ยโสธรเวชสาร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>เพื่อเผยแพร่และฟื้นฟูผลงานทางวิชาการและงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข<br /><br /></p> โรงพยาบาลยโสธร th-TH ยโสธรเวชสาร 2985-0525 การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดริดสีดวงทวารด้วย Vessel-Sealing Devices Hemorrhoidectomy กับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม (Conventional Ferguson Hemorrhoidectomy) ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2215 <p><strong>หลักการและเหตุผล: </strong>ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติและการผ่าตัดริดสีดวงทวารก็ทำบ่อยโดยศัลยแพทย์ในริดสีดวงทวาร ระดับ 3 และ 4 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาใช้การผ่าตัดแบบ Conventional Hemorrhoidectomy (Milligan-Morgan หรือ Ferguson) ปัจจุบันการใช้เครื่องมือ Electrothermal Bipolar Vessel Sealing System (Ligasure) ในการช่วยผ่าตัดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและมีหลายการศึกษาที่รายงานว่าเป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้และปลอดภัย หลายการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงการใช้เครื่องมือผ่าตัดพัฒนามาเป็น Vessel-Sealing Devices Hemorrhoidectomy ซึ่งให้ผลลัพธ์ดีกว่าในหลาย ๆ ด้าน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเจ็บปวดหลังผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก ผลลัพธ์ทางคลินิก (ระยะเวลาในการผ่าตัด ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล รวมถึงความพึงพอใจของผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยการผ่าตัดแบบดั้งเดิม Conventional Ferguson Hemorrhoidectomy กับการผ่าตัดโดยใช้ Vessel-Sealing Devices ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ</p> <p><strong>รูปแบบการศึกษา </strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (Experimental study)</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นริดสีดวงทวารระดับ 3 และ 4 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ผู้ป่วยทั้งหมด 95 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดวิธี Conventional Ferguson Hemorrhoidectomy จำนวน 50 ราย และกลุ่มที่รับการผ่าตัดวิธี Vessel-Sealing Devices Hemorrhoidectomy จำนวน 45 ราย นำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด คะแนนความปวดหลังผ่าตัด ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSAIDs ที่ได้รับหลังผ่าตัด ระยะเวลาการหายของแผล ค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด โดยผลลัพธ์ที่ได้จากทั้ง 2 กลุ่มจะถูกเปรียบเทียบด้วยสถิติ Chi-Square Test และ Fisher’sexact Test ซึ่งการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value &lt; 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>พบว่าระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด คะแนนความปวดหลังผ่าตัด ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSAIDs ที่ได้รับหลังผ่าตัด ระยะเวลาการหายของแผลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธี Vessel-Sealing Devices Hemorrhoidectomy น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี Conventional Ferguson Hemorrhoidectomy อย่างมี</p> <p>นัยสำคัญทางสถิติ โดยระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด (8.01 ± 4.82 นาที และ 20.82 ± 12.51 นาที; p<strong> &lt; </strong>0.001) ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด (2.81 ± 1.32 มิลลิลิตร และ 15.71 ± 14.05 มิลลิลิตร; p &lt; 0.001) คะแนนความปวดหลังผ่าตัดวันแรก (3.82 ± 1.22 และ 7.31 ± 1.31; p &lt; 0.001) และวันที่สอง (2.08 ± 1.10 และ 4.15 ± 1.11; p &lt; 0.001) ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล (1.82 ± 0.71 วัน 2.51 ± 2.21; p&lt; 0.001) ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSIADs ที่ได้รับหลังผ่าตัด (3.03 ± 0.81 ครั้ง และ 5.44 ± 2.22 ครั้ง; p &lt; 0.001) และอัตราการหายของแผล (3.51 ± 0.74 สัปดาห์ และ 5.84 ± 1.23 สัปดาห์ 0; p &lt; 0.001) ดังนั้น การนำเอา Vessel-Sealing Devices Hemorrhoidectomy มาใช้ผ่าตัดริดสีดวงทวารระดับ 3 และ 4 จึงมีประโยชน์ดังกล่าวและเมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายและภาวะแทรกซ้อนพบว่าทั้งสองวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา: </strong>ระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัด ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด คะแนนความปวดหลังผ่าตัดวันแรกและวันที่สอง ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ปริมาณยาแก้ปวดชนิด NSAIDs ที่ได้รับหลังผ่าตัด ระยะเวลาการหายของแผลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยวิธี Vessel-Sealing Devices Hemorrhoidectomy น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี Conventional Ferguson Hemorrhoidectomy อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> นริศ โชติรสนิรมิต Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 5 19 อุบัติการณ์ของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลยโสธร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2218 <p><strong>หลักการและเหตุผล: </strong>ความชุกของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีโรคเบาหวานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน การจัดการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในระบบสาธารณสุข</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยา Pioglitazone และตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงและอาการข้างเคียงที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาที่แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 รวมจำนวน 401 คน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านสุขภาพ ปัจจัยความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม ปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงและการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแคว์ รวมทั้งการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และ Logistic Regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 83.54) มีอายุเฉลี่ย 60.21 ปี (ช่วงอายุ 28-93 ปี) พบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 171 คน (ร้อยละ 42.64) มีภาวะเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยส่วนใหญ่ใช้สิทธิการรักษาบัตรทอง (ร้อยละ 87.53) การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่เป็นตัวทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะ AF (OR=0.268), ระดับ LDL (OR=3.654), รอบเอว (OR=2.149) และการใช้ยา Simvastatin (OR=11.018)</p> <p><strong>สรุป:</strong> การใช้ยา Pioglitazone ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ ภาวะ AF, ระดับ LDL สูง, รอบเอวที่เพิ่มขึ้น และการใช้ยา Simvastatin ผลการศึกษานี้เน้นย้ำความสำคัญของการประเมินความเสี่ยงและการดูแลเฉพาะทางเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน</p> วรพล ลี้ประกอบบุญ Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 20 32 การพยาบาลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตกรณีหมู่เลือดเข้ากันไม่ได้ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2219 <p>โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เมื่อโรครุนแรงขึ้นดำเนินไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ประกอบด้วย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางหน้าท้อง และการปลูกถ่ายไต โดยที่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การปลูกถ่ายไตถือเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แต่การปลูกถ่ายไตยังประสบปัญหาขาดแคลนอวัยวะ มีผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไตเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นการปลูกถ่ายไตกรณีหมู่เลือดเข้ากันไม่ได้จึงเป็นทางเลือกในการรักษา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วยก่อนไปห้องผ่าตัด การดูแลหลังผ่าตัด จนกระทั่งจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน บทความนี้จึงกล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไตกรณีหมู่เลือดเข้ากันไม่ได้ การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน และกรณีศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตกรณีหมู่เลือดเข้ากันไม่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> จิรารัตน์ สุพร Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 33 46 พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลยโสธร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2221 <p>การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลยโสธร ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม 2565 – ตุลาคม 2565 ดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์&nbsp; ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาล ระยะที่ 3 ทดลองใช้ ระยะที่ 4 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ 1) ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมียและผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย จำนวน &nbsp;60 ราย 2) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ 1) คู่มือมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียฉบับใหม่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล&nbsp; ได้แก่ (1) แบบบันทึกตัวชี้วัดการให้การพยาบาลระยะก่อนให้เลือด ขณะให้เลือดและหลังให้เลือด (2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร (3) แบบวัดความรู้ของผู้ดูแลเด็กธาลัสซีเมีย (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ก่อนและหลังการให้ความรู้ด้วยสถิติ pair t-test&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ประกอบด้วย มาตราฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียและวิดิโอสอนสุขศึกษาโรคธาลัสซีเมีย 2) ประสิทธิผลของรูปแบบฯ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก (&nbsp;= 4.97, S.D. = 0.37) และการปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาล อยู่ช่วงร้อยละ 88.7–100 ผลลัพธ์ด้านผู้ใช้บริการ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด ความรู้ของผู้ดูแลเด็กหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา (ก่อน = 8.52, หลัง = 14.67) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (p-value= .000) และความพึงพอใจของผู้ป่วย ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (&nbsp;= 4.98, S.D. = 0.04)</p> นิภารัตน์ อาจคำพันธ์ Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 47 56 การพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2222 <p>โรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อยเป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง โดยเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดสมองหรือจากการที่ลิ่มเลือดหลุดจากที่อื่น เช่น