https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/issue/feed วารสารโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 2025-05-02T14:15:10+07:00 นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก phaholonline@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (Phaholpolpayuhasena Hospital Journal: PPHJ)</strong> หรือชื่อเดิมคือ กาญจนบุรีเวชสาร (Kanchanaburi Medical Journal) เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุขให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ทุก 4 เดือน ดังนี้</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน <em><strong>(ปิดรับผลงาน สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือ จำนวนเต็ม)</strong></em></p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม <strong><em>(ปิดรับผลงาน สิ้นเดือนมิถุนายน หรือ จำนวนเต็ม)</em></strong></p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม <strong><em>(ปิดรับผลงาน สิ้นเดือนตุลาคม หรือ จำนวนเต็ม) </em> </strong> </p> https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/2890 ผลของการฟื้นฟูการเดินในผู้ป่วยติดเตียงด้วยอุปกรณ์ฝึกเดินชนิดเคลื่อนย้ายง่าย ในพื้นที่อำเภอบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรี 2025-03-03T13:17:04+07:00 ชญาทิดา สุภางค์อัษฎา ploy157@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของการฟื้นฟูการเดินในผู้ป่วยติดเตียงด้วยอุปกรณ์ฝึกเดินชนิดเคลื่อนย้ายง่ายด้วยตนเองที่บ้าน</p> <p><strong>วิธีการวิจัย: </strong>เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังทดลอง ระหว่างตุลาคม 2567 – กุมภาพันธ์ 2568 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดเตียงในอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 35 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ป่วยได้รับอุปกรณ์ฝึกเดินชนิดเคลื่อนย้ายง่ายด้วยตนเองที่บ้านและโปรแกรมการฟื้นฟูการเดิน โดยผู้วิจัยเยี่ยมบ้าน 1 ครั้งต่อเดือน และให้ผู้ป่วยฝึกเดิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 5 เดือน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>หลังทดลอง คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง (25.57±2.32 และ 16.40±4.38) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต (52.09±7.73 และ 100.94±14.77) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธล (2.74±1.88 และ 12.00±1.57) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความสามารถในการทรงตัวขณะเดินอยู่ในระดับเสี่ยงต่อการล้มปานกลาง (ร้อยละ 51.43) และ ส่วนใหญ่มีคุณภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 42.86) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากจากก่อนทดลอง</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> การฟื้นฟูการเดินด้วยอุปกรณ์ฝึกเดินชนิดเคลื่อนย้ายง่ายด้วยตนเองเป็นระยะเวลา 5 เดือน มีผลทำให้คุณภาพชีวิตและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น รวมถึงความสามารถในการทรงตัว ขณะเดินและคุณภาพการเคลื่อนไหว จึงควรนำกระบวนการฟื้นฟูการเดินไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวรายอื่นต่อไป</p> 2025-05-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/3004 ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 2025-03-26T16:55:25+07:00 สุกฤษณ์ วิธวาศิริ sukrit5314069@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยจิตเวชแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา</p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>: </strong>เป็นการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง ด้วยการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ ประชากรคือ ผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566 ที่เข้ากับเกณฑ์การคัดเข้า เลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มแบบชั้นภูมิรวมจำนวน 224 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบ ไค-สแควร์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาจำนวน 224 ราย ผู้ป่วยที่มาตรวจติดตามการรักษาน้อยกว่า 1 เดือน มีจำนวน 62 ราย คิดเป็นความชุกของการขาดการรักษาต่อเนื่องร้อยละ 27.68 และเมื่อแบ่งตามระยะเวลาที่มาตรวจติดตามการรักษาส่วนใหญ่มาตรวจติดตามการรักษามากกว่า 10 เดือน จำนวน 110 ราย (ร้อยละ 49.11) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขาดการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปร ได้แก่ อายุ สิทธิการรักษา การวินิจฉัยโรค ประเภทผู้ป่วย และจำนวนยาทางจิตเวช</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่มาตรวจติดตามการรักษา มีความชุกของการขาดการรักษาต่อเนื่องค่อนข้างต่ำ ทีมสหสาขาวิชาชีพควรมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงของการขาดการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย และวางแผนการดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มอายุ 45–60 ปี ผู้มีโรคจิตเภทและโรคทางอารมณ์ ผู้ที่เป็นผู้ป่วยตรวจติดตามเดิม และผู้ที่ได้รับยาจิตเวชจำนวนมาก</p> 2025-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา