https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/issue/feed ยโสธรเวชสาร 2025-06-13T14:41:57+07:00 นพ.บพิตร สัสสี academicyhos@gmail.com Open Journal Systems <p style="margin: 0cm;"><strong>ยโสธรเวชสาร </strong>เป็นวารสารวิชาการจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นเวทีเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยแก่ผู้ที่อยู่ในวงการสาธารณสุข มีความยินดีรับลงพิมพ์บทความวิชาการ ตลอดจนบทความด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านการแพทย์ พยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาธารณสุขทั้งในและนอกองค์กร รวมทั้งผู้สนใจสืบค้นข้อมูล</p> <p style="margin: 0cm;"> </p> <p style="margin: 0cm;"><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>เพื่อเผยแพร่และฟื้นฟูผลงานทางวิชาการและงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข</p> https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3195 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลยโสธร 2025-05-23T15:23:02+07:00 วรัญญา ศรีมารักษ์ Srimarakwaranya31@gmail.com จุฬาภรณ์ นิลภูมิ Srimarakwaranya31@gmail.com นิภารัตน์ อาจคำพันธ์ Srimarakwaranya31@gmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลยโสธร</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การศึกษานี้ดำเนินการระหว่าง 6 มกราคม 2565 – 31 ตุลาคม 2565 ดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ และระยะที่ 4 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ (1) ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 56 คน และผู้ดูแลเด็ก 56 คน (2) พยาบาลวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ (1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบและการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกกฤติ PEWS (2) โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาล ตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบบันทึกตัวชี้วัด (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร ทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ 0.81 (3) แบบวัดความรู้ของบุคลากร มีค่าความยากง่ายรวมเท่ากับ 0.77 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย ทดสอบความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ ได้ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ paired t-test&nbsp;</p> <p><strong>ผลการศึกษา : </strong>1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ประกอบด้วย (1) แผนการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ (2) โปรแกรมการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคปอดอักเสบของผู้ดูแลเด็ก (3) การคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง (PEWS) และ (4) โปรแกรมการวางแผนการจำหน่าย โดยใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย (4.1) การประเมินปัญหาและความต้องการการดูแลภายหลังการจำหน่าย (4.2) การวินิจฉัยปัญหาภายหลังการดูแลภายหลังจำหน่าย (4.3) การกำหนดแผนการจำหน่ายตาม D-Method (4.4) การปฏิบัติตามแผนการจำหน่าย และ (4.5) การประเมินผล</p> <p>2) ผลลัพธ์ของรูปแบบฯ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก (&nbsp;= 4.73, S.D. = 0.15) และการปฏิบัติตามแนวทางการดูแล อยู่ช่วงร้อยละ 91.07 ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ ได้แก่ จำนวนครั้งของย้าย ICU โดยไม่ได้วางแผน ภาวะการหายใจล้มเหลว และการกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วันลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (= 4.84, S.D. = 0.14) ความรู้ของผู้ดูแลเด็กหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา (&nbsp;ก่อน = 8.83, &nbsp;หลัง = 16.38) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 &nbsp;</p> <p><strong>สรุป : </strong>ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ควรนำแนวทางการพัฒนาไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ</p> 2025-05-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3196 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของระยะเวลารอคอยการผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก ที่เข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลยโสธร 2025-05-23T15:44:12+07:00 เกื้อกูล พิทักษ์ราษฎร์ sumaetai@hotmail.com สถาพร มุ่งทวีพงษา sumaetai@hotmail.com จิรวรรณ ศิลธรรม sumaetai@hotmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> กระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การรักษาโดยการผ่าตัดหลังเกิดเหตุเร็วที่สุดเป็นการรักษาที่จะช่วยลดภาระแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิต เพิ่มอัตราการกลับมามีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลังเกิดเหตุล่าช้า</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของระยะเวลารอคอยการผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก ที่เข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลยโสธร</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจำนวนทั้งสิ้น 67 ราย แบ่งกลุ่มเป็นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมง (n=41) และผู้ที่ได้รับการผ่าตัดนานกว่า 48 ชั่วโมง (n=26) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-square test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และ Mann-Whitney U test สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ จากนั้นวิเคราะห์แบบพหุตัวแปรด้วย Logistic regression &nbsp;</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> &nbsp;พบว่าปัจจัยก่อนเข้ารับการดูแลรักษาที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลารอคอยการผ่าตัด ได้แก่ การมีโรคประจำตัว (OR = 6.84, 95% CI: 1.17-39.96) การไม่เข้ารับการรักษาทันทีหลังบาดเจ็บ (OR = 3.81, 95% CI: 1.18-12.37) และระยะเวลาจากที่เกิดเหตุถึงโรงพยาบาลยโสธรนานเกิน 3 ชั่วโมง (OR = 4.67, 95% CI: 1.45-15.02) ส่วนปัจจัยระหว่างการดูแลรักษาที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความพร้อมของผู้ป่วย (OR = 0.24, 95% CI: 0.07-0.82) และการให้บริการตามแผนผ่าตัด (p&lt;0.001) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ ควรพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการเข้ารับการรักษาทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย และปรับปรุงระบบบริการผ่าตัดเพื่อลดปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการตามแผน</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong>:ควรพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการเข้ารับการรักษาทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย และปรับปรุงระบบบริการผ่าตัดเพื่อลดปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการตามแผน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> 2025-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3233 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2025-06-04T16:30:30+07:00 หรรษา คิดเข่ม giggyonny@gmail.com <p><strong>ความสำคัญ:</strong> การล้างไตทางช่องท้องเป็นการบำบัดทดแทนไตที่ได้รับความนิยมในผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการฟอกเลือดและผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของวิธีนี้คือการติดเชื้อในช่องท้อง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของเยื่อบุผนังช่องท้องอักเสบ อาการแสดง เชื้อก่อโรค ปัจจัยเสี่ยง และผลลัพธ์ของการรักษาของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษาข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาโดยล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงกันยายน พ.ศ. 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) สถิติไคว์สแคว การวิเคราะห์ ตัวแปรเชิงเดี่ยว และการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุโดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ p &lt;0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.75 อายุเฉลี่ย 53.84 ปี เชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุดคือ <em>Staphylococcus coagulase negative, Staphylococcus aureus, Klebsiella pneumoniae</em> และ <em>Escherichia coli</em> และกรณีที่เพาะเชื้อไม่ขึ้น ซึ่งพบร้อยละ 21.83 ของกลุ่มติดเชื้อ เมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อแบคทีเรียของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน (ORadj. = 3.10, 95% CI: 1.33-15.24) ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดัน (ORadj. = 2.92, 95% CI: 1.25-6.78) ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 mg/dl (ORadj. = 2.85, 95% CI: 1.48-1.50) ผู้ป่วยที่มีระดับอัลบลูมินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.5 mg/dl (ORadj. = 1.72, 95% CI: 1.41-5.28)&nbsp;</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดัน ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 140 mg/dl และผู้ป่วยที่มีระดับอัลบลูมินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.5 mg/dl เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องท้อง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรจะได้รับการดูแลและเฝ้าระวังเป็นพิเศษจากบุคลากรทางการแพทย์</p> 2025-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3251 ปัจจัยที่่ส่งผลต่อการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่่ 3 และ 4 โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2025-06-10T08:30:54+07:00 ศรินภา วงศ์วิบูลย์ชัย sarinpa555@gmail.com <p><strong>ที่มา:</strong> โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในระยะที่ 3 และ 4 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมของไตจึงมีความสำคัญในการวางแผนการดูแลรักษา</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่รับการรักษา ณ โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ในเวชระเบียนผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 3 ถึง ระยะที่ 4 จำนวน 210 ราย ที่มารับการรักษาระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงตุลาคม 2566 แบ่งกลุ่มตามอัตราการเสื่อมของไตเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอัตราการลดลงของ eGFR น้อยกว่า 5 และมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ต่อปี โดยศึกษาปัจจัยทั่วไป ปัจจัยด้านสุขภาพ&nbsp; ได้แก่&nbsp; ดัชนีมวลกาย โรคร่วม ความดันโลหิต ภาวะซีด ภาวะไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือด การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้ยา ACEIs/ARBs การใช้ยา Statin ปัจจัยทั่วไป ปัจจัยด้านสุขภาพ&nbsp; การเกิดภาวะไตเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-Square และ Multiple Logistic Regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสื่อมของไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ โรคเบาหวาน (OR 2.20, 95% CI: 1.21-4.01) การฉีด Insulin (OR 10.21, 95% CI: 5.12-20.35) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 มก./ดล. (OR 3.42, 95% CI: 1.30-9.02) ความดันโลหิต Systolic สูงกว่า 130 มม.ปรอท (OR 3.00, 95% CI: 1.59-5.66) และความดัน Systolic สูงสุดเกิน 180 มม.