วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></p> <p>วารสารมนุษยสังคมศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่นำเสนอองค์ความรู้ ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะที่เป็นความคิดริเริ่มและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษา การบริหารธุรกิจ ภาษา ศิลปะ ดนตรี การแสดง วัฒนธรรม และสหวิทยาการอื่น ๆ เป็นต้น</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่</strong></p> <p>วารสารมนุษยสังคมศาสตร์เริ่มจัดทำและตีพิมพ์วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2566 โดยกำหนดการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ ประกอบด้วย</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน</p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน</p> <p> ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม</p> th-TH วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ ภาวะผู้นำดิจิทัลในองค์กรทางการศึกษาในยุคพลิกผันและโลกแห่งความผันผวน https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/483 <p>ในปัจจุบันโลกเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วสู่โลกแห่งดิจิทัล เทคโนโลยีก้าวกระโดด(Disruptive Technology)ทำให้โลกก้าวสู่ยุคแห่งความพลิกผัน (Disruptive Era) นอกจากนี้ยังเกิดโลกแห่งความผันผวน (VUCA World) ซึ่งประกอบด้วย V-Volatility ความผันผวนแบบตั้งตัวไม่ทัน U-Uncertainty ความไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;C-Complexity ความซับซ้อนและความสลับซับซ้อนเชิงระบบ A-Ambiguity ความคลุมเครือไม่ชัดเจน(Johansen, 2017) อย่างไรก็ตามมนุษย์และการทำงานเป็นทีมยังมีความสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น การสร้างแรงจูงใจ และเพื่อนรวมงานที่มีอิทธิพลในการชักจูงเพื่อนร่วมงานคนอื่นให้ทำงานให้สำเร็จ หรือ สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ(Leadership) ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่ไม่มีตำแหน่งทางการบริหารก็ได้ แต่ถ้าผู้บริหารมีภาวะผู้นำที่ดียิ่งทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับการบริหารการศึกษาในยุคแห่งการผลิกผัน และ โลกแห่งความผันผวนนั้นจำเป็นต้องอาศัยผู้นำโดยเฉพาะผู้นำทางด้านการศึกษาในยุคแห่งการผลิกผัน และ โลกแห่งความผันผวน ที่มีความรู้ ความสามารถในด้านงานวิชาการ และเทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนการการบริหารการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคแห่งการผลิกผัน และ โลกแห่งความผันผวน เพื่อปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้นำทางด้านการศึกษามีความสำคัญในการนำพาองค์กรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม(Innovative Leadership) เป็นภาวะผู้นำที่เหมาะกับองค์กรทางการศึกษาในยุคพลิกผันและโลกแห่งความผันผวน</p> Rattanan Rodthong Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ 2024-05-19 2024-05-19 2 1 11 20 การเปรียบเทียบอารมณ์ของสี ที่มีอิทธิพลส่งผลต่อกระบวนการสร้างสรรค์ ในงานจิตรกรรม https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/876 <p>สีมีความสำคัญในงานทัศนศิลป์ เนื่องจากให้อารมณ์ความรู้สึกโดยตรง เพื่อสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ การเปรียบเทียบอารมณ์ในช่วงนั้นขึ้นอยู่กับเวลาและความรู้สึกรวมถึงแรงบันดาลใจ ในการถ่ายทอดความแตกต่างให้เกิดความสอดคล้องกับเรื่องราว ดึงดูดให้ผู้ชมมีสภาวะทางอารมณ์ร่วมกับผู้สร้างสรรค์กระตุ้นการตอบสนองกับงานศิลปะและการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา ตระหนักรู้และเข้าใจในอารมณ์ของตนเองได้ จึงมีความจำเป็นให้สีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญช่วยเพิ่มความน่าสนใจในงานทัศนศิลป์ ผู้สร้างสรรค์มีสีที่เป็นวัสดุเพียงอย่างเดียวแต่สามารถสร้างผลงานที่สมบูรณ์ เพราะสีมีน้ำหนักอ่อนและแก่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับน้ำหนักทุกประการโดยเปรียบเทียบอารมณ์ของสี ที่มีอิทธิพลส่งผลต่อกระบวนการสร้างสรรค์ในงานจิตรกรรมและงานออกแบบ ต้องเข้าใจความหมายของสี ที่มีลักษณะแตกต่าง การระบายสีมีความจำเป็นเมื่อนำสีหลายสีระบายผสมกันอย่างกลมกลืนวรรณะสีจะเข้ามามีอิทธิพลอาจเป็นวรรณะร้อนหรือวรรณะเย็นก็ได้ การเปรียบเทียบอารมณ์ของสีและการนำไปใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องราวจึงมีความสำคัญเข้าใจถึงรูปแบบของผลงานได้อย่างชัดเจน ผู้สร้างสรรค์จึงใช้อารมณ์ของสี เป็นตัวกำหนดกระบวนการคิดเชิงสัญลักษณ์แทนค่าด้วยสีวรรณะร้อนและสีวรรณะเย็น สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมภาพวาดนรกภูมิและภาพวาดสร้างสวรรค์ โดยบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้สีและอารมณ์ที่แตกต่าง ด้วยการวาดภาพจิตรกรรมนรกภูมิและ จิตรกรรมภาพวาดสรวงสวรรค์ทิวทัศน์ให้อยู่ในวรรณะร้อนและวรรณะเย็น การสลับอารมณ์ของสี ผ่านความคิด ความเข้าใจ และการเปรียบเทียบเรื่องราวภายในภาพและอธิบายเชิงเหตุผล เพื่อให้สอดคล้องและสามารถรู้ถึงเจตนารมณ์ของผู้สร้างสรรค์ และการนำไปใช้ในงานจิตรกรรมได้ดียิ่งขึ้น</p> นิลยา มีศรี วารินทร์ เงินลาด วรวิทย์ แก้วศรีนวม อัษฎเชษฐ์ เตชะวระนนท์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ 2024-04-30 2024-04-30 2 1 21 29 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนชุมชน https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/393 <p>มะแขว่นเป็นพืชเครื่องเทศที่พบมากในภาคเหนือของประเทศไทย มีความสำคัญเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในจังหวัดภาคเหนือหลายแห่ง เช่น จังหวัดน่าน