วารสารกุมารเวชศาสตร์ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP <p>วารสารกุมารเวชศาสตร์ (Thai Journal of Pediatrics) เป็นวารสารวิชาการทางการแพทย์ที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับกุมารเวชศาสตร์ เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ</p> ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย / สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย th-TH วารสารกุมารเวชศาสตร์ 3027-8422 การศึกษาอาการแสดงทางคลินิกของทารกที่มารดาใช้เมทแอมเฟตามีนระหว่างกลุ่มทารกที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2742 <p><strong>ความเป็นมา</strong>: การใช้เมทแอมเฟตามีนในหญิงตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น การตรวจปัสสาวะของทารกพบทั้งผลบวกและลบต่อเมทแอมเฟตามีน แต่ยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่ชัดเจนเกี่ยวกับความแตกต่างของอาการในทารกทั้งสองกลุ่ม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: ศึกษาอาการของทารกที่เกิดจากมารดาใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีนระยะก่อนคลอด ในโรงพยาบาลหาดใหญ่</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: การศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) โดยทบทวนเวชระเบียนทารกที่เกิดจากมารดาตรวจพบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะระยะก่อนคลอด ระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 ติดตามอาการในทารกที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ รวมถึงหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ multivariable logistics regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ทารกที่เกิดจากมารดาตรวจพบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะจำนวน 319 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะของทารก 277 กับ 42 คนตามลำดับ มัธยฐานของอายุมารดา 29 ปี ร้อยละ 25.4 มีการฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์กรมอนามัย พบภาวะครรภ์เป็นพิษระดับรุนแรงร้อยละ 16.9 ภาวะตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 7.2 มัธยฐานของน้ำหนักแรกเกิด 2,760 กรัม ในกลุ่มที่ตรวจพบและไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ พบภาวะน้ำหนักแรกเกิดน้อยร้อยละ 20.2 และ 38.1 ตามลำดับ ค่าคะแนน Apgar นาทีแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ร้อยละ 3.2 และ 11.9 ตามลำดับ ทารกที่ตรวจพบเมทแอมเฟตามีนมีโอกาสเกิดก่อนกำหนดน้อยกว่าทารกที่ตรวจไม่พบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ (adjusted odds ratio [aOR] 0.43; 95% confidence interval [CI], 0.21- 0.86) รวมถึงภาวะหายใจลำบาก (aOR 0.46; 95% CI 0.23–0.91) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (aOR 0.28; 95% CI 0.08–0.96) การได้รับการักษาที่หออภิบาลทารกวิกฤตหรือกึ่งวิกฤต (aOR 0.43; 95% CI 0.21–0.86) และภาวะตัวเหลือง (aOR 0.17; 95% CI 0.03–0.95) นอกจากนี้ยังมีโอกาสมากกว่าที่มีภาวะอุณหภูมิกายแรกรับสูงกว่า (aOR 1.8; 95% CI 1.04–3.11) ทารกที่ตรวจไม่พบเมทแอมเฟตามีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป</strong>: จากการศึกษาพบว่าการตรวจพบเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะของทารกที่เกิดจากมารดาใช้เมทแอมเฟตามีนระยะก่อนคลอด ไม่สัมพันธ์กับอาการแสดงทางคลินิกของทารก จึงแนะนำให้สังเกตอาการทารกและส่งตรวจปัสสาวะเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและการรักษา เช่น ภาวะขาดยา อาการชัก เป็นต้น</p> อิงอร กังวานฐิติ จีรวรรณ วรรณโร พรปรีณัน ชัยวิริยะวงศ์ เพ็ญวดี อาวะภาค Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 15 31 ปัจจัยที่สัมพันธ์และผลลัพธ์ของภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลลำปาง https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2782 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>การศึกษาปัจจัยเสี่ยงภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด สามารถพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง ตรวจติดตาม การวินิจฉัยและการรักษา เพื่อลดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิต รวมถึงพัฒนาระบบการดูแลในเขตสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดและผลลัพธ์การรักษา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษาแบบย้อนหลังเปรียบเทียบภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดกับภาวะหายใจลำบากจากสาเหตุอื่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2567 วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโดย multivariable risk difference regression analysis</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดได้แก่ ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (RR 1.92; 95%CI 1.17, 3.13) กลุ่มอาการสำลักขี้เทา (RR 3.46; 95%CI 1.97, 6.08) การติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด (RR 2.53; 95%CI 1.51, 4.23) ภาวะเลือดออกในปอด (RR 2.47; 95%CI 1.39, 4.37) ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (RR 2.33; 95%CI 1.41, 3.84) และภาวะหัวใจวายจากหลอดเลือดหัวใจเกิน (RR 4.85; 95%CI 3.16, 7.46) กลุ่มที่ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดได้รับยากระตุ้นหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ใช้เครื่องช่วยหายใจความถี่สูงมากกว่า มีระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ การนอนโรงพยาบาล และเสียชีวิตมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>วิธีการคลอด ภาวะที่มีผลต่อหัวใจและปอด และการติดเชื้อในกระแสเลือดมีความสัมพันธ์กับภาวะความดันเลือดในปอดสูง ดังนั้นการควบคุมปัจจัยดังกล่าว อาจช่วยลดภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด ซึ่งส่งผลต่อภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิต</p> รวี อัศวกิติพงษ์ อนวัช บุปผาเจริญสุข ภควดี วุฒิพิทยามงคล Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 32 48 การศึกษาอุบัติการณ์ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2787 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ส่งผลให้ทารกมีการพร่องออกซิเจนอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ลักษณะทางคลินิก ผลการรักษา และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะความดันเลือดในปอดสูง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 และดำเนินการวิเคราะห์ระหว่างกลุ่มที่เสียชีวิตกับกลุ่มที่รอดชีวิต</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบผู้ป่วยที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด จำนวน 25 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 4.06 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย โดยร้อยละ 76 เป็นเพศชาย และร้อยละ 76 เป็นสัญชาติไทย อายุครรภ์เฉลี่ย 37.3 ± 3.2 สัปดาห์ การคลอดมีสัดส่วนเท่ากันระหว่างการคลอดปกติและการผ่าตัดคลอด (ร้อยละ 48) สาเหตุที่พบมากที่สุดคือกลุ่มอาการปอดอักเสบในทารกแรกเกิด (ร้อยละ 52) อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 40 โดยกลุ่มที่เสียชีวิตมีค่าเฉลี่ยของความดันในหลอดลมขณะหายใจเข้า 22.2 ± 3.46 (p value 0.029), ความดันเฉลี่ยของทางเดินหายใจ 21.8 ± 3.32 (p value 0.07) และค่าดัชนีออกซิเจน 49.3 ± 13.1 (p value 0.001) สูงกว่ากลุ่มที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ กลุ่มที่เสียชีวิตพบภาวะแทรกซ้อนลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด 5 ราย (ร้อยละ 83.3) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value 0.013)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ยังคงมีอัตราการเสียชีวิตสูง เมื่อเทียบกับอุบัติการณ์ในประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ 1.88 - 3.7 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย โดยสาเหตุหลักคือกลุ่มอาการปอดอักเสบในทารกแรกเกิด และภาวะแทรกซ้อนลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต</p> พัชรินทร์ ว่องวุฒิกำจร Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 49 61 อัตราการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูง ก่อนและหลังการใช้ KNH one-page care plan for PPHN ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2698 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดเป็นภาวะที่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านบุคคลากรการแพทย์ ยา ก๊าซ iNO และเครื่องมือในการรักษา โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชมีการจัดทำแนวทางการดูแลรักษาภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมขึ้น พบว่าอัตราการเสียชีวิตลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังคงพบการเสียชีวิตจากภาวะนี้อยู่ทุกปี ดังนั้นการรักษาภาวะนี้ถือว่ามีความท้าทายและมีโอกาสในการพัฒนาอยู่อีกมากในโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดในการดูแลรักษา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2564 จึงได้คิดค้นแนวทาง KNH (King Narai hospital) one-page care plan for