จากหัวใจหรือจากการแตกของหลอดเลือดสมองเกิดการคั่งของเลือด เนื้อสมองถูกกดเบียด เนื้อสมองเกิดภาวะบวม ถูกทำลายเกิดความเสียหายขึ้น ส่งผลให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และถ้าเนื้อสมองได้รับความเสียหายรุนแรงผู้ป่วยอาจจะเกิดความพิการถาวรหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นการประเมินผู้ป่วยที่แม่นยำและให้การพยาบาลที่รวดเร็ว การติดตามเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่องและระยะจำหน่าย จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดความรุนแรงของโรคได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย จำนวน 2 ราย</p> <p><strong>วิธีศึกษา:</strong> เลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง 2 ราย จากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย ที่นอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยพิเศษ&nbsp;&nbsp; อายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร&nbsp; ในช่วงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>พบว่า 1) กรณีศึกษาทั้ง 2 รายได้รับยาต้านเกล็ดเลือด รวมทั้งยาควบคุมอาการของโรคประจำตัว มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เหมือนกัน 9 ข้อ และแตกต่างกัน 2 ข้อ 2) ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลที่สอดรับกับปัญหาของผู้ป่วย ได้แก่ การเฝ้าระวังการเกิดแรงดันในกะโหลกศีรษะสูง ภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาต้านเกล็ดเลือด อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ ความวิตกกังวล นอนไม่หลับ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ พลัดตกหกล้ม การสำลัก การเกิดแผลกดทับ ข้อติด ข้อไหล่เคลื่อน และผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปบ้าน โดยได้รับการดูแลตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยในแต่ละรายจนอาการดีขึ้นจำหน่ายทุเลา รวมวันนอน 10 วัน และนัดติดตามผลอีก 1 เดือน</p> <p><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่ที่อายุน้อย เป็นภาวะวิกฤติที่คุกคามต่อชีวิตของผู้ป่วย การประเมินอาการเปลี่ยนแปลง การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่องและระยะจำหน่าย ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การวางแผนจำหน่ายที่ครอบคลุม ทำให้ผู้ป่วยและญาติมีความพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงกับปกติและสามารถป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้</p> ปุณยนุช เกาะกิ่ง Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 57 73 การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2225 <p>การบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและการบาดเจ็บของไขสันหลังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ส่งผลให้การทำงานของร่างกายด้านการเคลื่อนไหว การรับรู้ความรู้สึกบกพร่องไป ซึ่งเป็นผลจากประสาทไขสันหลังได้รับความเสียหาย ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ มีอาการอ่อนแรงของขา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิต ความพิการ ระยะเวลาการรักษาที่ยาวนานผู้ป่วยเกิดความไม่สุขสบาย จากความเจ็บปวดหรือเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรค เป้าหมายในการรักษาในระยะแรกของผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ ลดอัตราการตาย ลดการบาดเจ็บเพิ่มเติมของไขสันหลังร่วมกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการดูแลต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและไม่เกิดความพิการ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปอยู่ในสังคมได้เร็วที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักส่วนเอวร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัด 2 ราย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง 2 ราย จากผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยโสธร ระหว่างเดือนมีนาคม 2567 ถึงเดือนมิถุนายน 2567 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลยโสธร วิเคราะห์กรณีศึกษาโดยใช้แบบแผนการรับรู้สุขภาพของกอร์ดอน และการดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการพยาบาลและทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>จาการศึกษาพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัด 2 ราย พบว่า 1) ผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยที่เหมือนกัน 7 ข้อและต่างกัน 1 ข้อ 2) ได้รับการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหา ได้แก่ มีภาวะ Neurogenic Bowel, Neurogenic Bladder, การดูแลเรื่องความเจ็บปวด ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวล ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในแต่ละระบบ การดูแลและป้องกันการเกิดแผลกดทับ ตลอดจนการวางแผนจำหน่าย โดยได้รับการดูแลตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยในแต่ละรายจนอาการดีขึ้น จำหน่ายทุเลาและนัดติดตามผลอีก 1 เดือน&nbsp;</p> <p><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนเอวหักร่วมกับการบาดเจ็บของไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดมีภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่คุกคามต่อชีวิต การเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกระยะของการดูแลจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและวางแผนการให้การพยาบาลที่ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและครอบครัว ตลอดจนการดูแลต่อเนื่องเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ในสังคม</p> สุชานันท์ โคตรสมบัติ Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 74 90 ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2226 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็น (1) ผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยก่อนใช้แนวปฏิบัติและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ (2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 โรงพยาบาลยโสธร จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลการประเมินสุขภาพช่องปาก แบบบันทึกรายงานการติดเชื้อการวินิจฉัยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสอบถามพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ แบบวัดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ การดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle แบบสอบถามความยากง่ายในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle และความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle ไปใช้&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test, Chi–Square และ Fisher’s Exact Test</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> กลุ่มที่ใช้ใแนวปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากใน VAP Bundle เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม มีอัตราการเกิด VAP เท่ากับ 3.86 ต่อ 1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติและสามารถลดอัตราการเกิด VAP ได้ 1.92 ต่อ 1,000 วันใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะเวลานอนเฉลี่ยในหอผู้ป่วยหนัก และคะแนนเฉลี่ยความสะอาดช่องปาก กลุ่มใช้แนวปฏิบัติมีค่าคะแนนต่ำกว่ากลุ่มไม่ใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้ของพยาบาลเพิ่มขึ้นหลังการใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt; .001 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะและอภิปรายผล: </strong>ควรมีการนำไปใช้และปฏิบัติตามแนวทางอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความตระหนักและการนิเทศกำกับสม่ำเสมอให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ ด้านการวิจัยควรศึกษาประสิทธิผลของเครื่องมือกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่มากขึ้น</p> จิราวรรณ สุนทรา นารี สิงหเทพ อำพร โยธานันท์ Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 91 103 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะฟื้นฟู: กรณีเปรียบเทียบ 2 ราย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/2227 <p>โรคหลอดเลือดสมองตีบตันเป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความรุนแรง มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจุบันพบในผู้ใหญ่วัยทำงานเพิ่มสูงขึ้น&nbsp; ในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองราว 15 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉลี่ยทุก ๆ 6 วินาที จะมีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อย 1 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะฟื้นฟู กรณีเปรียบเทียบ 2 ราย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> วิเคราะห์สถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะฟื้นฟู คัดเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรม โรงพยาบาลยโสธร&nbsp; ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>พบว่า 1) กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทยวัย 76 ปี มาด้วย แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว ก่อนมาโรงพยาบาล 7 ชั่วโมง ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด พบ Progressive Stroke ชั่วโมงที่ 30 มีอาการอ่อนแรงแขนขาซ้ายมากขึ้น เฝ้าระวังภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง มีภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก ได้ให้ Antibiotic ให้อาหารทางสายยาง อาการดีขึ้น แต่ยังเดินไม่ได้ Motor Power Left Upper 1/Lower Grade 2, Right Grade 5 All ส่งกลับโรงพยาบาลชุมชน ดูแลแบบ Intermediate Care จำนวนวันนอน 14 วัน นัดติดตาม 1 เดือน 2) กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทยวัย 49&nbsp; ปี มาด้วย แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ก่อนมาโรงพยาบาล 5 ชั่วโมง ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด ตรวจพบเป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูง ให้อาหารทางสายยาง 3 วันแรก&nbsp; รับประทานอาหารได้เอง เดินได้ใช้ไม้ค้ำยัน Motor Power Left Upper 1/Lower Grade 3, Right Grade 5 All จำหน่ายทุเลา จำนวนวันนอน 19 วัน นัดติดตาม 2 สัปดาห์ 3) กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลทั้งหมด 12 ข้อ เหมือนกัน 9 ข้อ แตกต่างกัน 3 ข้อ ได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย มีการฟื้นฟูสภาพ การวางแผนจำหน่ายที่ครอบคลุม จนสามารถควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้</p> <p><strong>สรุป:</strong> กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน ได้ให้การดูแลตั้งแต่ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง ระยะจำหน่าย เฝ้าระวังและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มีกระบวนการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ การวางแผนจำหน่ายที่ครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับและสามารถจำหน่ายทุเลา กลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้</p> ลลนา รวมธรรม Copyright (c) 2024 ยโสธรเวชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-01 2024-10-01 26 2 104 121