วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ
<p><strong>วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ (Online)<br />ISSN 3057-1103 (Online)<br /><br />นโยบายและขอบเขตการเผยแพร่<br /></strong>วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้เป็นวารสารทางวิชาการ จัดเผยแพร่โดยบริษัท สตรอง แอนด์ เฮลที้ จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์ ประกอบด้วย ด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์สาธารณสุข และนวัตกรรมสุขภาพ การพยาบาล เภสัชกรรม อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ</p> <p><strong>กระบวนการประเมินบทความ<br /></strong>บทความทุกบทความจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double blind peer review) </p> <p><strong>ประเภทของบทความ<br /></strong>บทความวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา บทวิจารณ์ และบทความปริทัศน์</p> <p><strong>ภาษาที่เผยแพร่<br /></strong>ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่<br /></strong>วารสารฯ กำหนดเผยแพร่กำหนดการเผยแพร่ : 3 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม </p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p>กำหนดการออกฉบับละ 4 - 6 บทความ</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร : </strong>บริษัท สตรอง แอนด์ เฮลที้ จำกัด</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ :</strong> 2000 บาท/บทความ</p>
บริษัท สตรอง แอนด์ เฮลที้ จำกัด
th-TH
วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้
3057-1103
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสมุทรปราการ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2615
<p> การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคม ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคปอด เสมหะพบเชื้อ ในจังหวัดสมุทรปราการ รักษาหายและครบแล้ว จำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ตารางไขว้ การทดสอบไคสแควร์ และการหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน <br /> ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในระดับสูง ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการรักษา และแรงจูงใจ ด้านสุขภาพทั่วไป มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) การรับรู้ถึงอุปสรรคในการปฏิบัติตน มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01)<br /> ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ การเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมโดยให้ครอบครัวและญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเพิ่มความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อก่อให้เกิดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคได้อย่างครอบคลุม </p>
ดาวเรือง เชิดกลิ่น
ประภาสิริ จันตะนี
จริยา ศรีธงชัย
Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-05
2025-05-05
1 2
6
22
-
การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของบุคลากรสาธารณสุขเขตพื้นที่จังหวัดสตูล
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2616
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานระบบสุขภาพปฐมภูมิ ได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ส่วน ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ได้เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br /> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.96 มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 42.60 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 89.20 ประสิทธิภาพการบริการของบุคลากรระดับปฐมภูมิ มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =3.43, S.D=0.82) การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากร คะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =3.50, S.D=1.08) และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลมีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 43.10 (β =23.749, p<=0.001) <br /> ข้อเสนอแนะฝ่ายบริหารควรมีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้ามาส่วนร่วมในการตัดสินใจมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลให้มากขึ้น จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการให้บริการระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย</p>
ธนกร สง่าบ้านโคก
นิศารัตน์ ศักดิ์ชัยนันท์
พัทธมนัส โชติมณีวัฒนา
Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-05
2025-05-05
1 2
23
38
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/3024
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดบริการของผู้รับบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจความคิดเห็น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เคยรับบริการในคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร จำนวน 310 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 56.8) มีอายุ 36-59 ปี (ร้อยละ 58.7) มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. (ร้อยละ 32.3) ประกอบอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 23.9) และใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ร้อยละ 52.9) โดยแรงจูงใจหลักในการเข้ารับบริการเกิดจากการเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง (ร้อยละ 18.8) ความคาดหวังต่อคุณภาพบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D. = 0.644) โดยด้านการแนะนำข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.94) ด้านความพึงพอใจในการจัดบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.544) โดยด้านการบริการต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.15) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความคาดหวังในการรับบริการด้านความน่าเชื่อถือในการตรวจรักษา และด้านการตอบสนอง ท่าทีการแสดงออก มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
อมรพงศ์ สุขเสน
Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-05
2025-05-05
1 2
39
51
-
ประสิทธิผลของโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเพื่อลดการกลับมาเป็นซ้ำ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2612
<p> โรคปอดอักเสบในเด็กเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจที่ระบุเป็นโรคที่เป็น ปัญหาของโลก การศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ การปฏิบัติ และอุบัติการณ์การกลับมารักษาซ้ำก่อนและหลังการทดลองโปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 34 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ แบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูล ทั่วไป แบบทดสอบความรู้ การปฏิบัติ และอัตราอุบัติการณ์การกลับมารักษาช้ำในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วย IOC ได้เท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired Samples t-test<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างค่าเฉลี่ยรวมความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอักเสบในเด็กสูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (1-4.741, p=.000) และค่าเฉลี่ยรวมการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก สูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=-11.290, p=.000) และเปรียบเทียบอุบัติการณ์การกลับมารักษาซ้ำหลังจำหน่าย 28 วัน ลดลงกว่าก่อนการทดลอง<br /> ผู้ดูแลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหอผู้ป่วยได้จะสามารถลดอัตราอุบัติการณ์การกลับมารักษาของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็ก พัฒนาเป็นนโยบาย ให้กับหน่วยงานภายในโรงพยาบาลที่มีบริบทการดูแลผู้ป่วยที่มีความใกล้เคียงกัน เพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการแพทย์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล</p>
ณัฏฐนันษ์ สวัสดิกุล
กมลชนก ช่วงทอง
วิกรณ์ สิงห์จันทึก
Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-05
2025-05-05
1 2
52
65
-
บทบรรณาธิการ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/3150
<p> วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้ (STRONG AND HEALTHY JOURNAL) ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2568 เป็นวารสารฉบับที่ 2 ของการเผยแพร่บทความวิจัย โดยในฉบับนี้วารสารได้รับเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) จากหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งทำให้วารสารมีความน่าเชื่อถือทางด้านวิชาการมากขึ้น อีกทั้งบทความทุกฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในฉบับปัจจุบันนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากโดยเนื้อหาของบทความวิจัยดังกล่าวล้วนมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนรวมถึงปัญหาสาธารณสุขของประเทศเป็นหลัก ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากในแต่ละการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกพื้นที่ที่มีลักษณะประชากรที่ใกล้เคียงกันได้โดยรูปแบบของการศึกษาประกอบไปด้วยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อสังคมเป็นอย่างมากสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของวารสารที่ต้องการให้ผู้อ่านบทความวิจัยสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารของเราไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด<br> ทั้งนี้วารสารคำถึงความเป็นมาตรฐาน และมีคุณภาพ โดยฉพาะมาตรฐานในการพิจารณาบทความวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญโดยยังคงได้กำหนดให้บทความวิจัยทุกฉบับของวารสารต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจำนวนทั้งสิ้น 2 ท่าน ดังนั้น ผู้นิพนธ์สามารถใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารของเราตามหลักเกณฑ์ของ ก.พ.อ. หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้นิพนธ์ต่อไป หากท่านมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือพบปัญหาใดที่เกิดขึ้นจากทางวารสาร<br> ทางกองบรรณาธิการยินดีรับข้อเสนอแนะ โดยจะนำข้อเสนอดังกล่าวไปปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของวารสารให้ดียิ่ง และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในการส่งบทความวิจัยเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารของเราด้วยความเคารพ</p>
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน กระสังข์
Copyright (c) 2025 วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-05
2025-05-05
1 2
5
5