PPHN<strong> </strong>เป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้ เนื้อหากระชับอยู่ในหน้าเดียว ทำให้ทารกทุกรายได้รับการดูแลในแนวทางเดียวกัน พยาบาลมีจุดที่ต้องรายงานแพทย์ตรงกัน แพทย์มีจุดที่ต้องมาทำการดูแลรักษาตามขั้นตอนเดียวกัน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะ PPHN ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หลังใช้เครื่องมือ KNH one-page care plan for PPHN</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาแบบ retrospective studyในทารกแรกเกิดอายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะความดันเลือดปอดสูง ตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2567 การประเมินผลสำเร็จของแนวทางการรักษาภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิด โดยศึกษาถึงอัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของทารก ร่วมกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต และค่า OSI ที่เหมาะสมในการเริ่มให้ยาขยายหลอดเลือดปอดในโรงพยาบาลที่ไม่มีก๊าซ iNO</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ทารกจำนวน 59 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทารกที่เกิดก่อนมีการใช้เครื่องมือ PPHN care plan 40 ราย และกลุ่มที่เกิดหลัง 19 ราย ข้อมูลพื้นฐานของทารกทั้งสองกลุ่ม และสาเหตุของภาวะความดันเลือดปอดสูงไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม โดยมีอัตราการเสียชีวิตของกลุ่มแรกร้อยละ 27.5 และกลุ่มหลังร้อยละ 0 (p value 0.011) ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มแรกนานกว่ากลุ่มหลังอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (10 วัน กับ 4 วัน, p value &lt;0.001 และ 16.9 วัน กับ 9.7 วัน, p value &lt;0.001) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตคือ ค่า OSI ที่สูงก่อนที่จะได้ยา pulmonary vasodilator และการได้รับยา norepinephrine ขนาดสูง ค่า OSI ที่เหมาะสมในการเริ่มให้ยาขยายหลอดเลือดปอดอยู่ที่ 8-11</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> KNH one-page care plan for PPHN<strong> </strong>ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้</p> มุทิตา มีแสง Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 62 82 ปัจจัยเสี่ยงและผลการรักษาระยะสั้น โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2830 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>โรคหลอดเลือดสมองในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กตามมา สามารถแบ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองในเด็กได้เป็นสองกลุ่มดังนี้ หลอดเลือดแดงตีบ และหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งแต่ละกลุ่มโรคมีปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันไป</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในเด็กในโรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยใช้ Modified Rankin Scale (MRS) ประเมินเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลและติดตามอาการที่ 3 เดือน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กอายุมากกว่า 28 วันถึง 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 ที่เข้ารับการรักษาและติดตามอาการที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน อาการและอาการแสดง ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษาเมื่อจำหน่ายจากโรงพยาบาลและ 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยสถิติเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมด 50 คน เป็นเพศชายร้อยละ 56 พบกลุ่มหลอดเลือดแดงตีบร้อยละ 60 กลุ่มหลอดเลือดแตก ร้อยละ 32 และกลุ่มโพรงเส้นเลือดดำในสมองอุดตัน ร้อยละ 8 โดยอาการนำของผู้ป่วยหลอดเลือดแดงตีบพบบ่อยคือ อาการอ่อนแรง ขณะที่หลอดเลือดแตกคือระดับความรู้สึกตัวลดลงและอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงพบว่ากลุ่มหลอดเลือดแดงตีบ พบโรคหัวใจ การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองและไม่ทราบสาเหตุ เป็นปัจจัยที่พบบ่อย ส่วนภาวะเกล็ดเลือดต่ำและการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในกลุ่มหลอดเลือดแตก และการติดเชื้อเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบในกลุ่มโพรงเส้นเลือดดำในสมองอุดตัน นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กโรคหลอดเลือดสมองสูงถึงร้อยละ 28 และผู้ป่วยที่รอดชีวิตมีปัญหาความพิการตามมา</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>หลอดเลือดแดงตีบเป็นกลุ่มที่พบบ่อยในโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยเด็ก