https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/issue/feed วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ 2025-02-04T20:46:00+07:00 Asst. Prof. Dr.Panitan Grasung pranitan2519@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ (Online)<br />ISSN 3057-1103 (Online)<br /><br />นโยบายและขอบเขตการเผยแพร่<br /></strong>วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้เป็นวารสารทางวิชาการ จัดเผยแพร่โดยบริษัท สตรอง แอนด์ เฮลที้ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์ ประกอบด้วย ด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์สาธารณสุข และนวัตกรรมสุขภาพ การพยาบาล เภสัชกรรม อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ</p> <p><strong>กระบวนการประเมินบทความ<br /></strong>บทความทุกบทความจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double blind peer review) </p> <p><strong>ประเภทของบทความ<br /></strong>บทความวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา บทวิจารณ์ และบทความปริทัศน์</p> <p><strong>ภาษาที่เผยแพร่<br /></strong>ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่<br /></strong>วารสารฯ กำหนดเผยแพร่กำหนดการเผยแพร่ : 3 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม </p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม </p> <p><strong>เจ้าของวารสาร : </strong>บริษัท สตรอง แอนด์ เฮลที้ จำกัด</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ :</strong> 2000 บาท/บทความ</p> https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2475 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากรสปาจังหวัดภูเก็ต 2024-12-09T18:57:22+07:00 เอกรินทร์ วริทธิกร ekkpharma@gmail.com <p> การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพทั่วไป และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ให้บริการในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในการให้บริการด้านสุขภาพของผู้ให้บริการในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต ตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 320 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไป จำนวน 7 ข้อ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ การเข้าใจข้อมูลสุขภาพ การประเมินข้อมูลสุขภาพ การประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพ จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับวัตถุประสงค์รายข้อมีค่าเท่ากับ 0.6 -1.0 มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.84, 0.82 และ 0.89 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง ระดับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับดี และความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูลสุขภาพ การประเมินข้อมูลสุขภาพ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.389, p&lt;.01; r=.333, p&lt;.01; r=.443, p&lt;.01; r=.382, p&lt;.01 ตามลำดับ)</p> <p> ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ</p> 2025-01-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2503 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2024-12-12T23:44:14+07:00 นฤพนธ์ จินดาวัลย์ narupon66@gmail.com <p>การวิจัยนี้การวิจัยนี้ถูกออกแบบในรูปแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม (Two-Group Comparison) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar: FBS) ของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกทั้งหมดจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คนโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ พร้อมกับการวิเคราะห์เชิงอนุมานด้วยการใช้ Paired t-test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรู้สูงขึ้นถึงร้อยละ 100.00 ในขณะเดียวกัน โดยกลุ่มควบคุมมีความรู้สูงขึ้นร้อยละ 83.33 สำหรับในด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมากที่ร้อยละ 86.67 กลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมหลังจากโปรแกรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.33 นอกจากนี้ คะแนนเฉลี่ยของความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงของกลุ่มตัวอย่างในช่วงหลังการใช้โปรแกรมมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p> ดังนั้นการปรับเนื้อหาที่เน้นเฉพาะกลุ่มด้วยการใช้สื่อดิจิทัลในการกระตุ้นแรงจูงใจ ด้วยการออกแบบจัดการ หรือส่งเสริมปัจจัยเหล่านั้นให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้าง จะทำให้เกิดการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อสร้างแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและครอบคลุมมากขึ้นในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ</p> 2025-01-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2613 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN ของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสตูล 2025-01-16T15:06:50+07:00 อรพรรณ ก้อนหิน looktan51.1994@gmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive researchแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN &amp; CLEAN ของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจ และแรงสนับสนุนทางสังคม กับการมีส่วนร่วมการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN &amp; CLEAN ของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสตูลได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ส่วน ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 0.80 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับได้เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 90.70 อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 18-30 ปี ร้อยละ 42.90 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 70.00 ลักษณะงานส่วนใหญ่เป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 71.10 การมีส่วนร่วมการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN &amp; CLEAN ของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน เฉลี่ยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ( =3.56, S.D=0.74) และโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการกระตุ้นติดตาม