ปรอท (OR 5.61, 95% CI: 2.04-15.42) นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะซีดที่มี Hematocrit ต่ำกว่าร้อยละ 30 สัมพันธ์กับการเสื่อมของไตอย่างมีนัยสำคัญ (OR 4.61, 95% CI: 1.90-11.18) ในด้านการใช้ยา พบว่าการใช้ยาขับปัสสาวะ (OR 3.93, 95% CI: 1.60-9.65) มีความสัมพันธ์กับการเสื่อมของไตที่เร็วขึ้น ขณะที่ยา ACEIs และ ARBs มีผลป้องกันการเสื่อมของไต (OR 0.44, 95% CI: 0.24-0.81)</p> <p><strong>สรุป:</strong> ปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการเสื่อมของไตคือการควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตที่ไม่ดี ภาวะซีด และการใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาขับปัสสาวะ ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยควรมุ่งเน้นการควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ พร้อมทั้งติดตามอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหลายโรค เพื่อชะลอการเสื่อมของไตและป้องกันภาวะแทรกซ้อน</p> 2025-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3252 การคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 2025-06-10T08:41:09+07:00 ถิรพร สีหะวงษ์ thira.tt@gmail.com <p><strong>บทนํา:</strong> การได้ยินเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามปีแรกของชีวิต การสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดในระยะเริ่มต้นอาจนำไปสู่การสื่อสารและพัฒนาการที่สำคัญ การวินิจฉัยและการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างทันท่วงทีสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงกับเด็กปกติ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่ผ่านการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี</p> <p><strong>วิธีการ:</strong> การศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลเวชระเบียนของทารกแรกเกิด 2,144 ราย ที่ได้รับการคัดกรองการได้ยินด้วยเครื่อง OAE ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-Square Test, Fisher's Exact Test, T-Test, Mann-Whitney U Test และ Logistic Regression Analysis โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt; 0.05</p> <p><strong>ผลลัพธ์:</strong> ทารกแรกเกิดทั้งหมด 2,144 ราย ทารกร้อยละ 98.93 ผ่านการตรวจคัดกรอง มีเพียงร้อยละ 1.07 (23 ราย) ที่ต้องได้รับการติดตามเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ 17 ราย (ร้อยละ 73.91) พบความผิดปกติที่ต้องการการรักษา 7 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์ตัวแปรพหุ ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Adjusted OR = 9.82, p &lt; 0.01) และภาวะเลือดข้น (Adjusted OR = 7.16, p = 0.004) แม้ว่าทารกที่มารดาไม่ได้ฝากครรภ์และทารกที่มารดาติดเชื้อเอชไอวี จะแสดงโอกาสที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป:</strong> การคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจพบความผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะเลือดข้น การเฝ้าระวังและการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งจำเป็นในกลุ่มทารกที่มีความเสี่ยงสูง และการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ มีความสำคัญในการระบุทารกที่มีความเสี่ยงและได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที</p> 2025-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3263 ผลของรูปแบบการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยการส่องกล้อง ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 2025-06-13T14:41:57+07:00 เจนวิทย์ เวชกามา sunanya99@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล </strong>การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยวิธี FIT Test ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเลิงนกทา ยังทำได้น้อยและยังคงมีประชาชนในพื้นที่อีกจำนวนมากที่รอการเข้าถึงของการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง&nbsp;</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการส่องกล้อง ต่อการตัดสินใจตรวจคัดกรอง พฤติกรรมและคุณภาพการเตรียมลำไส้ ผลการตรวจและภาวะแทรกซ้อน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง FIT Test ทุกคน ที่เข้ารับการส่องกล้องในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จำนวน 220 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการเตรียมลำไส้ก่อนเข้ารับการส่องกล้อง การตรวจและติดตามหลังการตรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ ที่ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย One Sample T-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่ากลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่อายุ 60–69 ปี เป็นเพศหญิง ทุกคนไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ภายหลังการทดลอง พบว่า ภาพรวมมีระดับการตัดสินใจตั้งใจที่จะมารับการตรวจคัดกรองระดับสูง กว่าค่าเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) พฤติกรรมการเตรียมลำไส้ก่อนการเข้ารับการคัดกรองมีความพร้อมสูงกว่าค่าเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) คุณภาพการเตรียมลำไส้อยู่ในระดับสะอาด ผลการคัดกรองผลปกติ ร้อยละ 71.80 ส่งชิ้นเนื้อตรวจ ร้อยละ 28.20 โดยไม่มีความผิดปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างทำการส่องกล้อง ผลการติดตามดูแลต่อเนื่อง ไม่พบภาวะแทรกซ้อน</p> 2025-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2841 ผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในเขตตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 2025-02-28T09:57:38+07:00 เจนวิทย์ เวชกามา sunanya99@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต พฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร</p> <p><strong>วิธีการ</strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในเขตตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ศึกษาในกลุ่มผู้พัฒนารูปแบบ และกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 116 คน ด้วยกระบวนการ PAOR เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต พฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> รูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ประกอบด้วย 1) พัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพจิตผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเสริมทักษะผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนด้วยแชทบอท 2) จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 3) การคัดกรองสุขภาพจิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำแนกการดูแลและเฝ้าระวังเป็น 3 ระดับตามความเสี่ยง 4) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายหลังการดำเนินงานตามรูปแบบส่งผลให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิตทั้งภาพรวมและรายด้านเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;.001) ส่วนคุณภาพชีวิตภาพรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;.001)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> รูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ที่ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน คัดกรองภาวะสุขภาพจิตและดูแลตามระดบความเสี่ยง โดยมีข้อมูลเพื่อการติดตาม ส่งผลให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงลดปัญหาสุขภาพจิตลงได้</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพจิต, ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> 2025-06-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/3059 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก โรงพยาบาลยโสธร 2025-04-09T14:50:57+07:00 จุฬาภรณ์ นิลภูมิ puchuraporn@gmail.com นิภารัตน์ อาจคำพันธ์ puchuraporn@gmail.com วรัญญา ศรีมารักษ์ puchuraporn@gmail.com <p>งานวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาของการใช้แนวปฏิบัติ การพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก โรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก อายุ ตั้งแต่ 1 เดือนถึงต่ำกว่า 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างเดือน มกราคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 30 ราย และ 2) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก และ 2) แบบประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (PEWS) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการวิเคราะห์สถานการณ์ไข้เลือดออก 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร และ 3) แบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก มีกระบวนการพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสำรวจสถานการณ์ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออก 2) ระยะพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ 3) การนำแนวปฏิบัติไปใช้ และ 4) ระยะสรุปประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Pair t-test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ได้แก่ ภาวะ Shock, Prolong Shock และ Fluid Overload ลดลง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 2) ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.75, S.D. = 0.26) และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลป่วยเด็กไข้เลือดออก ร้อยละ 96.49</p> <p><strong>สรุป</strong>: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออก โรงพยาบาลยโสธร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกให้มีความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกช้อนที่รุนแรงและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะแทรกช้อนที่รุนแรง ซึ่งสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้</p> <p> </p> 2025-06-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2990 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร 2025-04-08T15:05:55+07:00 ผการัตน์ กายชาติ phakarat7766@gmail.com <p>การศึกษาวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร จำนวน 14 คน และผู้ป่วยที่เข้าผ่าตัดโดยเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ คือ 1) โควิด-19 2) วัณโรคปอด 3) งูสวัด 4) สุกใส และ 5) หัด จำนวน 60 คน ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) นำรูปแบบไปใช้ และ 4) ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจและโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบประเมินความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดฯ ประเมินคุณภาพเครื่องมือโดย KR-20 ได้ 0.70 (2) แบบประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ งานห้องผ่าตัด ต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ ประเมินคุณภาพเครื่องมือได้ ค่าความเชื่อมั่นอัลฟาของครอนบาค = 0.81 (4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อระบบบริการ ประเมินคุณภาพเครื่องมือโดย ค่าความเชื่อมั่นอัลฟาของครอนบาค = 0.86 (5) การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วยและผู้ให้บริการ และ (6) ค่าใช้จ่ายก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบโดย Paired T-Test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> พบว่า 1) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลยโสธร ประกอบด้วย (1) มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อทางเดินหายใจ (2) Components of S.A.F.E. OR Model (3) การประเมินความเสี่ยงโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจแบบเฉพาะ (4) Line Notify 2) ผลการใช้รูปแบบฯ ประกอบด้วย (1) ด้านผู้ให้บริการ พบว่าหลังการใช้รูปแบบฯ พยาบาลวิชาชีพงาน ห้องผ่าตัด มีความรู้และการปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ งานห้องผ่าตัด ต่อการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (2) ด้านผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อระบบบริการอยู่ในระดับมาก (3) ด้านองค์กร พบว่า ไม่มีการแพร่เชื้อในกลุ่มตัวอย่างทั้งในผู้ป่วยและบุคลากรหลังใช้รูปแบบฯ</p> 2025-06-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 ยโสธรเวชสาร