https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/issue/feed วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช 2024-02-16T14:54:55+07:00 Phimlada Anansirikasem, Ed.D. RN. (Asst. Prof.) phimlada@ckr.ac.th Open Journal Systems <p style="text-align: justify;"><span style="font-family: 'Times New Roman', Times, serif; color: #000000;">วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการ หรือบทความวิจัยที่มีคุณภาพ ครอบคลุมเนื้อหาด้านวิชาการ การศึกษา การพยาบาล การสาธารณสุข และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ที่แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ เป็นเอกสารทางวิชาการที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดการวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์</span></p> <p style="text-align: justify;"><span style="font-family: 'Times New Roman', Times, serif; color: #000000;">ISSN: 2985-1203 (online)</span></p> <p style="text-align: justify;"><span style="font-family: 'Times New Roman', Times, serif; color: #000000;">ISSN: 2730-3993 (print)</span></p> <p> </p> https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/590 ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกาย ด้วยวิธีรำวงย้อนยุคและการควบคุมอาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือด และสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 2023-11-21T08:54:54+07:00 ประภาส พยมพฤกษ์ p2693706@gmail.com ณัฐชนน ผุยนวล Phuinuan@gmail.com สมพร ลอยความสุข loy.somporn@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคและการควบคุมอาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสมรรถภาพทางกายในกลุ่มผู้เสี่ยงสูงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 29 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองด้านการออกกำลังกายด้วยวิธีรำวงย้อนยุคและการควบคุมอาหาร ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบที สถิติวิลคอกซัน และสถิติแมนวิทนีย์ยู</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างระดับน้ำตาลในเลือด (t = 9.15, p = .000)และสมรรถภาพทางกาย คือ เส้นรอบเอว (t = 2.36, p = .021) เปอร์เซ็นต์ไขมัน (t = 4.21, p =.000) ความดันโลหิตตัวบน (z = -2.05 p = .041) ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าเฉลี่ยผลต่างความดันโลหิตตัวล่างลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -.78, p = .434)</p> 2024-03-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/638 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงในงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาล ในจังหวัดสมุทรสงคราม 2023-12-21T10:36:24+07:00 สุจิตรา กิตติหัช sujitra751@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีีวัตถุุประสงค์์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรห้องผ่าตัดโรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2566 เลือกแบบเจาะจงจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เจตคติต่อการบริหารความเสี่ยง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.0 โดยมีีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .93, .91 และ .97 ตามลำดับ สถิติิที่่ใช้้ในการวิิเคราะห์์คือ ความถี่่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 90.00 อายุุ 56-60 ปี ร้อยละ 20.00 การศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 71.43 เป็นพยาบาลห้องผ่าตัด ร้อยละ 68.57 ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดนาน 6-10 ปี ร้อยละ 31.43 ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ร้อยละ 70.00 เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ 82.86 เจตคติต่อการบริหารความเสี่ยง การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรห้องผ่าตัด อยู่ในระดับมาก (=4.08, SD=0.43, =4.06, SD=0.53 และ =4.01, SD=0.53) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติิที่่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษา (= 0.137) เจตคติต่อการบริหารความเสี่ยง (= 0.335) และการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม (= 0.551)</p> <p><strong> </strong></p> 2024-01-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/729 ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 2024-02-16T14:54:55+07:00 นวลอนงค์ ศรีสุกไสย nuananong@ckr.ac.th <p>การวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และค่าความดันโลหิต ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีค่าระดับ systolic blood pressure อยู่ระหว่าง 120 -139 มิลลิเมตรปรอท หรือระดับ diastolic blood pressure อยู่ระหว่าง 80-89 มิลลิเมตรปรอท และยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 36 คน เครื่องมือ ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและแบบบันทึกความดันโลหิต ผ่านการตรวจสอบความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหาระหว่าง .90 - .95 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .92 และ.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพ และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และมีค่าความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> </span></p> 2024-04-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช