Cronbach LJ, Lee J. Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins; 1990.
กัลยา วานิชยบัญชา. หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
กันตินันท์ ทองแดง. ผลการใช้กระบวนการกลุ่มต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย]. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2558.
นริศรา คงแก้ว, อนุธิดา ชัยขันธ์, ดุษณีย์ สุวรรณคง, ตั้ม บุญรอด. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(6):1008-18.
อุบลรัตน์ มังสระคู, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล. 2562; 68(3):1-10.