https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/issue/feed วารสารป้องกันควบคุมโรคและศาสตร์สุขภาพบูรณาการ 2025-04-21T08:39:57+07:00 ดร. สุรชาติ โกยดุลย์ Researchkmodpc11@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารป้องกันควบคุมโรคและศาสตร์สุขภาพบูรณาการ</strong> <strong>ตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ทางการแพทย์และสาธารณสุข รับบทความเป็นภาษาไทยและเป็นภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์ปีละ 3</strong><strong> ฉบับ</strong></p> <p><strong>ฉบับที่ </strong><strong>1</strong><strong> :</strong><strong> มกราคม</strong><strong> – </strong><strong>เมษายน </strong></p> <p><strong>ฉบับที่ </strong><strong>2</strong><strong> :</strong> <strong>พฤษภาคม</strong><strong> – </strong><strong>สิงหาคม </strong></p> <p><strong>ฉบับที่ </strong><strong>3 :</strong> <strong>กันยายน</strong><strong> – </strong><strong>ธันวาคม </strong></p> https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/3065 สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีและการดื้อยาต้านไวรัส ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย 2025-04-11T14:33:36+07:00 ศิวิมล ภูมินิยม ssiwimolp@gmail.com <p>โครงการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติของประเทศไทยส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงยาต้านไวรัสเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาที่เพิ่มขึ้น การวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัส ความชุกของการดื้อยา รูปแบบของการกลายพันธุ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื้อยาต้านไวรัสในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมาจากผลการตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือด (HIV viral load) ณ ห้องปฏิบัติการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2567 การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยใช้ค่าสัดส่วน 2) วิเคราะห์รูปแบบการกลายพันธุ์ของจีโนไทป์ HIV-1 ด้วยเทคโนโลยีเน็กซ์เจเนเรชั่นซีเควนซิ่ง และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื้อยาโดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างที่ศึกษาจำนวนทั้งหมด 41,002 ตัวอย่าง เป็นผู้ติดเชื้อเพศชายร้อยละ 55.4 เพศหญิงร้อยละ 44.6 อายุเฉลี่ย 38.7 ปี ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.1) มีค่า HIV viral load น้อยกว่า 200 copies/mL ในขณะที่ ส่วนน้อย (ร้อยละ 4.0) มีค่ามากกว่า 1,000 copies/mL ความชุกการดื้อยาเท่ากับร้อยละ 1.8 การดื้อยาต้านไวรัสเฉพาะยากลุ่มเอ็นเอ็นอาร์ทีไอ (NNRTIs) พบมากที่สุด (ร้อยละ 46.0) ตามด้วยยากลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTIs) ร่วมกับ NNRTIs ร้อยละ 40.0 ตำแหน่ง K103N/S และ V106I/M พบการกลายพันธุ์มากที่สุดในยากลุ่ม NNRTIs บ่งชี้ระดับการดื้อยา nevirapine (NVP) และ efavirenz (EFV) ระดับสูงผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื้อยาต้านไวรัสในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าทุกปัจจัยศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการดื้อยาผ่านกลไกการยับยั้งเอนไซม์Reverse Transcriptase ข้อค้นพบจากการวิจัยเหล่านี้เสนอแนะการเลือกใช้ยาต้านไวรัสที่เหมาะสม ในขณะที่กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีความล้มเหลวทางไวรัสวิทยาและกลุ่มที่มีค่า HIV viral load มากกว่า 1,000 copies/mL แต่ไม่พบการกลายพันธุ์เป็นกลุ่มที่ควรให้ความสำคัญในการลดปริมาณไวรัสให้ต่ำที่สุด</p> 2025-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/3101 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช 2025-04-21T08:39:57+07:00 ชาตติการ ทั่วด้าว charttigarn68@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 2) ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติราชการ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ 4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ และ 5) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการ และ 6) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชให้มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวนทั้งหมด 233 คนเป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติราชการและมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชและหน่วยงานในสังกัด การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ออกแบบขึ้นและได้รับการควบคุมคุณภาพซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและการทดสอบความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาคโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการศึกษาปรากฎดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับอายุ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาทำงาน ระยะเวลาทำงานด้านแผน มีความสัมพันธ์กันในแต่ละปัจจัย แต่มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการสรุปได้ว่าปัจจัยเกี่ยวกับความรู้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติ (r=0.61, P&lt;0.01) การปฏิบัติ (r=0.70, P&lt;0.01) และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.51, P&lt;0.01) ในทำนองเดียวกัน ทัศนคติก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติ (r=0.65, P&lt;0.01) และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.61, P&lt;0.01) อีกทั้ง การปฏิบัติก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.58, P&lt;0.01) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี กับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์สรุปได้ว่าคนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเงิน (r=0.72, P&lt;0.01) วัสดุอุปกรณ์ (r=0.53, P&lt;0.01) เทคโนโลยี (r=0.53, P&lt;0.01) เวลา (r=0.61, P&lt;0.01) และ ความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.61, P&lt;0.01) นอกจากนี้ เงินก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับวัสดุอุปกรณ์ (r=0.57, P&lt;0.01) เทคโนโลยี (r=0.57, P&lt;0.01) เวลา (r=0.64, P&lt;0.01) และ ความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.59, P value&lt;0.01) วัสดุอุปกรณ์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเวลา (r=0.59, P&lt;0.01) และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.50, P&lt;0.01) เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเวลา (r=0.59, P&lt;0.01] และความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.50, P&lt;0.01) ในขณะเดียวกัน เวลามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.65, P&lt;0.01) ในขณะเดียวกัน เวลาก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับผลลัพธ์ (r=0.65, P&lt;0.01) ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สามารถประยุกต์ไปปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้มีความเหมาะสมในระยะต่อไป และพัฒนาบุคลากรที่ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนหรือระบบการจัดการแผนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/2839 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรทำสวนทุเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2025-04-11T14:15:50+07:00 บุณยานุช ทองคำดี bunyanut1408@gmail.com ศุทธินี ประทานทรง suthinee.gail@gmail.com ปริฉัตร นิลเอก nongnumfonsmile@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรทำสวนทุเรียนและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน150 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากเกษตรกรทำสวนทุเรียนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม พ.ศ. 2567การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสูงสุด-ต่ำสุด และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 76.7) และมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 87.3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-</em>value&lt;0.05) ประกอบด้วย เพศ (<em>p</em>=0.04) ระดับการศึกษา (<em>p</em>&lt;0.01) ระยะเวลาการใช้สารเคมี (<em>p</em>=0.40) และความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (<em>p</em>&lt;0.01) ปัจจัยด้านอายุสถานภาพสมรส ระยะเวลาทำสวนทุเรียน รายได้เฉลี่ยทำสวนทุเรียน จำนวนพื้นที่ปลูก โรคประจำตัว ประเภทสารเคมีที่ใช้ ลักษณะการทำงาน และปริมาณการใช้สารเคมี มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้เสนอแนะการจัดอบรม สื่อสารความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อสร้างความรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง ปลอดภัย เนื่องจากยังมีเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย</p> 2025-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/3000 ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา 2025-03-31T09:50:01+07:00 นพพล บุญชู thamne@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลดำเนินการโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างภายในกลุ่มก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ Paired T-test และการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent T-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองเป็นเพศชายร้อยละ 56.67 อายุระหว่าง 60-65 ปี ร้อยละ 43.33 กลุ่มควบคุมเป็นเพศหญิง ร้อยละ63.33 อายุระหว่าง 60-65 ปีร้อยละ 40 เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความสามารถในการดูแลตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ α=0.05 (p-value&lt;0.01) และระดับความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม</p> 2025-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/3073 รายงานผู้ป่วยไข้มาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมที่เดินทางกลับจากประเทศซูดานใต้ เพื่อการเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศไทยจากประเทศที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรีย 2025-04-17T16:33:21+07:00 กีรติ กิตติวัฒนาวงศ์ kerati.kw@gmail.com โสภาวดี มูลเมฆ sopavadee14@yahoo.com ราเชนทร์ แตงอ่อน banprakob@customs.go.th กามัล กอและ mang.kingdom@gmail.com ธีรกมล เพ็งสกุล theerakamol.p@psu.ac.th <p>มาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในสกุล <em>Plasmodium</em> โดยเฉพาะ <em>Plasmodium falciparum</em>ซึ่งเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดภาวะรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง เชื้อแพร่กระจายผ่านการกัดของยุงก้นปล่อง (<em>Anopheles </em>spp.) และมีวงจรชีวิตทั้งในยุงก้นปล่องและมนุษย์ รายงานทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ป่วย <em>P. falciparum</em> อาจมีระยะฟักตัวนานกว่าปกติ และสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่ระบาดของโรค การศึกษานี้มุ่งเน้นผู้ป่วยมาลาเรียชนิด<em>P. falciparum</em> ที่เดินทางกลับจากประเทศซูดานใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียสูง โดยศึกษาผู้ป่วย 4 รายที่ มีประวัติเดินทางไปทำงานในซูดานใต้และป่วยเป็นมาลาเรียภายหลังเดินทางกลับประเทศไทย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังและติดตามผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเนื่องจากมีผู้ป่วยมาลาเรียชนิด<em>P. falciparum</em> จำนวน 2 ราย มีระยะฟักตัวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ และเกิดภาวะติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ การศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการพัฒนามาตรการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2025-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช