วารสารกุมารเวชศาสตร์ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP <p>วารสารกุมารเวชศาสตร์ (Thai Journal of Pediatrics) เป็นวารสารวิชาการทางการแพทย์ที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับกุมารเวชศาสตร์ เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ</p> th-TH veerachaiw@yahoo.com (พลตรี ศ. วีระชัย วัฒนวีรเดช) chalinya.pr@gmail.com (ชลิญญา ปรีการ) Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าด้วยการตรวจโดยวิธีโครมาโตกราฟีแบบแลกเปลี่ยนไอออนในเด็กทารกแรกเกิดไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2395 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> ค่าปกติของกรดอะมิโนในพลาสม่าของทารกมีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคพันธุกรรมเมแทบอลิก อย่างไรก็ตามข้อมูลค่าปกติของกรดอะมิโนในพลาสม่าในทารกแรกเกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังจำกัด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้ต้องการหาค่าปกติสำหรับกรดอะมิโนในพลาสม่าของทารกแรกเกิดครบกำหนดชาวไทยที่มีสุขภาพปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วิธีการศึกษา:</strong>ทารกแรกเกิดครบกำหนดสุขภาพปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมในการศึกษา จะได้รับการเจาะเลือด 2 มล.ในหลอดที่มีเฮพารินพร้อมกับการเจาะตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดด้วยกระดาษซับเลือดที่อายุ 48-72 ชั่วโมง ระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าจะตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบแลกเปลี่ยนไอออนพร้อมอนุพันธ์นินไฮดรินหลังคอลัมน์ ข้อมูลที่ได้มีการแจกแจงไม่ปกติจึงใช้เปอร์เซ็นไทล์ที่ 2.5 และ 97.5 ในการกำหนดช่วงค่าปกติของระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าของทารกแรกเกิด </p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ทารกแรกเกิดครบกำหนดสุขภาพปกติ 42 ราย (มัธยฐานอายุครรภ์ 38 สัปดาห์) เป็นชาย 22 ราย (ร้อยละ 52.4) เข้าร่วมการศึกษานี้ ระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าเปรียบเทียบกับการศึกษาในอดีตของประเทศไทยและค่าปกติของรายงานอื่นพบว่าบางชนิดมีความแตกต่างกันซึ่งอาจจะเป็นผลจากวิธีการวิเคราะห์ และกลุ่มอายุที่แตกต่างกันของแต่ละการศึกษา ค่ากรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นที่วัดได้ในการศึกษานี้มีความแปรปรวนมากกว่าชนิดอื่น การเปรียบเทียบกับช่วงค่ามาตรฐานจากรายงานอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่ากรดอะมิโนในพลาสมาในการศึกษานี้มีความจำเพาะกับกลุ่มประชากร </p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ค่าปกติสำหรับกรดอะมิโนที่ได้จากการศึกษานี้มีความสำคัญสำหรับใช้วินิจฉัยและดูแลรักษาโรคพันธุกรรมเมแทบอลิกในทารกแรกเกิดชาวไทย ความแตกต่างของระดับกรดอะมิโนในการศึกษานี้เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในอดีตสะท้อนให้เห็นผลของความแตกต่างจากวิธีการวิเคราะห์ และกลุ่มอายุ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่จะต้องมีข้อมูลระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าที่เป็นค่าปกติที่จำเพาะกับกลุ่มพื้นที่ที่มีลักษณะประชากรและปัจจัยแวดล้อมที่จำเพาะ</p> <p style="font-weight: 400;"> </p> อธิคม ไตรทิพย์อุดมชัย, รุ่งเพ็ชร ตั้งรัศมีประเสริฐ, อนิวัฒน์ จันแดง, กุลธิดา เวทีวุฒาจารย์, กุณฑล วิชาจารย์, ธนิน เหรียญไพโรจน์, สุชาอร แสงนิพันธ์กูล, กนกวรรณ อิ่มถวิล, อารีย์ รัตนทองคำ, กานดา ศรกายสิทธิ์, วรฉัตร เลิศอิทธิพร Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2395 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ของค่าการพยากรณ์ของคอร์เรคเตดแอนไอออนแกปและการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กวิกฤต https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2464 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>ตัวพยากรณ์การเสียชีวิตในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงผลการรักษาของผู้ป่วย คอร์เรคเตดแอนไอออนแกปถือเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพแบบดั้งเดิม สามารถทำได้ง่าย และถูกใช้เป็นตัวทำนายในผู้ป่วยวิกฤตผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามการศึกษาในผู้ป่วยเด็กยังมีค่อนข้างน้อย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคอร์เรคเตดแอนไอออนแกปกับการเสียชีวิต</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>observative study ศึกษาในเด็กอายุระหว่าง 1 เดือนถึง 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็น โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน โรคประจำตัว ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ค่าความเป็นกรดด่าง ระดับเกลือแร่ในเลือด อัลบูมิน คอร์เรคเตดแอนไอออนแกป และแลคเตท) ตั้งแต่แรกรับ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยทั้งหมด 