https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/issue/feed
วารสารมนุษยสังคมศาสตร์
2024-11-03T00:00:00+07:00
บริษัท โนสเคป จํากัด
knowscape2023@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></p> <p>วารสารมนุษยสังคมศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่นำเสนอองค์ความรู้ ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะที่เป็นความคิดริเริ่มและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษา การบริหารธุรกิจ ภาษา ศิลปะ ดนตรี การแสดง วัฒนธรรม และสหวิทยาการอื่น ๆ เป็นต้น</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></p> <p>วารสารมนุษยสังคมศาสตร์เริ่มจัดทำและตีพิมพ์วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2566 โดยกำหนดการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ ประกอบด้วย</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน</p> <p> ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม</p>
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/1347
พัฒนาการการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในสิงคโปร์
2024-10-08T09:44:16+07:00
สุรชาติ พุทธิมา
surachart_put@g.cmru.ac.th
<p>บทความนี้อธิบายพัฒนาการของการสร้างวัฒนธรรมการอ่านและการเรียนรู้ของประเทศสิงคโปร์ จุดเริ่มต้นของความพยายามนี้เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของผู้นำประเทศที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างและสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ของประชาชนชาวสิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ที่ดำเนินงานภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของประเทศสิงคโปร์ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ ฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต</p>
2024-11-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/894
ภาวะสมองไหลกับการบริหารค่าตอบแทนขององค์การภาครัฐ
2024-10-08T09:57:22+07:00
กมลสัณห์ ศรียารัณย
kamonsan2535@gmail.com
<p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสมองไหลที่เกิดจากค่าตอบแทนขององค์การภาครัฐโดยเปรียบเทียบค่าตอบแทน เงินเพิ่มพิเศษ สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ของตำแหน่งในสายงานนักวิชาการยุติธรรม ระดับปฏิบัติการ ระหว่างกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ผลการศึกษาพบความแตกต่างในบทบาทหน้าที่ ภารกิจ ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะสมองไหลของข้าราชการที่มีสมรรถนะสูง เนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม รวมถึงขาดโอกาสในการเติบโตในสายอาชีพ ทำให้คนเก่งหันไปองค์การอื่นที่ดีกว่า การบริหารค่าตอบแทนขององค์การภาครัฐจึงต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตข้าราชการ โดยปรับค่าตอบแทนและเงินเพิ่มพิเศษให้เหมาะสม ลดความเหลื่อมล้ำ และป้องกันภาวะสมองไหล</p>
2024-11-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/898
แนวทางการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงของชุมชนในจังหวัดพะเยา
2024-10-08T09:52:31+07:00
ณวิญ เสริฐผล
nawin_serth@hotmail.com
<p>ถึงแม้ผึ้งโพรงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมทางสังคม และความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศแต่ชุมชนหลายแห่งยังขาดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของผึ้งโพรงอย่างมาก เพราะชุมชนหลายแห่งมีการไล่หรือฆ่าผึ้งโพรงโดยการเผาป่า ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของผึ้งโพรง ส่งผลให้ประชากรผึ้งโพรงลดลง เช่น ชุมชนในจังหวัดพะเยา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีคำถามว่า แนวทางการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงของชุมชนในจังหวัดพะเยาที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของผึ้งโพรง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงอย่างแท้จริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงของชุมชนในจังหวัดพะเยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบกวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม (focus group) กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รู้ที่สำคัญ (key informants) จำนวน 60 คน ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงผึ้งโพรงทั้งหมด จากชุมชนในจังหวัดพะเยา 2 ชุมชน คือ ชุมชนบัว กับ ชุมชนงาม (ทั้ง 2 ชุมชนเป็นชื่อสมมุติ) ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรง มี 8 ประการ ดังนี้ 1) การสร้างการรับความรู้เกี่ยวกับผึ้งโพรง 2) การรวมกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรง 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับผึ้งโพรง 4) การสร้างระบบพี่เลี้ยงผึ้งโพรง 5) การส่งเสริมการตลาดผึ้งโพรง 6) การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาในการเลี้ยงผึ้งโพรง 7) การสร้างข้อตกลงในการเลี้ยงผึ้งโพรง 8) การสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับผึ้งโพรง</p>
2024-11-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/1286
(ถอนการตีพิมพ์) ประสบการณ์ของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารริมทางในพื้นที่เยาวราช
2024-10-08T09:46:16+07:00
<p>(ถอนการตีพิมพ์)</p>
2024-11-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/412
การสร้างตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสตรีทแวร์สำหรับกลุ่มสแว๊กเก้อร์โดยใช้แนวคิดดีไซน์พาราด็อก
2024-10-08T10:01:28+07:00
ณภัทร หอมระเหย
naphat.h@mail.rmutk.ac.th
<p>ปัจจุบันสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆมีผลต่อการใช้ชีวิตดำรงประจำวัน อิทธิพลกระแสแฟชั่น ศิลปิน ดาราเกาหลี และการแต่งกายส่งผลให้แฟชั่นในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาการสร้างตราสินค้าบุรุษและสตรีสตรีทแวร์โดยใช้แนวคิดการออกแบบดีไซน์พาราด็อกเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ตราสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่ม สแว๊กเก้อร์ ในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าบุรุษและสตรีสตรีทแวร์สำหรับกลุ่มสแว๊กเก้อร์ โดยใช้แนวคิดการออกแบบ ดีไซน์พาราด็อก ให้กับผู้บริโภคในท้องตลาด (2) เพื่อศึกษาแนวคิดการออกแบบดีไซน์พาราด็อก รวมทั้งหาเอกลักษณ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบในการสร้างตราสินค้า เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสตรีทแวร์ จากการค้นคว้าเก็บข้อมูล โดนการสัมภาษณ์ สอบถาม และ Paper doll dataset ผลวิจัย พบว่า (1) มีกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเป็นกลุ่มบุรุษและสตรีมีวิถีชีวิตในเมือง ช่วงอายุ 18 – 35 ปี รุ่นเจนเนอร์เรชั่นซี และเจนเนอร์เรชั่นเอ็ม (2) สายอาชีพอิสระ นักออกแบบ สร้างสรรค์ในสายงานต่างๆ มีรายได้มั่นคงในระดับหนึ่ง (3) มีทัศนคติในรูปแบบสแว๊กเก้อร์ มีความเป็นตัวตนเองสูง รักอิสระ ชอบสไตลริ่งการแต่งตัว บริโภคสินค้าตามกระแสแฟชั่นนิยม รสนิยมดี มีบุคลิกมั่นใจในตัวเอง ต้องการแสดงความเป็นตัวตน และโดดเด่น ผู้วิจัยทดลองแนวทางการออกแบบตราสินค้าเครื่องแต่งกายโดยใช้แนวคิดการออกแบบดีไซน์พาราด็อก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ตราสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่ม สแว๊กเก้อร์ กรุงเทพในประเทศไทย</p>
2024-11-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์