วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr <p style="text-align: justify;"><span style="font-family: 'Times New Roman', Times, serif; color: #000000;">วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการ หรือบทความวิจัยที่มีคุณภาพ ครอบคลุมเนื้อหาด้านวิชาการ การศึกษา การพยาบาล การสาธารณสุข และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ที่แสดงถึงประโยชน์ทั้งเชิงทฤษฎี และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติการ เป็นเอกสารทางวิชาการที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดการวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์</span></p> <p style="text-align: justify;"><span style="font-family: 'Times New Roman', Times, serif; color: #000000;">ISSN: 2985-1203 (online)</span></p> <p style="text-align: justify;"><span style="font-family: 'Times New Roman', Times, serif; color: #000000;">ISSN: 2730-3993 (print)</span></p> <p> </p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช เล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ และคณาจารย์ท่านอื่นในวิทยาลัย ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่อง เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> phimlada@ckr.ac.th (Phimlada Anansirikasem, Ed.D. RN. (Asst. Prof.)) research@ckr.ac.th (Punyanuch Metabavonnun ) Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1102 <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหาระหว่าง .67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .90, .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพตาม 3อ.2ส. โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (mean<strong><em> </em></strong>= 7.35, SD = 0.61) และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ( mean = 15.81, SD = 0.68) นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p &lt; .05 (r = .172, .342 และ .233) ปัจจัยความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูล และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อชะลอไตเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p &lt; .05 (r = .134, .235 และ .087)</p> สุนิสา ตุกชูแสง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1102 Thu, 12 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1345 <p> การศึกษาวิจัยแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับระดับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปฏิบัติงานและขึ้นทะเบียนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้สัดส่วนจำแนกตามตำบล เครื่องมือในการวิจัย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ 3) บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ไคสแควร์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (𝑥̅ = 3.96, SD = 0.53) ด้านความรู้ ความเข้าใจ (𝑥̅ = 0.82, SD = 0.17) และด้านทักษะการตัดสินใจ (𝑥̅ = 3.83, SD = 0.60) คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านทักษะการสื่อสารสุขภาพ (𝑥̅ = 3.63, SD = 0.52) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ (𝑥̅ = 3.38, SD = 0.69) และด้านการจัดการตนเอง (𝑥̅ = 3.54, SD = 0 .53) และบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.54, SD = 0.53) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (r = .564, p &lt; .05)</p> สายชล ศรีพนมวรรณ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1345 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองไร่ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1534 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองไร่ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 196 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.0 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม KR-20 เท่ากับ .70 ค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าของคอนบาค เท่ากับ .77, .86, .71, .70, .75 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.36 แรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.38, SD = 0.95) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.28, SD = 0.68) การรับรู้ความรุนแรงของโรค อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.26, SD = 0.65) การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมโรคอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.26, SD = 0.70) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.20, SD = 0.71) พฤติกรรมการป้องกันโรค อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.34, SD = 0.53) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค มีอิทธิพลในการทำนายร่วมกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 52.30 (R2 = .523, Radj = .515, F = 69.741, SE = 7.279, p &lt; .05)</p> กาญจนา ชวดคำ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1534 Mon, 14 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1625 <p> การคลอดก่อนกำหนด ถือเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสูติศาสตร์ ส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพ และการตายของทารกแรกคลอดค่อนข้างสูง การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี โดยศึกษาจากหญิงตั้งครรภ์ที่คลอด ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 จำนวน 1,565 ราย และหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด 98 ราย รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูล โดยใช้แบบฟอร์มบันทึกที่มีโครงสร้าง ประกอบด้วย ลักษณะทางประชากรและสังคม ลำดับการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ ภาวะซีด และภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67 - 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก <br /> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ (AOR adj 1.67, 95%CI 1.01-2.51) การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ (AOR adj 1.61, 95%CI 1.05-2.48) และภาวะซีด (ความเข้มข้นของเลือด &lt; 33%) (AOR adj 2.28, 95%CI 1.17-4.44)</p> ธิดา ธิติวิภู Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1625 Mon, 02 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1717 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน การรับรู้บรรยากาศองค์การ ค่านิยมในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง และหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้บรรยากาศองค์การ ค่านิยมในการทำงาน กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านโป่ง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบการรับรู้บรรยากาศองค์การ และแบบสอบค่านิยมในการทำงาน ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง .67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .92, .92 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยพหุแบบขั้นตอน <br /> ผลการวิจัย พบว่าพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ร้อยละ 53.80 การรับรู้บรรยากาศองค์การและค่านิยมในการทำงานโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.80, 61.40 ตามลำดับ การรับรู้บรรยากาศองค์การและค่านิยมในการทำงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านโป่ง ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การติดต่อสื่อสารภายในองค์กร ระดับตำแหน่งงาน และเจตคติต่อผลตอบแทน โดยสามารถทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานได้ ร้อยละ 61.60 (R2 adj. = .617</p> ประภารัตน์ เลิศวิลัย Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1717 Sat, 14 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบ่อพลอย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1920 <p> </p> <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อความรู้และพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานหนึ่งปีขึ้นไปปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยในและอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 35 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิตและฝึกทักษะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลหลังเข้าร่วมโปรแกรม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม เท่ากับ 4.38 ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม .67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามความรู้ KR-20 เท่ากับ .80 แบบสอบถามพฤติกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .86 และ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ คะแนนเฉลี่ยความรู้เท่ากับ 13.15 (SD = 1.85) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 62.17, SD = 5.08) หลังเข้าร่วมโปรแกรม ฯ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เท่ากับ 18.09 (SD = 1.56) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ( = 78.23, SD = 3.72) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) ความพึงพอใจภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88, SD = 0.12)</p> สุรภี ดอกยอ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1920 Fri, 08 Nov 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/2372 <p> การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะ แห่งตน พฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารและระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนใหญ่ กลุ่มละ 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1. โปรแกรมการจัดการตนเอง ประกอบด้วย การอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเยี่ยมบ้าน การดูแลตนเองที่บ้านตามคู่มือการจัดการตนเอง และการประเมินผล 2. แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 3. แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผ่านผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .92- 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่า เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที<br /> ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ฯ มีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (t = -2.091) พฤติกรรมการจัดการตนเอง (t = -6.496) และระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดง (t = 2.600) สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (t = 0.786) พบว่ากลุ่มทดลองมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p &gt; .05) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (t = -7.383, p &lt; .05) พฤติกรรมการจัดการตนเอง (t = -8.359, p &lt; .05) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (t = 2.985, p &lt; .05) ระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดง (t = 3.698, p &lt; .05) ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมและลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ภัทราวดี ใหม่นุ่น Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/2372 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 รายงานกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัด https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1421 <p> โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่มีเลนส์แก้วตาขุ่น โดยวิธีการรักษาให้ได้ผลดีที่สุด คือ การผ่าตัดต้อกระจก อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดต้อกระจก มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ ทั้งนี้ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด คือ การติดเชื้อในลูกตา เนื่องจากอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร หรือถ้ารุนแรงยิ่งขึ้นอาจสูญเสียลูกตาตามมา</p> <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา 1 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยผ่าตัดตาต้อกระจกที่มีภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัดได้รับการรักษาพยาบาลครอบคลุมองค์รวม และนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้พัฒนางานด้านการพยาบาลของแผนกจักษุ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยมีวิตกกังวลกลัวการผ่าตัด ระยะผ่าตัด ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด เสี่ยงต่อการผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดเลนส์ เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคขณะการผ่าตัด ระยะหลังการผ่าตัด เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากพร่องการมองเห็นหลังการผ่าตัด ไม่สุขสบายเนื่องจากการปวดตาข้างที่ผ่าตัด ผู้ป่วยมีการติดเชื้อตาขวาหลังการผ่าตัด และผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเนื่องจากเมื่อกลับบ้านมีการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดที่ไม่ถูกต้อง</p> <p> ดังนั้น การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก ด้วยการดูแลช่วยเหลือชี้แนะผู้ป่วยทั้งก่อน และหลังการผ่าตัดต้อกระจก ถือเป็นการดูแลผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง รวมถึงการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังผ่าตัดตามมาได้</p> วศินี ธิวรรณลักษณ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jckr/article/view/1421 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700