ด้านการได้รับการสร้างขวัญและกำลังใจจากผู้บริหาร ด้านแรงจูงใจ ด้านการให้โอกาสการมีส่วนร่วม สามารถทำนายด้านการมีส่วนร่วมการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN &amp; CLEAN ของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 54.70 (R<sup>2</sup> =0.547, β=0.157, p=0.010) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-01-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2611 ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบร้านอาหารตามสั่ง องค์การบริหารส่วนตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 2025-02-04T20:46:00+07:00 วัลภา แสนสีแก้ว bokiebobokie@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ คะแนนการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารก่อนและหลังทดลองโปรแกรมสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมโปรแกรมสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบร้านอาหารตามสั่ง 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนน/เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนร้านอาหารที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานร้านอาหาร กลุ่มทดลองได้แก่ ผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired sample t-test</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองผู้สัมผัสอาหาร มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value 0.05). และสัดส่วนร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value 0.05)</p> <p> ดังนั้น ตั้งแต่การคิดวิเคราะห์ วางแผน สร้างและพัฒนาโปรแกรมจนถึงการนำไปปฏิบัติ ผู้ประกอบการแสดงความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระดับความรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบร้านอาหารตามสั่งที่ดี ซึ่งส่งผลเชิงบวกและสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติของกลุ่มผู้ประกอบการอื่นๆ ได้</p> 2025-02-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2614 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของประชาชนตำบลบ้านคีรีวง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 2025-01-29T21:45:39+07:00 ฟ้าใส ประสารรส waleeprasanros@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของประชาชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพในครอบครัว ระดับการศึกษา อาชีพและจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคีรีวง ได้มาโดยสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ส่วน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้เท่ากับ 0.74 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับได้เท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.10 กลุ่มอายุระหว่าง 49 ปีขึ้นไป มากสุด ร้อยละ 35.90 ส่วนใหญ่การศึกษาระดับประถมศึกษามี ร้อยละ 59.70 ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้าง ร้อยละ24.20 จำนวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ 1 - 4 คน ร้อยละ 61.10 ความรู้การคัดแยกขยะจากครัวเรือน มีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความรู้ปานกลาง ( = 5.74, S.D = 1.61) เจตคติการคัดแยกขยะจากครัวเรือน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =18.37, S.D = 3.22) พฤติกรรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับพฤติกรรมปฏิบัติบางครั้ง ( =23.00, S.D = 4.31) และปัจจัยด้านระดับการศึกษา ความรู้ เจตคติ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือน ได้ร้อยละ 43.10 (R<sup>2</sup>=.431, β= .748) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2025-02-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2812 บทบรรณาธิการ 2025-01-29T23:40:16+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน กระสังข์ Pranitan2519@gmail.com <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ (STRONG AND HEALTHY JOURNAL) &nbsp;ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน 2568 เป็นวารสารฉบับปฐมฤกษ์ของการเผยแพร่บทความวิจัย ซึ่งบทความวิจัยทุกฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในฉบับปัจจุบันนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากโดยเนื้อหาของบทความวิจัยดังกล่าวล้วนมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนรวมถึงปัญหาสาธารณสุขของประเทศเป็นหลัก ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากในแต่ละการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกพื้นที่ที่มีลักษณะประชากรที่ใกล้เคียงกันได้โดยรูปแบบของการศึกษาประกอบไปด้วยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อสังคมเป็นอย่างมากสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของวารสารที่ต้องการให้ผู้อ่านบทความวิจัยสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารของเราไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทั้งนี้วารสารคำถึงความเป็นมาตรฐาน และมีคุณภาพ โดยฉพาะมาตรฐานในการพิจารณาบทความวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญโดยยังคงได้กำหนดให้บทความวิจัยทุกฉบับของวารสารต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจำนวนทั้งสิ้น 3 ท่าน ดังนั้น ผู้นิพนธ์สามารถใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารของเราตามหลักเกณฑ์ของ ก.พ.อ. หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้นิพนธ์ต่อไป หากท่านมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือพบปัญหาใดที่เกิดขึ้นจากทางวารสาร</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทางกองบรรณาธิการยินดีรับข้อเสนอแนะ และจะนำข้อเสนอดังกล่าวไปปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของวารสารให้ดียิ่งขึ้นต่อไป</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สุดท้ายนี้ ทางกองบรรณาธิการยินดีรับข้อเสนอแนะ โดยจะนำข้อเสนอดังกล่าวไปปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของวารสารให้ดียิ่ง และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในการส่งบทความวิจัยเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารของเราด้วยความเคารพ</p> <p>&nbsp;</p> 2025-01-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้