วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho <p>วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย (Journal of Chiang Rai Provincial Health Office) จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทัศน์ (Literature Review Article) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรครักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การแพทย์ฉุกเฉินและคุ้มครองผู้บริโภค ระบบสุขภาพและการประเมินผลโครงการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ บทความวิชาการทางด้านการแพทย์</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และบุคลากรท่านอื่น ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> Anuphong_phun@hotmail.com (ดร.อนุพงษ์ พูลพร ) jiraporn.sang1995@gmail.com (จิราภรณ์ แสงสุวรรณ์) Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1144 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เปรียบเทียบภาระการดูแลโดยรวม ภาระการดูแลเชิงอัตนัย และภาระการดูแลเชิงปรนัย</p> <p> กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มที่มีอาการหลงเหลือ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลฝาง ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ระยะเวลา 3 สัปดาห์ และแบบวัดภาระการดูแล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติ Paired samples T test </p> <p> ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนภาระการดูแลโดยรวม ภาระการดูแลเชิงอัตนัย และภาระการดูแลเชิงปรนัย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนภาระการดูแลโดยรวมอยู่ในระดับมาก x̄ =85.35 หลังการทดลองพบคะแนนภาระการดูแลโดยรวมในระดับน้อย x̄ =47.40 อีกทั้งก่อนการทดลองพบคะแนนภาระการดูแลเชิงอัตนัยอยู่ในระดับมาก x̄ =40.85 หลังการทดลองพบคะแนนภาระเชิงอัตนัยอยู่ในระดับน้อย x̄ =26.50 ส่วนคะแนนภาระการดูแลเชิงปรนัยก่อนการทดลองพบว่าอยู่ในระดับมาก x̄ =44.50 และหลังการทดลองคะแนนภาระการดูแลเชิงปรนัยอยู่ในระดับน้อยที่สุด x̄ =20.90 สรุปได้ว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท สามารถลดภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแล ไปศึกษาวิจัยกับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทกลุ่มอื่นเพิ่มเติม</p> สายฝน เมืองใจ, ศรัญญา ใจแก้ว Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1144 Fri, 05 Jul 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วย STEMI แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1308 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย STEMI โดยศึกษาในรูปแบบกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลาที่เป็นการศึกษาแบบแผนการวิจัยที่ให้สิ่งทดลองสลับกับงดให้สิ่งทดลองที่ต้องใช้ระยะเวลาเท่ากันทั้งสองกลุ่มในการศึกษา</p> <p> ขอบเขตของงานวิจัยศึกษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 พยาบาลวิชาชีพและเวชกิจฉุกเฉินที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย STEMI จำนวน 19 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK อายุ 45 ปีขึ้นไป เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กับกลุ่มทดลอง โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วัดผลก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วย STEMI ระยะเวลา 12 เดือน (1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566) และหลังใช้แนวปฏิบัติระยะเวลา 12 เดือน (1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2567) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ในการทดสอบความแตกต่างของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติ Chi-square สถิติ Paired samples t-test และใช้สถิติ independent samples t-test</p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย STEMI หลังให้ความรู้ไม่แตกต่างกับก่อนให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -1.26, p = 0.225) และพบว่าระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.96, p&lt;0.001) และกลุ่มทดลองมีอัตราการรอดชีวิตมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p= 0.042) ดั้งนั้นผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วย STEMI ทำให้ได้รับยาละลายลิ่มเลือด SK ได้รวดเร็วขึ้น ข้อเสนอแนะควรดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบแบบไปข้างหน้าทั้งสองกลุ่ม และใช้ระยะเวลาการศึกษาที่นานขึ้น เพื่อให้ผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI, ลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล</p> นงลักษณ์ วงศ์ลังกา Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1308 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1306 <p> การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในรูปแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปรียบเทียบความรู้การฟื้นฟูสภาพ ภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับโปรแกรมกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับการดูแลตามปกติ</p> <p> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลฝาง จำนวน 44 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 22 ราย รวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เครื่องมือที่ใช้การดำเนินวิจัย มี 4 เครื่องมือ คือ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม และแบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม (D-MEDTHOD) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติ Fisher Exact probability test และสถิติ Independent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายหลังผ่าตัดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p&lt;0.01) การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูได้ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ได้แก่ องศาการงอเข่า ความสามารถในการเดินในแนวราบ ความสามารถในการเดินขึ้นทางชัน ระดับการงอเข่า (p&lt;0.01) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มทดลอง (Mean=6.90, SD=1.01) และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (Mean=7.13, SD=1.28) ข้อเสนอแนะในการศึกษานี้ควร ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพโดยเฉพาะแพทย์นำเกณฑ์การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบ D-METHOD ประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติจริงของโรงพยาบาลให้เป็นทิศทางเดียวกัน เพื่อลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมให้ดีขึ้น</p> จารุวรรณ โตวัชรกุล Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1306 Fri, 02 Aug 2024 00:00:00 +0700 การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2565 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1284 <p>โรควัณโรคปอดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทย อำเภอแม่ลาว ในปีงบประมาณ 2565 มีอัตราการรายงานผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ 89.74 ต่อแสนประชากร (เป้าหมายอัตราอุบัติการณ์วัณโรคในปี พ.ศ. 2565 คือ 138 ต่อประชากรแสนคน) ผู้ทำการศึกษาสนใจในการประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคของโรงพยาบาลแม่ลาว จากรายงานผู้ป่วยวัณโรคระดับชาติ (โปรแกรม NTIP online)&nbsp; โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะเชิงปริมาณ(Quantitative study) และเชิงคุณภาพ(Qualitative study) ของระบบเฝ้าระวังรายงานผู้ป่วยวัณโรคและใช้พัฒนาระบบเฝ้าระวังในโรงพยาบาลแม่ลาว วิธีการศึกษาเป็นแบบภาคตัดขวาง โดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ลาว ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2565 นำข้อมูลมาวิเคราะห์คุณลักษณะเชิงปริมาณ รวมทั้งสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ราย เพื่อประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบผู้ป่วยเข้านิยาม จำนวน 110 ราย รายงานเข้าโปรแกรม NTIP online จำนวน 86 ราย พบมีค่าความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 78.18 ค่าพยากรณ์บวก (positive predictive value) เท่ากับร้อยละ 100&nbsp; ด้านคุณภาพข้อมูลมีความถูกต้อง เฉลี่ยร้อยละ 94.18 ความครบถ้วน เท่ากับร้อยละ 100 ความทันเวลานับจากวันที่วินิจฉัย จนถึงวันที่รายงาน/ขึ้นทะเบียน เข้าระบบรายงานโปรแกรม NTIP online ไม่เกิน 7 วัน เท่ากับร้อยละ 88.37 ส่วนความเป็นตัวแทนข้อมูลทั้งสองแหล่งมีความใกล้เคียงสามารถใช้เป็นตัวแทนได้ คุณลักษณะเชิงคุณภาพได้แก่ ความยากง่าย ความยอมรับ ความยั่งยืน และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง จากการสัมภาษณ์พบว่าทุกระดับให้ความสำคัญและเห็นว่ารายงาน NTIP online มีประโยชน์กับหน่วยงาน ยกเว้นความยืดหยุ่นยังไม่สามารถเพิ่มหรือลดข้อมูลตามความต้องการผู้ใช้งานได้</p> คงศักดิ์ ชัยชนะ, ณรงค์ฤทธิ์ คงหมั้น Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1284 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1126 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและเพื่อศึกษาประสิทธิผลการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 65 คน ผู้วิจัยดำเนินการ 4 ขั้นตอน ระยะเวลา 3 เดือน ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติจากการวิเคราะห์สมรรถนะอสม. ต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ 2) การปฏิบัติการ เป็นการลงมือดำเนินงานตามแผนที่กำหนดและควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผน 3) การสังเกตการณ์ เป็นการติดตาม สังเกตปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ และ 4) การสะท้อนกลับ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่ได้ลงมือกระทำลงไปว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 คุณลักษณะทางประชากร ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนที่ 3 ทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติที</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า หลังเสริมสร้างสมรรถนะ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ เพิ่มสูงขึ้น และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> ควรสนับสนุนการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีทักษะการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้านสุขภาพ ในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ในอนาคตต่อไป</p> บรรจบ ใจระวัง Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/1126 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700