และพบว่าปัจจัยเสี่ยงของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบอัตราการเสียชีวิตที่สูงและความพิการตามมาของผู้ป่วยเด็กโรคหลอดเลือดสมอง</p> ทิพาพร ทองมาก ณัจวาย์ ยุทธสมภพ Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 83 94 การเข้าถึงการศึกษาของผู้ป่วยเด็กกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2690 <p><strong>ความเป็นมา: </strong>กลุ่มโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (neuromuscular disease) คือกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบการสั่งงานของสารสื่อประสาท เส้นประสาทส่วนปลาย ปัญหาหลักของผู้ป่วยในกลุ่มโรคเหล่านี้คือปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว อ่อนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นไม่สามารถเดินได้ โดยที่ระบบการทำงานของสมอง ความคิด และการรับรู้ยังคงเป็นปกติ จากการทบทวนวรรณกรรมในต่างประเทศ ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติในสังคม ได้รับการศึกษาและเข้าเรียนเหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่สำหรับประเทศไทย กลับพบว่าเมื่อผู้ป่วยกลุ่มนี้เริ่มมีปัญหาทางการเคลื่อนไหว สุดท้ายผู้ป่วยต้องหยุดเรียนและออกจากระบบการศึกษาไปในที่สุด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาอัตราการได้รับการศึกษาของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ศึกษาความต้องการสนับสนุนเพิ่มเติมในการจัดการศึกษา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษาแบบภาคตัดขวางได้ดำเนินการกับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อายุระหว่าง 3 ถึง 25 ปี ที่ศูนย์โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรงพยาบาลศิริราช ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 แบบสอบถามถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง 105 คน พบว่า มีผู้ที่ได้รับการศึกษาจำนวน 73 คน เคยเรียนหนังสือแต่ต้องหยุดเรียนไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ 27 คน และไม่เคยเข้าโรงเรียน 5 คน ผู้ป่วยส่วนมากเป็นโรค DMD/BMD (ร้อยละ 36.3) รองมาคือ SMA (ร้อยละ 26.7) เมื่อควบคุมปัจจัยรบกวน พบว่า สภาพแวดล้อมที่โรงเรียนที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยง 26.6 เท่าที่จะไม่ไปโรงเรียนเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่สภาพแวดล้อมโรงเรียนเหมาะสม ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ (นั่งรถเข็นผู้พิการและผู้ป่วยนอนติดเตียง) มีความเสี่ยง 23.5 เท่าที่จะไม่ไปโรงเรียนเมื่อเทียบผู้ป่วยที่สามารถเดินได้ ขณะที่ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด มีความเสี่ยง 13.8 เท่าที่จะออกจากโรงเรียน บ้านที่มีความลำบากในการดูแลผู้ป่วยมีความเสี่ยง 22.3 เท่าในการออกจากโรงเรียน และ รายได้ครอบครัวที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 10.9 เท่าที่จะไม่ได้เรียนหนังสือ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนมากถึงหนึ่งในสามไม่ได้เรียนหนังสือ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ การไม่สามารถเดินได้ รายได้ครัวเรือนที่ต่ำ การต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังคด ปัญหาความลำบากของผู้ดูแล และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ไม่เหมาะสม หากสามารถแก้ไขปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับการศึกษาของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้มากยิ่งขึ้น</p> นัฐพร โรจน์ชนะทอง อรณี แสนมณีชัย Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 95 113 การตรวจคัดกรองเบื้องต้นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA ในผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงสูงในประเทศไทย โดยวิธีกระดาษกรองและวิธี Multiplex Ligation-dependent Probe Amplification (MLPA) https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2712 <p><strong>ความเป็นมา:</strong> โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Spinal Muscular Dystrophy: SMA) เป็นโรคหายากที่พบในเด็ก ส่งผลให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัจจุบันมีการรักษาด้วยยีนบำบัด (gene therapy) อย่างไรก็ดี ยังพบความล่าช้าในการวินิจฉัยและเริ่มการรักษา เนื่องจากข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย ระยะเวลาการตรวจที่ยาวนาน และการเข้าถึงที่ยาก ส่งผลให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อรายงานระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นโรค SMA โดยวิธี dried blood spot ซึ่งเป็นวิธี