Value of Health Data

Authors

  • Supasit Pannarunothai Centre for Health Equity Monitoring Foundation

Abstract

ข้อมูลสุขภาพเป็นแก่นกลางของวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข บทความทุกบทบรรยายเกี่ยวกับสุขภาพด้วย ข้อมูลที่น่าสนใจแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เก็บขึ้น อย่างเจาะจงเพื่อตอบคำถามวิจัย แต่มีบทความจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ใช้แหล่งข้อมูลจากฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร (administrative database) ในการตอบคำถามวิจัยเพราะมีคุณค่าเท่ากับหรือมากกว่าข้อมูลการสุ่มสำรวจ (survey) หากฐานข้อมูลเพื่อการบริหารนั้นครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ และบันทึกสาระของข้อมูลที่สามารถตอบโจทย์วิจัยได้แม่นตรง

ฐานข้อมูลสุขภาพเพื่อการบริหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยน่าจะได้แก่ฐานข้อมูล ใน Health Data Center(1) ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ผู้ตรวจราชการสาธารณสุขใช้ในการกำกับการดำเนินงานสาธารณสุขในระดับประเทศ เป็นข้อมูลที่บันทึกตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ ฉบับล่าสุดคือ ปีงบประมาณ 2564(2) ที่มีแฟ้มมาตรฐานถึง 52 แฟ้ม แนวคิดชุดข้อมูลมาตรฐานของประเทศไทยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อนที่ประเทศไทยจะมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้วยข้อค้นพบที่ว่า ถ้าจะให้การเบิกจ่ายผู้ป่วยในด้วยเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (diagnosis related group: DRG) จากโรงพยาบาลทั่วประเทศมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลจะต้องจัดส่งข้อมูลตามมาตรฐานแฟ้มข้อมูล 12 แฟ้มให้ได้ แนวคิดนี้ได้ขยายต่อไปเป็น 18 แฟ้ม 26 แฟ้ม 43 แฟ้ม ตามระดับการเรียนรู้ของระบบสุขภาพว่า การจัดทำรายงานกิจกรรมสุขภาพจากสถานพยาบาลที่เป็นรายเดือน หรือรายปี สามารถทดแทนได้ด้วยการจัดส่งข้อมูลกิจกรรมสุขภาพรายบุคคลให้ส่วนกลางสามารถจัดทำรายงานได้เอง และยังเพิ่มคุณค่าของข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ด้วยมุมมองต่างๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุดและข้อมูลไม่สูญหาย

บทบรรณาธิการบทถัดไป(3) เป็นตัวอย่างของการใช้ฐานข้อมูล HDC เป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการตอบคำถามวิจัย ว่ามีผู้ป่วยมะเร็งที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากสิ่งแวดล้อมของการใช้สาร asbestos เท่าไร โดยทำการสอบยันให้เชื่อมั่นในคำตอบด้วยวิธีวิจัยและแหล่งข้อมูลอื่น บทความแรกของฉบับนี้(4) เป็นอีกตัวอย่างของคุณค่าเฉพาะของฐานข้อมูล HDC ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายการคลังสุขภาพที่มุ่งเน้นคุณค่าที่ต้องการข้อมูลเพื่อวัดคุณค่าที่เพิ่มขึ้น

References

Division of Strategy and Plan, Ministry of Public Health. Standard data storage and submission in compliance to health standard set of the Ministry of Public Health version 2.4 fiscal year 2021 (B.E. 2564) dashboard [internet]. 2021. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php. [accessed 2021 Dec 26]. (in Thai)

Division of Strategy and Plan, Ministry of Public Health. Manual of standard data storage and submission in compliance to health standard set of the Ministry of Public Health version 2.4 fiscal year 2021 (B.E. 2564). Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2021. (in Thai)

Buranatrevedh S. Asbestos-related disease cases in Thailand: starting from health data center. Editorial. Journal of Health Systems Research 2021;15(4):393-5.

Vichanuwat S, Sriratanaban J. Completeness and correctness of the 52-file standard datasets for value-based healthcare indicators in diabetes mellitus. Journal of Health Systems Research 2021;15(4):396-406. (in Thai)

Downloads

Published

30-12-2021

How to Cite

1.
Pannarunothai S. Value of Health Data. J Health Syst Res [internet]. 2021 Dec. 30 [cited 2025 Jul. 12];15(4):391-2. available from: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/3355