วารสารโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ <p>วารสารโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (Phaholpolpayuhasena Hospital Journal: PPHJ) หรือชื่อเดิมคือ กาญจนบุรีเวชสาร (Kanchanaburi Medical Journal) เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุขให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง</p> phaholonline@gmail.com (นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก) phaholonline@gmail.com (นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก) Wed, 15 May 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1085 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมวิทยาและความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น </p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนรัฐบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 154 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากแต่ละโรงเรียนตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามด้านสังคมวิทยาและแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรม การป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 72.26) ปัจจัยด้านสังคมวิทยา ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความพึงพอใจในชีวิต ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส่วนปัจจัยด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพื่อความเชี่ยวชาญ การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: ครอบครัว และโรงเรียนควรให้ความสำคัญในเรื่องการให้คำปรึกษาเมื่อวัยรุ่นมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ หรือเกี่ยวกับการปรับตัวทางเพศ และควรสนับสนุนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ประเด็นที่ควรมุ่งเน้นการเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารในเรื่องเพศศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทางออกที่ดี</p> เมตตา วรสุวรรณรักษ์ Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1085 Mon, 20 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1287 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุโดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ</p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โรงพยาบาลบ่อพลอยรับผิดชอบระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2567 จำนวน 64 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองได้โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและแบบสอบถามการวิจัยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและเป็นอิสระต่อกัน </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (8.03±1.40 vs. 6.84±1.46; p&lt;0.001) การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ (31.65±1.77 vs. 27.27±2.44; p&lt;0.001) และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม(40.06±3.01 vs. 37.09±3.06; p&lt;0.001) สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป:</strong> โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีประสิทธิผลในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ สามารถนำโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มไปใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงในเขตที่รับผิดชอบและสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้กับสถานบริการสาธารณสุขในบริบทพื้นที่เดียวกันได้</p> ช่อผกา จั่นประดับ Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1287 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1288 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังดำเนินการทดลองระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีค่าระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 7 ที่รับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสังขละบุรี จำนวน 35 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 และ 0.83 แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> หลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้(23.25±1.98vs. 18.50±3.80; p&lt;0.001) และพฤติกรรม (111.32±6.91 vs. 95.95±9.82; p&lt;0.001) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีระดับน้ำตาลในเลือด (141.75 ±32.03vs. 166.15 ±40.53; p&lt;0.001) และระดับน้ำตาลสะสม (7.28 ±0.39vs. 8.36 ±0.94; p&lt;0.001) ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ดีและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น</p> มะลิวัลย์ แซ่ไหล Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1288 Mon, 24 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1140 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาปัจจัยอิทธิพลและปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี</p> <p><strong>วิธีการวิจัย: </strong>กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 370 คน ณ เดือนมกราคม 2567 สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ปัจจัยอิทธิพล (Mean=4.06, SD=0.57)แรงจูงใจในการทำงาน (Mean=4.06, SD=0.53) และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี (Mean=4.15,SD=0.54) อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญคือ 1) ปัจจัยอิทธิพล ได้แก่ ด้านความสามารถและด้านโครงสร้างสามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพได้น้อย (ร้อยละ 48.1) และ 2) แรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านตำแหน่งงาน ด้านนโยบายการบริหารขององค์กร ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทาย และความก้าวหน้าในอาชีพ สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพได้ปานกลาง (ร้อยละ 72.3)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรีควรให้ความสำคัญกับโครงสร้างของหน่วยงาน ส่งเสริมด้านความสามารถของบุคลากร ควรมีการสร้างแรงใจจูงในการทำงานโดยการกำหนดนโยบายแบบการส่วนร่วมมีการมอบหมายงานลักษณะสร้างสรรค์และท้าทาย สร้างความมั่นคงและก้าวหน้าในการทำงานซึ่งจะก่อให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างเต็มใจและส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานบรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด</p> ธนิต มณีอินทร์ Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1140 Thu, 01 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในผู้ป่วยในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1001 <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพฤติกรรมการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยโรคจิตเวช ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา</p> <p><strong>วิธีการวิจัย: </strong>เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ประชากรเป็นผู้ป่วยโรคจิตเวชทั้งวินิจฉัยหลักและ วินิจฉัยร่วมที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาระหว่าง 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบมีชั้นภูมิจำนวน 349 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไควสแควร์หรือการทดสอบของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในจำนวน 349 คน พบพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการประเมิน Overt Aggression Scale อยู่ในระดับฉุกเฉิน 71 คน (ร้อยละ 20.3) ระดับเร่งด่วน 26 คน (ร้อยละ 7.4) และระดับกึ่งเร่งด่วน 252 คน (ร้อยละ 72.2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก่อความรุนแรง ในผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ได้แก่ เพศชาย อายุต่ำกว่า 40 ปี สถานภาพโสดไม่ได้ประกอบอาชีพ ได้รับการการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชเป็นโรคหลักในการเข้ารับการรักษา มีการใช้สารเสพติดร่วม และมีประวัติความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรม การก่อความรุนแรง</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคทางจิตเวชควรสนใจและตระหนักถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการก่อความรุนแรงก้าวร้าวของผู้ป่วย เพื่อที่จะสามารถประเมินความเสี่ยง เลือกวิธีจัดการรวมทั้งให้การช่วยเหลือในด้านที่เหมาะสมได้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในระหว่างการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล</p> สุขุมาลย์ เล็กมีชัย Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1001 Fri, 23 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1416 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมสนับสนุน และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร</p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ขาดนัด หรือยาหมดก่อนนัด ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาหน่วยงานผู้ป่วยนอก แผนกตรวจโรคทั่วไป โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จำนวน 60 ราย ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม ถึง 31 ตุลาคม 2566 ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบวิลคอกซัน และสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> 1) หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (81.01±35.87 และ 67.01±17.25; p&lt;0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน (3.15±0.27 และ 3.02±0.91; p&lt;0.001) 2) หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวานสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (81.01±35.87 และ 71.21±11.01; p&lt;0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน (3.15±0.27 และ 2.84±0.65; p&lt;0.001)</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานในเวลา 4 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ดีขึ้นได้</p> อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์ Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1416 Mon, 02 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ในยุคหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1444 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ในยุคหลังการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)</p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางในบุคลากรโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาจำนวน 373 คน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2567 โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามสาขาอาชีพและตามสัดส่วนขนาดของประชากรเครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจากงาน ปัจจัยด้านความกังวลต่อโรคโควิด-19 และแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต Thai GHQ-28 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 373 ชุดคิดเป็นร้อยละ 41.4 พบความชุกของปัญหาทางสุขภาพจิตในกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.9 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ไม่เพียงพอ (aOR=2.39; 95%CI=1.14-5.01) ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์มากกว่า 56 ชั่วโมง (aOR=0.018; 95%CI=1.25-10.63) และมีหน้าที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 (aOR= 0.005; 95%CI=1.34-5.13)</p> <p><strong>สรุปผล</strong><strong>:</strong> ความชุกของปัญหาทางสุขภาพจิตในการศึกษานี้ใกล้เคียงกับการศึกษาในยุคการระบาดโรคโควิด-19 แม้ว่าระดับความกังวลของบุคลากรต่อโรคโควิด-19 จะลดลงจากช่วงมีการระบาด</p> ธนพงศ์ แสงส่องสิน Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1444 Mon, 02 Sep 2024 00:00:00 +0700