การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของบุคลากรสาธารณสุขเขตพื้นที่จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานระบบสุขภาพปฐมภูมิ ได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ส่วน ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ได้เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.96 มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 42.60 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 89.20 ประสิทธิภาพการบริการของบุคลากรระดับปฐมภูมิ มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =3.43, S.D=0.82) การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร คะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =3.50, S.D=1.08) และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลมีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 43.10 (β =23.749, p<=0.001)
ข้อเสนอแนะฝ่ายบริหารควรมีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้ามาส่วนร่วมในการตัดสินใจมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลให้มากขึ้น จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชนะพล ศรีฤาชา และณัฐธิมา ต่อศรี. (2558). แรงจูงใจของเภสัชกรที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพระบบบริการเพื่อมุ่งสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของฝ่ายเภสัชกรรมในโรงพยาบาล ชุมชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 22(2), 1–10.
ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต ตีพิมพ์).
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน , นครปฐม.
ปราณี ประวิชพราหมณ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในคณะ
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.รายงานการวิจัย คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
เพ็ญพิชชา ล้วนดี. (2556). แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). (การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).
มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
วิษณุ สุมิตสวรรค์ เพ็ญณี แนรอธ และวงศ์พัทธ์ นามบุดดี. (2560). แรงจูงใจในการทำงานอย่างมี
ความสุขของพนักงานเทศบาล เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,
(3) 226-236.
ศิรินทร์ทิพย์ บุญด้วยลาน และปรียากมล ข่าน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะ
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การทำงานเป็นทีมกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาล
วิชาชีพในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(3),
-69.
สถาพร รัตนวารีวงษ์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรอง
คุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบึงกาฬ.(วิทยานิพนธ์ปริญญา
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และกิตตินันท์ อนรรฆมณี. (2560). คุณภาพบริการสุขภาพสู่สังคมไทยในฝัน.ใน
HA 2017 UPDATE. นนทบุรี: หนังสือดีวัน.(หน้า 81-93)