235 ราย มีค่าอายุมัธยฐานที่ 25 เดือน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 3.8 แบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มผู้รอดชีวิตและผู้ไม่รอดชีวิต พบว่า อายุ เพศ เหตุผลในการเข้ารับการรักษา และโรคประจำตัวไม่มีความแตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม กลุ่มที่ไม่รอดชีวิตมีคะแนน PRISM III (p value 0.023) คอร์เรคเตดแอนไอออนแกป (p value 0.009) และระดับแลคเตต (p value 0.001) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ในการวิเคราะห์พหุตัวแปร ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคอร์เรคเตดแอนไอออนแกปกับอัตราการเสียชีวิต</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> คอร์เรคเตดแอนไอออนแกปมีค่าสูงในกลุ่มผู้ไม่รอดชีวิต แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ</p> กัญฑิมาศ สิทธิกูล Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2464 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาย้อนหลังเรื่องผลกระทบของการใช้แอมเฟตามีนในหญิงตั้งครรภ์ต่อพัฒนาการเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2411 <p><strong>ความเป็นมา</strong>: แอมเฟตามีนในครอบครัวส่งผลกระทบต่อเด็กหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับผลระยะยาวยังมีข้อจำกัดและจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>ศึกษาพัฒนาการของเด็กที่เกิดจากมารดาที่มีและไม่มีประวัติใช้แอมเฟตามีน เพื่อให้เข้าใจผลกระทบและแนวทางดูแลที่เหมาะสม</p> <p><strong>วิธีการ</strong>: เป็นการศึกษาย้อนหลังที่ใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเด็กที่มีทะเบียนบ้านในจังหวัดอุตรดิตถ์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2565 การรวบรวมข้อมูลใช้ผลจากคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ (the Developmental Surveillance and Promotion Manual, DSPM) ของศูนย์ข้อมูลสุขภาพอุตรดิตถ์ (Health Data Center, HDC) และเปรียบเทียบทางสถิติโดยใช้ risk regression ภายใต้ Poisson distribution เพื่อนำเสนอ effect size ด้วย risk ratio ในพัฒนาการ 5 ด้าน</p> <p><strong>ผลลัพธ์:</strong> กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็ก 8,453 คนที่ได้รับการดูแลแรกเกิดที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ และ 6,860 คนมีบันทึก DSPM ใน HDC อุตรดิตถ์ โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มตามประวัติการเสพแอมเฟตามีนของมารดา ได้แก่ 6,798 คนที่มารดาไม่มีประวัติเสพ และ 62 คนที่มารดามีประวัติเสพแอมเฟตามีน (48 คนมีตรวจพบแอมเฟตามีนในปัสสาวะ และ 14 คนตรวจไม่พบ) เด็กที่มารดามีประวัติการเสพมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าและแสดงพัฒนาการล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญเมื่ออายุ 9 เดือน รวมถึงเด็กที่ไม่พบแอมเฟตามีนในปัสสาวะเมื่อแรกเกิดก็ยังแสดงพัฒนาการล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญในทุกด้าน (3.31-7.33 เท่า) เทียบกับกลุ่มที่มารดาไม่มีประวัติการเสพ ในขณะที่เด็กที่มีผลตรวจแอมเฟตามีนเป็นบวกแสดงความล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญในด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก การสื่อภาษา และสังคม-การช่วยเหลือตนเอง</p> <p><strong>สรุป:</strong> จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กที่เกิดจากมารดาที่มีประวัติการใช้แอมเฟตามีนมีพัฒนาการล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญที่อายุ 9 เดือน แม้ว่าผลการตรวจปัสสาวะแอมเฟตามีนแรกเกิดจะเป็นลบ</p> ธิดารัตน์ พันธุ์แก้ว, จิตราภรณ์ ปัทมานุกูล Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2411 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ผลการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลพระจอมเกล้าตามแนวทางการรักษาปี ค.ศ. 2004 และ ค.ศ. 2022 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2470 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> ครึ่งหนึ่งของทารกแรกเกิดครบกำหนดทั่วโลกพบว่ามีภาวะตัวเหลือง ตามที่สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาผู้ป่วยตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในปี ค.ศ. 2022 และโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลการรักษาภายหลังการเปลี่ยนการใช้แนวทางการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ปี ค.ศ. 2004 มาเป็นปี ค.ศ. 2022</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง โดยทำการทบทวนเวชระเบียนของทารกที่เกิดระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2565 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 3,000 คน โดยแบ่งกลุ่มดังนี้ ผู้ป่วยที่เกิดก่อน 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ใช้แนวทางการรักษาของปี ค.