ประสิทธิผลของโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเพื่อลดการกลับมาเป็นซ้ำ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ณัฏฐนันษ์ สวัสดิกุล
กมลชนก ช่วงทอง
วิกรณ์ สิงห์จันทึก

บทคัดย่อ

        โรคปอดอักเสบในเด็กเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจที่ระบุเป็นโรคที่เป็น ปัญหาของโลก การศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ การปฏิบัติ และอุบัติการณ์การกลับมารักษาซ้ำก่อนและหลังการทดลองโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 34 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูล ทั่วไป แบบทดสอบความรู้ การปฏิบัติ และอัตราอุบัติการณ์การกลับมารักษาช้ำในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วย IOC ได้เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired Samples t-test
        ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างค่าเฉลี่ยรวมความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบในเด็กสูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (1-4.741, p=.000) และค่าเฉลี่ยรวมการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก สูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=-11.290, p=.000) และเปรียบเทียบอุบัติการณ์การกลับมารักษาซ้ำหลังจำหน่าย 28 วัน ลดลงกว่าก่อนการทดลอง
        ผู้ดูแลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหอผู้ป่วยได้จะสามารถลดอัตราอุบัติการณ์การกลับมารักษาของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก พัฒนาเป็นนโยบาย ให้กับหน่วยงานภายในโรงพยาบาลที่มีบริบทการดูแลผู้ป่วยที่มีความใกล้เคียงกัน เพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการแพทย์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

Article Details

How to Cite
สวัสดิกุล ณ. . ., ช่วงทอง ก. . . ., & สิงห์จันทึก ว. (2025). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเพื่อลดการกลับมาเป็นซ้ำ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้, 1(2), 52–65. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2612
บท
บทความวิจัย

References

Mckeehan, E. M. (1981). Continuing care: A multidisciplinary approach to discharge.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการรักษาปอดอักเสบในผู้ใหญ่. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลเกี่ยวกับปอดติดเชื้อ. https://www.moh.go.th/pneumonia

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). การดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อในผู้ใหญ่: แนวทางการปฏิบัติและการพยาบาลที่ดีที่สุด. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th

ฐิตินันท์ ไมตรี. (2558). ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืดต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.

นวลตา โพธิ์สว่าง, สุดใจ ศรีสงค์, และเพชราภรณ์สุพร. (2557). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสขภาพ, 32(1), 165-175.

ภาวิณี ช่วยแท่น, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, และสุปรียา ตันสกุล. (2563). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริม พฤติกรรมป้องกันการกลับมารักษาซ้ำในมารดาเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารสุขศึกษา, 43(1), 12-24.

โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. (2566). จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจโรคโรคปอดติดเชื้อ โรงพยาบาลราษฎร์ธานีปี 2563 – 2567 [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. งานศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.

ศริญญา ไชยยา. (2560). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2560. เข้าถึงได้จาก

http://203.157.15.110/boeeng/download/AESR-6110-24.pdf.