ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ชาตติการ ทั่วด้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 2) ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติราชการ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ 4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ และ 5) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ และ 6) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชให้มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวนทั้งหมด 233 คนเป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติราชการและมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชและหน่วยงานในสังกัด การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ออกแบบขึ้นและได้รับการควบคุมคุณภาพซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและการทดสอบความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาคโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการศึกษาปรากฎดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับอายุ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาทำงาน ระยะเวลาทำงานด้านแผน มีความสัมพันธ์กันในแต่ละปัจจัย แต่มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการสรุปได้ว่าปัจจัยเกี่ยวกับความรู้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติ (r=0.61, P<0.01) การปฏิบัติ (r=0.70, P<0.01) และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.51, P<0.01) ในทำนองเดียวกัน ทัศนคติก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติ (r=0.65, P<0.01) และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.61, P<0.01) อีกทั้ง การปฏิบัติก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.58, P<0.01) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี กับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์สรุปได้ว่าคนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเงิน (r=0.72, P<0.01) วัสดุอุปกรณ์ (r=0.53, P<0.01) เทคโนโลยี (r=0.53, P<0.01) เวลา (r=0.61, P<0.01) และ ความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.61, P<0.01) นอกจากนี้ เงินก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับวัสดุอุปกรณ์ (r=0.57, P<0.01) เทคโนโลยี (r=0.57, P<0.01) เวลา (r=0.64, P<0.01) และ ความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.59, P value<0.01)  วัสดุอุปกรณ์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเวลา (r=0.59, P<0.01) และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.50, P<0.01) เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเวลา (r=0.59, P<0.01] และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.50, P<0.01) ในขณะเดียวกัน เวลามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.65, P<0.01)  ในขณะเดียวกัน เวลาก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.65, P<0.01)  ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สามารถประยุกต์ไปปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้มีความเหมาะสมในระยะต่อไป และพัฒนาบุคลากรที่ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนหรือระบบการจัดการแผนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Article Details

How to Cite
1.
ทั่วด้าว ช. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. J Dis Prev Control Integr Health Sci [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2025 [อ้างถึง 17 พฤษภาคม 2025];1(1):17-38. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/3101
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567]. แหล่งข้อมูล :https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. คู่มือการปฏิบัติงานการจัดทำแผนงานและประเมินผลการปฏิบัติการ.นครสวรรค์:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2567.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ที่มาของแผนปฏิบัติราชการ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2567]. แหล่งข้อมูล :https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/topic/show/621

พิบูล ทีปะปาล. การจัดการเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์; 2551.

ประโมทย์ ติยะบุตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม; 2566. 262 หน้า.

แสงระวี รัศมีแจ่ม. การวิเคราะห์การนำนโยบายการกำจัดโรคเรื้อนตามแผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อนของประเทศไทยสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาโครงการกำจัดโรคเรื้อนจากการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัดของสถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2559-2563. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2566;7(2):127-38.

วิชุดา อ่อนสิงห์. การประเมินผลโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดอุทัยธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. Procedia Multidiscip Res. 2566;1(7):1-9.

สัญญา เคณาภูมิ. กระบวนการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 2562;16(1):243-60.

Glass GV, Hopkins KD. Statistical methods in education and psychology. 3rd ed. Boston: Allyn & Bacon; 1984.

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Delhi: Prentice Hall;1977.

จิรายุทธ์ เรืองขจรไพโรจน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีในระดับพื้นที่แบบบูรณาการ: กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2567]. แหล่งข้อมูล: https://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2565_1681982874_6414830004.pdf

พินิจ ศรีมาลา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปี ศึกษากรณี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

กิตติยา ลาเต๊ะ, เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. วารสารพิกุล. 2566;21(2);133-51.

ภูมิใจ แม้นมินทร์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565). [วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษา เรื่องวิเคราะห์กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการกรมควบคุมโรค 3 ปี ย้อนหลัง (ปี 2560-2562) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1373220230113090928.pdf

อภิวัฒน์ พานทอง. การประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2565;12(3):33-40.

กิตติคุณ พันธ์เสงี่ยม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อิศเรศ ศันสนีย์วิทยกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2568;4(1):e1105.

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดทำคำรับรองและการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2568]. แหล่งข้อมูล: https://stopcorruption.moph.go.th/

Xie C, Xiang Y, Lin Q, Luo J. National tertiary public hospital performance appraisal: Using FOCUS-PDCA to improve external quality assessment. J Eval Clin Pract. 2024;30(6):1034-8.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย.2562;1(3):39–46.