วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho
<p>วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย (Journal of Chiang Rai Provincial Health Office) จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทัศน์ (Literature Review Article) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรครักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ บทความวิชาการทางด้านการแพทย์</p>
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
th-TH
วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1144
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เปรียบเทียบภาระการดูแลโดยรวม ภาระการดูแลเชิงอัตนัย และภาระการดูแลเชิงปรนัย</p> <p> กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มที่มีอาการหลงเหลือ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลฝาง ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ระยะเวลา 3 สัปดาห์ และแบบวัดภาระการดูแล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติ Paired samples T test </p> <p> ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนภาระการดูแลโดยรวม ภาระการดูแลเชิงอัตนัย และภาระการดูแลเชิงปรนัย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนภาระการดูแลโดยรวมอยู่ในระดับมาก x̄ =85.35 หลังการทดลองพบคะแนนภาระการดูแลโดยรวมในระดับน้อย x̄ =47.40 อีกทั้งก่อนการทดลองพบคะแนนภาระการดูแลเชิงอัตนัยอยู่ในระดับมาก x̄ =40.85 หลังการทดลองพบคะแนนภาระเชิงอัตนัยอยู่ในระดับน้อย x̄ =26.50 ส่วนคะแนนภาระการดูแลเชิงปรนัยก่อนการทดลองพบว่าอยู่ในระดับมาก x̄ =44.50 และหลังการทดลองคะแนนภาระการดูแลเชิงปรนัยอยู่ในระดับน้อยที่สุด x̄ =20.90 สรุปได้ว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท สามารถลดภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแล ไปศึกษาวิจัยกับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มอื่นเพิ่มเติม</p>
สายฝน เมืองใจ
ศรัญญา ใจแก้ว
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-05
2024-07-05
1 2
1
14
-
ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วย STEMI แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1308
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย STEMI โดยศึกษาในรูปแบบกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลาที่เป็นการศึกษาแบบแผนการวิจัยที่ให้สิ่งทดลองสลับกับงดให้สิ่งทดลองที่ต้องใช้ระยะเวลาเท่ากันทั้งสองกลุ่มในการศึกษา</p> <p> ขอบเขตของงานวิจัยศึกษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 พยาบาลวิชาชีพและเวชกิจฉุกเฉินที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย STEMI จำนวน 19 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK อายุ 45 ปีขึ้นไป เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กับกลุ่มทดลอง โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วัดผลก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย STEMI ระยะเวลา 12 เดือน (1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566) และหลังใช้แนวปฏิบัติระยะเวลา 12 เดือน (1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2567) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ในการทดสอบความแตกต่างของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติ Chi-square สถิติ Paired samples t-test และใช้สถิติ independent samples t-test</p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย STEMI หลังให้ความรู้ไม่แตกต่างกับก่อนให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -1.26, p = 0.225) และพบว่าระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.96, p<0.001) และกลุ่มทดลองมีอัตราการรอดชีวิตมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p= 0.042) ดั้งนั้นผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วย STEMI ทำให้ได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK ได้รวดเร็วขึ้น ข้อเสนอแนะควรดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบแบบไปข้างหน้าทั้งสองกลุ่ม และใช้ระยะเวลาการศึกษาที่นานขึ้น เพื่อให้ผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI, ลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล</p>
นงลักษณ์ วงศ์ลังกา
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-02
2024-08-02
1 2
15
31
-
ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1306