ศ. 2004 จำนวน 1,500 คน และหลัง 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ใช้แนวทางการรักษาของปี ค.ศ. 2022 จำนวน 1,500 คน การวัดค่าตัวเหลืองด้วยการวัดระดับไมโครบิลิรูบิน จากการเจาะเลือดส้นเท้า</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยที่ใช้แนวทางการรักษาของปี ค.ศ. 2004 จำนวน 1,500 คน และใช้แนวทางการรักษาของปี ค.ศ. 2022 จำนวน 1,500 คน มีจำนวนวันนอนโรงพยาบาล 3.37±1.25 และ 3.15±0.99 วัน (p value &lt;0.01) อัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยเรื่องภาวะตัวเหลืองในทารกเเรกเกิด ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 1.5 (p value 1.00) อัตราการส่องไฟ ร้อยละ 18.2 และ 15.3 (p value 0.40) และอัตราการรักษาด้วยการถ่ายเปลี่ยนเลือด ร้อยละ 0 และ 0.1 (p value 1.00) ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ภายหลังการเปลี่ยนการใช้แนวทางการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ปี ค.ศ. 2004 มาเป็น ปี ค.ศ. 2022 ที่เปลี่ยนเกณฑ์ค่าบิลิรูบินตามอายุของทารกเป็นชั่วโมง ที่ใช้ในการเริ่มและสิ้นสุด การรักษาด้วยการส่องไฟและการถ่ายเปลี่ยนเลือดซึ่งเกณฑ์ที่ใช้เริ่มต้นการรักษาจะสูงกว่าเกณฑ์เดิมในทุกอายุครรภ์ของทารกขณะคลอด พบว่ามีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยลง แต่มีอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยเรื่องภาวะตัวเหลืองในทารกเเรกเกิด อัตราการส่องไฟ และอัตราการรักษาด้วยการถ่ายเปลี่ยนเลือดไม่ต่างจากเดิม</p> นลินพร ทัตตากร Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2470 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยภาวะลำไส้เน่าอักเสบในทารกเกิดก่อนกำหนด https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2660 <p><strong>ความเป็นมา</strong>: ภาวะลำไส้เน่าอักเสบเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกเกิดก่อนกำหนดเสียชีวิต การหาปัจจัยสัมพันธ์กับการเกิดลำไส้เน่าอักเสบระยะที่ 3 ที่จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดอาจช่วยให้ได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น และทำให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดลำไส้เน่าอักเสบระยะที่ 3ในทารกเกิดก่อนกำหนด ที่มีภาวะลำไส้เน่าอักเสบ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: ทำการศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะลำไส้เน่าอักเสบระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 131 คน เก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลทางคลินิก ผลตรวจห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะลำไส้เน่าอักเสบระยะที่ 3 ด้วยสถิติ multivariable logistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นลำไส้เน่าอักเสบทั้งหมด 131 รายมีทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีลำไส้เน่าอักเสบระยะที่ 3 จำนวน 38 ราย ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดลำไส้เน่าอักเสบระยะที่ 3 ที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด ได้แก่ ค่าเกล็ดเลือดในวันที่วินิจฉัยวันแรกโดยมี cut- off ที่ &lt; 100,000 /cu.mm. (OR 6.0, 95%CI 1.2 – 30.1) ค่าอัลบูมินในเลือดในวันที่วินิจฉัยวันแรกมี cut-off ที่ &lt; 2.8 g/dL (OR 4.9, 95%CI 1.1 – 21.4) และค่า APGAR นาทีที่ 5 ที่น้อยกว่า7 (OR 8.5, 95%CI 1.1 – 69.7) อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มลำไส้เน่าอักเสบระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 58</p> <p><strong>สรุป</strong>: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดลำไส้เน่าอักเสบระยะที่ 3 ที่ต้องการรักษาโดยการผ่าตัด ได้แก่ ค่าเกล็ดเลือด ระดับอัลบูมินในเลือด ในวันแรกที่ได้รับการวินิจฉัยลำไส้เน่าอักเสบ และ APGAR score นาทีที่ 5 ที่ต่ำ</p> ชนากานต์ สิทธิสมบูรณ์, พิชญา ถนอมสิงห์ Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2660 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจน (Hypoxic-ischemic encephalopathy) ในทารกแรกเกิด https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2000 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> ภาวะสมองขาดออกซิเจนจากการขาดเลือด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บทางสมองและความพิการในทารกแรกเกิด โดยปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ภาวะทารกขาดออกซิเจนในครรภ์และปัจจัยระหว่างคลอด การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจนจะช่วยพัฒนาวิธีการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยแบบย้อนหลัง (retrospective study) โดยทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองขาดออกซิเจน และเข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Fisher’s exact test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong>ทารกแรกเกิดที่เข้ารับบริการในห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด จำนวน 28 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 42.9 และเพศหญิง ร้อยละ 57.1 น้ำหนักแรกเกิดระหว่าง 2,501 - 4,000 กรัม ร้อยละ 71.4 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเพศของทารก วิธีการคลอด โรคของมารดา น้ำหนักแรกเกิด คะแนน APGAR score นาทีที่ 5 อัตราการเต้นของหัวใจนาทีที่ 5 หรือประเภทของการช่วยหายใจ แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ (p value 0.003) ซึ่งทารกที่มีการติดเชื้อร่วม และช็อกมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะสมองขาดออกซิเจนจากการขาดเลือดขั้นรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น</p> <p><strong>สรุป:</strong> ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจนจากการขาดเลือดในทารกแรกเกิด</p> ปณิตา จันทรา, สมรัก ครองยุทธ, เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์, สายสินธ์ กอมณี, กัญจน์รัตน์ สุวรรณโกฏ, ภิชญาภา ชาวชายชม, ดรุยาลักษม์ สายแวว, ชนัญชิดา ทองเกลี้ยง Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2000 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลในหน่วยผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิประจำภาคเหนือประเทศไทย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2684 <p><strong>ความเป็นมา</strong>: การติดเชื้อในโรงพยาบาล (healthcare associated infection, HAI) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยในทารกที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่เพิ่มภาวะทุพพลภาพและอัตราการเสียชีวิตให้แก่ทารกที่เข้ารับการรักษา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อในโรงพยาบาล ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อในโรงพยาบาล และ รูปแบบของเชื้อก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลของทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าระยะเวลา 1 ปี เก็บข้อมูลในทารกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2566 จนถึง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: งานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 624 ราย โดยพบการติดเชื้อในโรงพยาบาลจำนวน 107 ครั้งเหตุการณ์ คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 17.2 ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้แก่ ภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิด (คะแนนแอพการ์ ที่ 5 นาทีน้อยกว่า 7) (aHR 2.44, p value 0.03), การใส่สายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือมากกว่า 7 วัน (aHR 1.88, p value 0.04) และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้น (aHR 0.97, p value 0.02) ประเภทการติดเชื้อที่พบมากที่สุด ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือดแบบปฐมภูมิ (primary bloodstream infection) ร้อยละ 35.5 ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator associated pneumonia, VAP) ร้อยละ 22.4 และการติดเชื้อในกระแสเลือดที่สัมพันธ์กับสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ร้อยละ 17.8 โดยไม่พบเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุ ร้อยละ 55.1 ในกรณีพบเชื้อ เชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุการติดเชื้อในโรงพยาบาลมากที่สุด คือ <em>Acinetobacter baumannii</em> ร้อยละ 24.3 coagulase-negative Staphylococcus ร้อยละ 7.5 และ <em>Escherichia coli</em> ร้อยละ 3.1</p> <p><strong>สรุป</strong>: อุบัติการณ์การติดเชื้อในโรงพยาบาลในทารกที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตพบร้อยละ 17.2</p> ธัญสินี อภิพรพันธุ์, ชลธิชา เลาหจีรพันธุ์, สุชาดา เรืองเลิศพงศ์ Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2684 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยเสี่ยงต่อการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของโรคไอกรนในเด็กจังหวัดปัตตานี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2610 <p class="Tahoma" style="margin-bottom: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; line-height: normal;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">ความเป็นมา</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">:</span></strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;"> โรคไอกรนเป็นโรคที่พบได้ทุกกลุ่มอายุและพบความรุนแรงมากในกลุ่มเด็กเล็ก จากเดิมที่อัตราการได้รับวัคซีนไอกรนในเด็กอย่างน้อย </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">1 <span lang="TH">เข็มของจังหวัดปัตตานีอยู่ที่ร้อยละ </span>73 <span lang="TH">ขณะค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเป็นร้อยละ </span>88 <span lang="TH">และยังลดลงอีก ตั้งแต่ปี พ.ศ. </span>2565 <span lang="TH">เป็นต้นมา อุบัติการณ์การติดเชื้อไอกรนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่สิงหาคม </span>2566 <span lang="TH">เป็นต้นมา และมีการระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว การศึกษาปัจจัยที่ช่วยทำนายความเสี่ยงต่อการเป็นไอกรนที่มีภาวะแทรกซ้อนต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล จะช่วยให้การวางแผนป้องกันและการดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น</span></span></p> <p class="Tahoma" style="margin-bottom: 0cm; line-height: normal;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">วัตถุประสงค์</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">:</span></strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;"> เพื่อศึกษาลักษณะที่ทำนายความเสี่ยงต่อการต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลของเด็กที่เป็นโรคไอกรน</span></p> <p class="Tahoma" style="margin-bottom: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; line-height: normal;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">วิธีการศึกษา</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">:</span></strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;"> เป็นการศึกษา </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">explorative prognostic factor research <span lang="TH">แบบ </span>retrospective <span lang="TH">เก็บข้อมูลผู้ป่วยเด็ก </span>(<span lang="TH">อายุ</span> &lt;15 <span lang="TH">ปี</span>) <span lang="TH">ที่ได้รับการยืนยันวินิจฉัยติดเชื้อไอกรน ในจังหวัดปัตตานี ระหว่างสิงหาคม พ.ศ. </span>2566<span lang="TH"> ถึงกรกฎาคม พ.ศ.</span> 2567<span lang="TH"> ข้อมูลประชากร ประวัติการได้รับวัคซีนไอกรน อาการแสดง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถูกเก็บรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง และกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ประวัติการได้รับวัคซีนไอกรน อาการแสดงและการเกิดปอดอักเสบ </span>(n, % <span lang="TH">และ</span> mean±SD)<span lang="TH"> ด้วย </span>exact probability test <span lang="TH">และ </span>t-test<span lang="TH"> วิเคราะห์ลักษณะปัจจัยทำนายร่วมหลายตัวแปรด้วย </span>multivariable logistic regression <span lang="TH">และนำเสนอด้วย </span>multivariable odds ratio <a name="_Hlk181540036"></a>(mOR)</span></p> <p class="Tahoma" style="margin-bottom: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; line-height: normal;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">ผลการศึกษา</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">:</span></strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;"> ผู้ป่วยเด็กได้รับการยืนยันวินิจฉัยไอกรน </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">333 <span lang="TH">ราย เพศชายร้อยละ </span>56.7 <span lang="TH">อายุเฉลี่ย </span>3.3 <span lang="TH">ปี มีภาวะปอดอักเสบร้อยละ </span>17.7 <span lang="TH">และต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในร้อยละ </span>42 <span lang="TH">ลักษณะการทำนายปัจจัยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ได้แก่ อายุน้อย ไข้ ร้องกลั้น ไอเป็ชุด อาเจียนหลังไอ ปอดอักเสบ ภาวะเม็ดเลือดขาวสูง </span>(&gt;25,000 cells/cu.mm.)<span lang="TH"> เม็ดเลือดชนิดลิมโฟไซด์สูง</span> (&gt;60%)<span lang="TH"> และภาวะเกร็ดเลือดสูง </span>(&gt;450,000 /cu.m.) <span lang="TH">วิเคราะห์ลักษณะปัจจัยทำนายร่วมหลายตัวแปร พบปัจจัยเสี่ยงต่อการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ได้แก่ มีไข้ ไอเป็นชุด ปอดอักเสบ การมีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซด์สูง และภาวะเกร็ดเลือดสุง </span></span></p> <p class="Tahoma" style="margin-bottom: 0cm; text-align: justify; text-justify: inter-cluster; line-height: normal;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">สรุป</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;">:</span></strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New',serif;"> เด็กที่มีไข้ ปอดอักเสบ เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สูง และมีภาวะเกร็ดเลือดสูง มีแนวโน้มเสี่ยงต่ออาการรุนแรงที่ต้องรับรักษาตัวในโรงพยาบาล </span></p> กาญจนี อรรถเมธากุล Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2610 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่โรงพยาบาลมุกดาหาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2683 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong>โรคไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever, DHF) เป็นโรคที่สำคัญ ทั้งด้านการวินิจฉัยและการดูแลรักษา การทราบปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกี จะช่วยในการเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาอาการ อาการแสดงและปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่โรงพยาบาลมุกดาหาร</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาเชิง prognostic factor research แบบ retrospective observational design ในผู้ป่วยเด็กอายุมากกว่า 1 เดือน ถึง 15 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever, DHF) ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมุกดาหาร ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ศึกษาผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่ไม่มีภาวะช็อกและมีภาวะช็อกด้วยสถิติ Chi-square test และวิเคราะห์ลักษณะพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกด้วย risk ratio จาก multivariate logistic regression analysis</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกี ทั้งหมด 120 ราย มีผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อก 34 ราย(ร้อยละ 28.3) กลุ่มอายุ 10-13 ปี มากที่สุด ร้อยละ 46.7 มีอาการไข้ ร้อยละ 100.0 รองลงมาคืออาการคลื่นไส้และอาเจียน ร้อยละ 35.0 และ 34.2 ตามลำดับ ปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกี ได้แก่ ภาวะโภชนาการ (risk ratio [RR] 11.8, 95% CI 1.4-103.6, p value 0.03) เลือดออกไรฟัน (RR 16.7, 95% CI 1.2-233.8 , p value 0.04) และ pleural effusion (RR 14.9, 95% CI 2.2 -101.1, p value 0.01)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีควรเฝ้าระวังและรักษาอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติ เลือดออกไรฟันและ pleural effusion</p> สุวีณา สุพร Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2683 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวโรงพยาบาลปัตตานี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2476 <p><strong>ความสำคัญ</strong><strong>:</strong> โรคปอดอักเสบเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็กอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี และโรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวในเด็กในจังหวัดปัตตานี และมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบในเด็กสูงที่สุดในเขตสุขภาพเดียวกัน การทราบปัจจัยที่อาจมีผลต่อความรุนแรงของโรคและเพิ่มโอกาสเสี่ยงเสียชีวิต จะมีประโยชน์ในการเฝ้าระวัง และพัฒนาการดูแลรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบรุนแรงที่มีภาวะหายใจล้มเหลว</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาเชิง prognostic factor research รูปแบบ retrospective case-control design ที่กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี ศึกษาในผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 15 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอักเสบและมีภาวะหายใจล้มเหลวที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2566 ค้นหาข้อมูลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเสียชีวิต (case) และสุ่มผู้ป่วยเด็กที่ไม่เสียชีวิต (control) ในวันที่พบ case จากฐานข้อมูลเดียวกัน สืบค้นข้อมูลจากบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย ใบส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชน และ จาก program HosXP ของโรงพยาบาล เปรียบเทียบปัจจัยทั้ง 2 กลุ่มด้วย exact probability test และวิเคราะห์ลักษณะพยากรณ์ด้วย generalized linear model (risk difference (RD), 95% confidence interval [CI])</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและมีภาวะหายใจล้มเหลวที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 70 ราย เสียชีวิต 10 ราย (ร้อยละ 14.3) มีลักษณะที่อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิต 15 ปัจจัย เมื่อวิเคราะห์แบบ multivariable regression แล้ว ปัจจัยที่ยังคงมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (RD 0.39, 95% CI 0.054, 0.734) การมีภาวะเลือดเป็นกรดตั้งแต่แรกรับ (VBG pH &lt;7.3) (RD 0.24, 95% CI 0.044, 0.439) ภาวะคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดตั้งแต่แรกรับ (VBG pCO2 &gt;50 mEq/L) (RD 0.44, 95% CI 0.071, 0.810)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวและใช้เครื่องช่วยหายใจ มีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้นหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีภาวะเลือดเป็นกรด หรือ มีภาวะคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดตั้งแต่แรกรับ ดังนั้นควรให้การรักษาอย่างทันท่วงที และเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยกลุ่มนี้</p> ศุภรัตน์ พรหมสาลี Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2476 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของยาขับธาตุเหล็ก