ซึ่งจัดงานมะแขว่นขึ้นทุกปี &nbsp;เนื่องจากมะแข่วน มีความต้องการใช้&nbsp; ในการบริโภคประจำวัน โดยใช้เป็นเครื่องเทศหรือส่วนประกอบของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือในหลายชนิด ผลผลิตมะแขว่นสามารถได้มาจากการเก็บจากป่าหรือการปลูกที่แพร่หลาย ในพื้นที่ภาคเหนือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์&nbsp; จากมะแขว่นเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ทรัพยากรชุมชน&nbsp; เนื่องจากมะแขว่นเป็นพืชที่มีอยู่ในธรรมชาติอยู่มากมาย และมีชื่อเสียง มีการศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์&nbsp; ที่มีคุณค่า โดยให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่&nbsp; ของชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า และเพิ่มมูลค่าจะช่วยสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ในระยะยาว และสร้างกระบวนการเรียนรู้ สืบสาน และสร้างสรรค์ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรท้องถิ่นตามวิถีชีวิต&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; และความเป็นอยู่ของชุมชน การพัฒนาชุมชนเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากมะแขว่นเป็นส่วนสำคัญ โดยใช้วัตถุดิบในชุมชน เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น และการสร้างของดีในชุมชน และนำไปสู่การออกแบบพัฒนา&nbsp; และยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในชุมชน นอกจากนี้ยังเน้นการส่งเสริมภูมิปัญญาดังเดิมสู่การพัฒนาภูมิปัญญาสมัยใหม่จากทรัพยากรชุมชนในชุมชนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในชุมชน</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ทุนชุมชน, มะแขว่น</p> narin rinphanassak นัสวรรณ ใจมั่น นพรัตน์ พิมพ์สุข ทิพธิญา ภาวะพรหม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ 2024-05-30 2024-05-30 2 1 1 10 การรับรู้อาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดนครพนม https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/504 <p>การศึกษาการรับรู้อาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้อาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยว จังหวัดนครพนม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม จำนวน 400 ชุด พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุอยู่ช่วงระหว่าง 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีภูมิลำเนาอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวจังหวัดนครพนมมีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหรือพักฟื้นร่างกาย <br />ใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันไม่เกิน 1,000 บาท และใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในจังหวัดนครพนมเฉลี่ยไม่เกิน 1,000 บาท <br />โดยนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่รู้จักและเคยรับประทานแกงหน่อไม้ ปลานึ่ง ปิ้งไก่ น้ำพริกแจ่วบอง ส้มผักเสี่ยน อันดับแรกตามการแบ่งประเภทอาหารท้องถิ่น และระดับความคิดเห็นที่มีต่อการรับรู้อาหารท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีรับดับความคิดเห็นมากที่สุดเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นที่มีการตกแต่งอาหารให้มีสีสันจากวัตถุดิบหรือสมุนไพรในท้องถิ่นเป็นการเพิ่มมูลค่าและความน่าสนใจ อาหารท้องถิ่นแสดงออกถึงลักษณะด้านวัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิ่น และอาหารท้องถิ่นนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบหลัก ตามลำดับ</p> สุดารัตน์ ชามาตร ปารีรัตน์ อุ่นชัย ชนกพร จักรชุม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ 2024-04-30 2024-04-30 2 1 27 52 การออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MSKJ/article/view/875 <p>ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก มีทั้งประโยชน์และโทษ <br />แก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งในยุคดิจิทัล อินโฟกราฟิกเป็นรูปแบบการอธิบายข้อมูลและความรู้ในเชิงรูปภาพเพื่อสร้างความเข้าใจ การรับรู้ถือเป็นขั้นตอนแรกของการเกิดพฤติกรรม ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์์ในรูปแบบของโปสเตอร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ โดยงานวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบอินโฟกราฟิกเกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ 2) เพื่อศึกษาผลการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ด้วยอินโฟกราฟิก <br />3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับสารอินโฟกราฟิกเกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปสเตอร์เพื่อการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ 2) แบบประเมินคุณภาพของอินโฟกราฟิกเพื่อการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ 3) แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของอินโฟกราฟิกเพื่อการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลสรุปได้ว่าคุณภาพของอินโฟกราฟิกเพื่อการรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์อยู่ในระดับมาก (x ̅=4.36) <br />การรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางคอลเซ็นเตอร์อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.59) และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.54) นอกจากนี้ยังพบว่าบางคนเคยมีประสบการณ์โดยตรงมาแล้ว</p> ศิรินทิพย์ ยอดเสน่หา สุกัญญา แสงเดือน ศิลาลัย พัดโบก Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยสังคมศาสตร์ 2024-04-30 2024-04-30 2 1 29 36