<p> การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในรูปแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปรียบเทียบความรู้การฟื้นฟูสภาพ ภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับโปรแกรมกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับการดูแลตามปกติ</p> <p> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลฝาง จำนวน 44 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 22 ราย รวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เครื่องมือที่ใช้การดำเนินวิจัย มี 4 เครื่องมือ คือ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม และแบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม (D-MEDTHOD) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติ Fisher Exact probability test และสถิติ Independent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายหลังผ่าตัดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p<0.01) การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูได้ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ได้แก่ องศาการงอเข่า ความสามารถในการเดินในแนวราบ ความสามารถในการเดินขึ้นทางชัน ระดับการงอเข่า (p<0.01) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มทดลอง (Mean=6.90, SD=1.01) และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (Mean=7.13, SD=1.28) ข้อเสนอแนะในการศึกษานี้ควร ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพโดยเฉพาะแพทย์นำเกณฑ์การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบ D-METHOD ประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติจริงของโรงพยาบาลให้เป็นทิศทางเดียวกัน เพื่อลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมให้ดีขึ้น</p>
จารุวรรณ โตวัชรกุล
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-02
2024-08-02
1 2
32
49
-
การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2565
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1284
<p>โรควัณโรคปอดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทย อำเภอแม่ลาว ในปีงบประมาณ 2565 มีอัตราการรายงานผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ 89.74 ต่อแสนประชากร (เป้าหมายอัตราอุบัติการณ์วัณโรคในปี พ.ศ. 2565 คือ 138 ต่อประชากรแสนคน) ผู้ทำการศึกษาสนใจในการประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคของโรงพยาบาลแม่ลาว จากรายงานผู้ป่วยวัณโรคระดับชาติ (โปรแกรม NTIP online) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะเชิงปริมาณ(Quantitative study) และเชิงคุณภาพ(Qualitative study) ของระบบเฝ้าระวังรายงานผู้ป่วยวัณโรคและใช้พัฒนาระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาลแม่ลาว วิธีการศึกษาเป็นแบบภาคตัดขวาง โดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ลาว ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2565 นำข้อมูลมาวิเคราะห์คุณลักษณะเชิงปริมาณ รวมทั้งสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ราย เพื่อประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบผู้ป่วยเข้านิยาม จำนวน 110 ราย รายงานเข้าโปรแกรม NTIP online จำนวน 86 ราย พบมีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 78.18 ค่าพยากรณ์บวก (positive predictive value) เท่ากับร้อยละ 100 ด้านคุณภาพข้อมูลมีความถูกต้อง เฉลี่ยร้อยละ 94.18 ความครบถ้วน เท่ากับร้อยละ 100 ความทันเวลานับจากวันที่วินิจฉัย จนถึงวันที่รายงาน/ขึ้นทะเบียน เข้าระบบรายงานโปรแกรม NTIP online ไม่เกิน 7 วัน เท่ากับร้อยละ 88.37 ส่วนความเป็นตัวแทนข้อมูลทั้งสองแหล่งมีความใกล้เคียงสามารถใช้เป็นตัวแทนได้ คุณลักษณะเชิงคุณภาพได้แก่ ความยากง่าย ความยอมรับ ความยั่งยืน และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง จากการสัมภาษณ์พบว่าทุกระดับให้ความสำคัญและเห็นว่ารายงาน NTIP online มีประโยชน์กับหน่วยงาน ยกเว้นความยืดหยุ่นยังไม่สามารถเพิ่มหรือลดข้อมูลตามความต้องการผู้ใช้งานได้</p>
คงศักดิ์ ชัยชนะ
ณรงค์ฤทธิ์ คงหมั้น
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
1 2
50
62
-
ประสิทธิผลการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1126
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและเพื่อศึกษาประสิทธิผลการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 65 คน ผู้วิจัยดำเนินการ 4 ขั้นตอน ระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติจากการวิเคราะห์สมรรถนะอสม. ต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ 2) การปฏิบัติการ เป็นการลงมือดำเนินงานตามแผนที่กำหนดและควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผน 3) การสังเกตการณ์ เป็นการติดตาม สังเกตปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ และ 4) การสะท้อนกลับ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่ได้ลงมือกระทำลงไปว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 คุณลักษณะทางประชากร ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนที่ 3 ทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติที</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า หลังเสริมสร้างสมรรถนะ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ เพิ่มสูงขึ้น และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> ควรสนับสนุนการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ ในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ในอนาคตต่อไป</p>
บรรจบ ใจระวัง
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-30
2024-08-30
1 2
63
78