deferasirox ในผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด: การศึกษา 2 ปีในโรงพยาบาลลำพูน https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2468 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย ชนิดพึ่งพาการให้เลือดจะมี serum ferritin ในร่างกายสูงจากการได้รับเลือดเป็นประจำซึ่งจะส่งผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ ในระยะยาวจำเป็นต้องใช้ยาขับธาตุเหล็กในการลดระดับธาตุเหล็กในร่างกาย โรงพยาบาลลำพูนได้รับสนับสนุนยาขับธาตุเหล็ก deferasirox จากโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 แต่ยังไม่มีการศึกษาประสิทธิผลการใช้ยา </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาขับธาตุเหล็ก deferasirox ในการลด serum ferritin และการเปลี่ยนแปลงของ serum ferritin ในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยได้รับยาขับธาตุเหล็กชนิดอื่น ๆ มาก่อนเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา deferasirox เป็นยาขับธาตุเหล็กชนิดแรก</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ชนิดพึ่งพาการให้เลือดในโรงพยาบาลลำพูนที่มี serum ferritin มากกว่า 1000 ng/mL และได้รับยา deferasirox เป็นเวลา 2 ปี จำนวน 37 ราย รวบรวมขนาดยาที่ใด้รับ serum ferritin ทุก 3 เดือน และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่าหลังจากรับยา 12 และ 24 เดือน กลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดมีระดับ serum ferritin ไม่แตกต่างกับช่วงเริ่มรับยาในทางสถิติ (p value 0.962 และ p value 0.724 ตามลำดับ) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาขับธาตุเหล็กชนิดอื่น ๆ มาก่อนได้รับยา deferasirox มีระดับ serum ferritin ไม่แตกต่างกับช่วงเริ่มรับยาในทางสถิติ (p value 0.501 และ p value 0.686 ตามลำดับ) เช่นเดียวกันกลุ่มผู้ป่วยได้รับยา deferasirox ครั้งแรกมีระดับ serum ferritin ไม่แตกต่างกับช่วงเริ่มรับยาในทางสถิติ (p value 0.301 และ p value 0.936 ตามลำดับ) อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบบ่อยคือการเพิ่มของค่าเอนไซม์ตับ </p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ยา deferasirox สามารถคงระดับ serum ferritin ไม่ให้สูงขึ้นในช่วง 24 เดือนแรกของการใช้ยาในผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ชนิดพึ่งพาเลือดควบคู่กับการรับเลือดอย่างสม่ำเสมอ </p> รุจีรัตน์ โกศลศศิธร Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2468 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ในโรงพยาบาลหาดใหญ่ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2681 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็กโดยมีอุบัติการณ์ร้อยละ 40 ของโรคมะเร็งในเด็กไทยทั้งหมด ปัจจุบันอัตราการรอดชีวิต 5 ปี เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัดที่แพร่หลายมากขึ้น พบอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในช่วงให้ยาเคมีบำบัดระยะชักนำให้โรคสงบ (induction chemotherapy) เมื่อเทียบกับการให้ยาเคมีบำบัดระยะอื่น ๆ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อทราบอัตราการเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบ และศึกษาปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ ในโรงพยาบาลหาดใหญ่</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>ศึกษาโดยการสังเกตแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปีที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหาดใหญ่ตั้งแต่ เดือน สิงหาคม พ.ศ.2554 - เมษายน พ.ศ.2564 เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา หาอัตราการเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบ สาเหตุของการเสียชีวิต วิเคราะห์เปรียบเทียบอาการและอาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างให้ยาเคมีบำบัด เพื่อหาปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยทั้งหมด 197 ราย เป็นเพศชาย 109 ราย (ร้อยละ 55) พบกลุ่มอายุ 4-10 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 43.7) อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย คือไข้ (ร้อยละ 79.2) ตับโต (ร้อยละ 74.6) ต่อมน้ำเหลืองโต (ร้อยละ 62.4) ม้ามโต (ร้อยละ 59.4) และซีด (ร้อยละ 25.9) อัตราการตายในระยะชักนำให้โรคสงบคิดเป็นร้อยละ 14.7 สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญคือการติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 79.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับเกล็ดเลือดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 /ลบ.มม. โดยมีความเสี่ยงเพิ่ม 3.6 เท่าเมื่อเทียบกับระดับเกล็ดเลือดที่มากกว่า 20,000 /ลบ.