PCR-based method และวิธี Multiplex Ligation Dependent Probe Amplification (MLPA) ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค SMA</p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">วิธีการศึกษา:</strong><span style="font-size: 0.875rem;"> เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลในผู้ป่วยเด็กแรกเกิด (อายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ขึ้นไป) ถึงอายุ 21 ปี ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค SMA ในโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลเครือข่ายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ส่งตัวอย่างเลือดมาตรวจยังโรงพยาบาลศิริราช โดยใช้วิธี dried blood spot และยืนยันผลการตรวจด้วยวิธี MLPA</span></p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย (เพศชาย 21 ราย และเพศหญิง 29 ราย) พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรค SMA ด้วยวิธี dried blood spot จำนวน 8 ราย ในจำนวนนี้ทั้ง 8 รายได้รับการยืนยันการวินิจฉัยด้วย MLPA และผลปรากฏว่าแสดงผลบวกเช่นเดียวกัน ค่ากลางของเวลานับจากวิเคราะห์ผลถึงรายงานผลการวินิจฉัยโรคโดยวิธี dried blood spot คือ 2 วัน (พิสัย 1–30 วัน) ขณะที่วิธี MLPA อยู่ที่ 14 วัน (พิสัย 1–20 วัน) (p value 0.001) การตรวจด้วย dried blood spot พบชนิดของ SMA ได้แก่ ชนิดที่ 1 จำนวน 3 ราย ชนิดที่ 2 จำนวน 4 ราย และชนิดที่ 3 จำนวน 1 ราย</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยวิธี dried blood spot ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าวิธี MLPA จึงอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยและเร่งรัดการเข้าถึงการรักษา</p> นีรา สารภี นิรมล เสรีเผ่าวงษ์ ณัฐระพี เกียรติวุฒินนท์ หนึ่งจิต โรจนวัฒน์ศิริเวช ภัคอร ตัณฑการ มีดี มีผลประไพ วิชญาภรณ์ เอมราช แซ่โง้ว กิ่งทอง อนุรัตน์ ฐิตพร ธรรมเจริญวิภาส อรณี แสนมณีชัย Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 114 129 การรักษาเนื้องอก germ cell ภายนอกสมองในเด็ก: ผลลัพธ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2958 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>เนื้องอก germ cell ภายนอกสมอง เป็นเนื้องอกที่พบน้อยในเด็ก แต่มีความสำคัญเนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต หรือส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ ผู้ป่วยสามารถมาด้วยอาการทางคลินิกที่หลากหลาย การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมีการปรับเปลี่ยนไป แต่ยังไม่เคยมีการประเมินผลการรักษารวมถึงยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยภายในสถาบันมาก่อน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาของเนื้องอก germ cell ภายนอกสมองในเด็ก</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: ทำการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอก germ cell ภายนอกสมอง โดยศึกษาลักษณะทางคลินิก ผลการรักษา และเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตของแต่ละลักษณะทางคลินิกด้วยวิธี log-rank test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษา 37 ราย อายุมัธยฐานเท่ากับ 3.3 ปี มีผู้ป่วยเพศหญิง (ร้อยละ 54.1) มากกว่าชาย (ร้อยละ 45.9) ผู้ป่วยส่วนมากถูกวินิจฉัยเป็น germ cell ภายนอกเซลล์สืบพันธุ์ ร้อยละ 70.3 โดยพบเนื้องอกที่บริเวณช่องอกมากที่สุด ร้อยละ 29.7 รองลงมาเป็นบริเวณหลังเยื่อบุช่องท้อง และก้นกบ ชนิดของเนื้องอกเป็นเนื้องอก yolk sac มากที่สุด ร้อยละ 32.4 อัตราการรอดชีวิต 5 ปี และอัตราการปลอดโรค 5 ปี เท่ากับร้อยละ 68.5 และร้อยละ 62.0 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วย log-rank test โดย p value &lt; 0.05 ถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 10 ปี มีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่ากลุ่มอายุอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p value &lt; 0.001) อาจเนื่องมาจากมักพบเนื้องอกชนิดที่มีความรุนแรงมากกว่าในกลุ่มอายุน้อย และผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในเซลล์สืบพันธุ์มีอัตราการรอดชีวิตมากกว่ากลุ่มเนื้องอกนอกเซลล์สืบพันธุ์ (p value 0.022)</p> <p><strong>สรุป</strong>: อัตราการรอดชีวิตของเนื้องอก germ cell ภายนอกสมองค่อนข้างดี แต่ในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 10 ปี และเนื้องอกนอกอวัยวะสืบพันธุ์ มีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี</p> กมลชนก นิธิพรศรี อังคณา วินัยชาติศักดิ์ Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 130 149 อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลอุดรธานี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2769 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคมะเร็งในเด็กที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโอกาสหายขาดสูงจากการรักษามาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวสูง (hyperleukocytosis) อาจจะไม่แสดงอาการ หรือมีอาการผิดปกติเช่น ซึม ปัสสาวะออกน้อย เป็นต้น การมีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตในระยะแรก จากข้อมูลการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าโอกาสหายขาดจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีอาการเม็ดเลือดขาวสูง ในผู้ป่วยเด็กชนิด acute lymphoblastic leukemia คิดเป็นร้อยละ 64.5 จากการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าอัตราการรอดชีพในผู้ป่วยเด็กกลุ่ม acute lymphoblastic leukemia ที่มีภาวะ hyperleukocytosis เมื่อเทียบกับไม่มีภาวะ hyperleukocytosis คิดเป็นร้อยละ 37.2 ต่อ 67.8 (p value &lt; 0.0001) ซึ่งจะเห็นว่าอัตราการรอดชีพจากงานวิจัยนี้ซึ่งเก็บข้อมูลในประเทศไทยต่ำกว่าข้อมูลที่เก็บในต่างประเทศ และโรงพยาบาลอุดรธานียังไม่เคยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมาก่อนจึงเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลอุดรธานี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study โดยรวบรวมข้อมูล ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็ก ที่เข้ารับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ที่โรงพยาบาลอุดรธานี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2562 โดยใช้ฐานข้อมูลเวชระเบียน โรงพยาบาลอุดรธานี</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็กทั้งสิ้น 22 ราย ผู้ป่วยมีอายุในขณะที่วินิจฉัยเฉลี่ย 6.3 ปี (0.3 – 14 ปี) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 59 ส่วนใหญ่เป็นชนิด B-ALL คิดเป็นร้อยละ 64 อาการและอาการแสดงที่พบมากที่สุดคืออาการตับม้ามโตโดยพบร้อยละ 95.5 รองลงมาคืออาการไข้และอาการเลือดออกผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 81.8 และ 54.5 ตามลำดับ ผลเลือดขณะวินิจฉัย พบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวเฉลี่ยคือ 210,000 cells/cu.mm. (±247,683.7) ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) 6.6 g/dL (±2.7) จำนวนเกล็ดเลือด 29,318 /cu.mm. (±17,038.8) ค่า lactate dehydrogenase 5,869 U/dL (±4,579.2) ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยในระยะเริ่มแรกของการรักษา คือ tumor lysis syndrome คิดเป็นร้อยละ 31.8 ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีพที่ 5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 68.2 โดยไม่พบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงอายุ เพศ จำนวนเม็ดเลือดขาว ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>จากผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่ชนิดลิมฟอยด์มีภาวะเม็ดเลือดขาวสูงมากผิดปกติ (hyperleukocytosis) ในผู้ป่วยเด็ก มีอัตราการรอดชีพที่ 5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 68.2 โดยไม่พบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงอายุ เพศ จำนวนเม็ดเลือดขาว ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว</p> พิชญานันท์ คู่วัจนกุล Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 150 165 การคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของผู้ป่วยเด็กโรคเบาหวานชนิดที่ 1 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2779 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็กและวัยรุ่นมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2-5 ต่อปีจากการศึกษาทั่วโลก เช่นเดียวกับในประเทศไทย ปัจจุบันพบมีผู้ป่วยแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.27 ต่อ 100,000 ราย ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 พบมีปัญหาด้านสุขภาพจิตในภายหลังมากกว่าเด็กสุขภาพดี คิดเป็นร้อยละ 30.56 และ 15.56 ตามลำดับ ดังนั้นการศึกษาภาวะสุขภาพจิตในผู้ป่วยจะช่วยให้สามารถเข้าถึงปัญหาสุขภาพจิตได้รวดเร็ว นำไปสู่การรักษาแบบองค์รวมในผู้ป่วยเด็กโรคเบาหวาน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยเด็กโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และปัจจัยต่างๆที่มีผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษารูปแบบ cross-sectional descriptive study ในผู้ป่วยเด็กโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อายุตั้งแต่ 4-16 ปีที่เข้ารับการรักษาในคลินิกต่อมไร้ท่อโรงพยาบาลชลบุรี เดือนตุลาคม พ.