มม. (95% CI 1.15-11.60; p value 0.028) การติดเชื้อราแอสเปอจิลัสแบบรุกรานโดยมีความเสี่ยงเพิ่ม 64.1 เท่าเทียบกับเมื่อไม่มีการติดเชื้อราแอสเปอจิลัสแบบรุกราน (95% CI 6.24-657.96; p value 0.001) การติดเชื้อในกระแสเลือดโดยมีความเสี่ยงเพิ่ม 32.043 เท่าเทียบกับเมื่อไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด (95% CI 7.77-132.17; p value 0.001) </p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>อัตราการตายในระยะชักนำให้โรคสงบคิดเป็นร้อยละ 14.7 การติดเชื้อคือสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญที่สุด ระดับเกล็ดเลือดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 /ลบ.มม. การติดเชื้อราแอสเปอจิลัสแบบรุกราน และการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ ในโรงพยาบาลหาดใหญ่</p> ณัจวาย์ ยุทธสมภพ, นิชานันท์ พานิชนันโท Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2681 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้เรื่องภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2492 <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>การสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต การให้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันภาวะนี้ได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อประเมินการได้รับความรู้หลังรับชมสื่อวีดิทัศน์เรื่องภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การวิจัยกึ่งทดลอง โดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีที่เข้ารับบริการที่คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ทำแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กจำนวน 36 ข้อ ก่อนและหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลัง รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคะแนนก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>จากผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 50 ราย พบว่า ร้อยละ 90 มีความรู้เรื่องภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กเพิ่มขึ้น คะแนนหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับคะแนนก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์ (32.14 ± 2.19 และ 25.86 ± 3.88 คะแนน p &lt;0.001) และไม่พบปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การรับชมสื่อวีดิทัศน์ที่จัดทำขึ้นช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> สุธาสินี เหล่าศักดิ์ชัย, ปวีณา วิจักษณ์ประเสริฐ Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2492 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดครั้งแรกในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2717 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด (DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดครั้งแรกหลังจากวินิจฉัย ในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อายุ 1-20 ปี ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 และ 31 ตุลาคม 2567 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Kaplan Meier curve และ log rank test เพื่อเปรียบเทียบระยะปลอดเหตุการณ์ DKA ส่วน multivariate cox proportional hazard model ใช้หาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ DKA ครั้งแรก</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 120 คน มี 59 คน (ร้อยละ 49.2) เกิดภาวะ DKA ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ DKA ครั้งแรกหลังจากวินิจฉัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ดัชนีมวลกายตามอายุและเพศ (AHR 0.52, 95%CI: 0.35, 0.78) ระดับน้ำตาลสะสม (AHR 1.21, 95%CI: 1.04, 1.41) การบริหารอินซูลินแบบ basal bolus เปรียบเทียบกับ conventional/modified (AHR 0.33, 95%CI: 0.15, 0.70) และตรวจติดตามที่คลินิกสม่ำเสมอเปรียบเทียบกับไม่สม่ำเสมอ (AHR 0.42, 95%CI: 0.18, 0.96) โดยมีค่ามัธยฐานของระยะปลอดภาวะ DKA อยู่ที่ 39 เดือน (95%CI: 30.0, 44.5) -อัตราการปลอดภาวะ DKA 1 และ 3 ปี คือ ร้อยละ 84.1 และ 74.5 ตามลำดับ อัตราการปลอดภาวะ DKA ใน 3 ปี ระหว่างผู้ป่วยที่มี HbA1c ≤ 9% และ HbA1c &gt; 9% คือ ร้อยละ 97.3 (95%CI: 92.2, 100) และร้อยละ 65.4 (95%CI: 55.8, 76.7) ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value &lt;0.001) </p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ดัชนีมวลกายตามอายุและเพศต่ำ ระดับน้ำตาลสะสมสูง การบริหารอินซูลินแบบ conventional/modified และการตรวจติดตามที่คลินิกไม่สม่ำเสมอเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ DKA ครั้งแรกหลังจากวินิจฉัย ผู้ป่วยควรได้รับการบริหารอินซูลินแบบ basal bolus มาตรวจระดับน้ำตาลสะสมและติดตามที่คลินิกสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะ DKA โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายตามอายุและเพศที่ต่ำลง และระดับน้ำตาลสะสมที่สูงขึ้น</p> เลอลักษณ์ วิทยาประภากร Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2717 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700