ศ.2566 - ตุลาคม พ.ศ. 2567 มีการเก็บข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการเจ็บป่วยและการรักษาของผู้ป่วย และตอบแบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties; SDQ) คัดกรองปัญหาด้านพฤติกรรม/อารมณ์ โดยผู้ปกครองและเด็กประเมินเอง ใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงในรูปแบบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือค่ามัธยฐานและร้อยละ, Chi-square test, Fisher’s exact test, linear regression analysis และ Pearson’s correlation</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> จากผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวณ 74 ราย มีอายุเฉลี่ย 10.6 ± 3.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.4 เมื่อใช้แบบสอบถาม SDQ คัดกรองปัญหาด้านพฤติกรรม/อารมณ์โดยผู้ปกครองและเด็กอายุ 11-16 ปีประเมินตนเอง พบว่ามีปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ 14.9 และร้อยละ 9.8 ตามลำดับ พฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนเป็นด้านที่มีปัญหามากที่สุด (ร้อยละ 36.5 และ 9.8 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วยเด็กโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือการเป็นโรคเบาหวานที่เป็นมานานมากกว่าเท่ากับ 3 ปี</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การคัดกรองสุขภาพจิตด้วยแบบประเมิน SDQ พบว่าเด็กโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีความเสี่ยงต่อปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม จึงควรเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง</p> สาวิณี เกื้อนุ้ย สมลักษณ์ ทองมีสี สุพิชฌาย์ ธรรมอิสระกุล Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 166 183 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพฤติกรรมทำร้ายตัวเองที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตาย ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2891 <p><strong>ความเป็นมา</strong>: พฤติกรรมทำร้ายตัวเองที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระยะยาว ปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยยังมีจำนวนจำกัด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาความชุกของพฤติกรรมทำร้ายตัวเองที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: การศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 11 - 15 ปี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่าง 1 พฤษภาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2566 เก็บข้อมูลทั่วไป แบบสอบถาม The Brief NSSI Assessment Tool, Patient health questionnaire for adolescent (PHQ-A), Resilience inventory 9 (RI-9), revised UCLA loneliness scale 6 (RULS-6) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: นักเรียนจำนวน 1,388 คน พบว่า 436 คน (ร้อยละ 31) มีพฤติกรรมการทำร้ายตนเอง ที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตาย ปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมดังกล่าวคือ เพศหญิง การเคยถูกล้อแกล้งรังแก การเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ภาวะซึมเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยวที่สูง และการมีความสามารถในการปรับตัวน้อย</p> <p><strong>สรุป</strong>: พฤติกรรมการทำร้ายตนเองที่ไม่ใช่เพื่อการฆ่าตัวตาพบได้สูงในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และสัมพันธ์กับปัจจัยหลายด้านโดยเฉพาะอาการซึมเศร้า</p> นิชนันท์ อัตระผดุง เฉลิมพงศ์ ธัญพิพัฒน์ Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 184 198 โรคหัวใจแต่กำเนิดในทารกแรกเกิดและเด็กเล็กที่พบบ่อยในทางเวชปฏิบัติ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2806 <p> โรคหัวใจแต่กำเนิด (congenital heart disease, CHD) เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างของหัวใจ (structural defect) โดยความผิดปกติเกิดขึ้นขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดาในช่วงที่มีการสร้างห้องหัวใจและหลอดเลือด อุบัติการณ์โรคหัวใจแต่กำเนิดในทารกของประเทศไทยอยู่ที่ 8-10 รายต่อทารกแรกเกิดมีชีพ 1,000 ราย มีทั้งชนิดที่ซับซ้อนและไม่ซับซ้อน ในหนึ่งตัวโรคก็มีหลายระดับความรุนแรงและ spectrum ที่หลากหลาย การทำความเข้าใจตัวโรคที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษา </p> ณัฐกานต์ ควรหาเวช Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 64 2 1 14