https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/issue/feed
วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
2024-07-31T14:55:00+07:00
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
journal.odpc12@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา เป็นวารสารของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา<strong><br />ISSN </strong>2985-1157 (Online)<strong><br />ภาษาที่รับตีพิมพ์ : </strong>ภาษาไทย<strong><br /></strong><strong>กำหนดออก : </strong>จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ<br /> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม<strong><br />นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> บทความวิชาการ บทความวิจัย บทความฟื้นวิชา และรายงานผู้ป่วย/สอบสวนโรค เกี่ยวกับด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ</p>
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/542
การพัฒนาสเปรย์ฟิโพรนิลอัดก๊าซในการกำจัดยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์
2023-12-22T09:20:29+07:00
จริยา ครุธบุตร์
jariyakrutbutmodz@gmail.com
ชญาดา ขำสวัสดิ์
jariya.kr@dmsc.mail.go.th
ธัณญภักษณ์ มากรื่น
jariya.kr@dmsc.mail.go.th
จักรวาล ชมภูศรี
jariya.kr@dmsc.mail.go.th
อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์
jariya.kr@dmsc.mail.go.th
<p>งานวิจัยนี้ได้พัฒนาสเปรย์ฟิโพรนิลอัดก๊าซกำจัดยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์จาก 6 พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกใน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ตาก และพิษณุโลก นำยุงลายบ้านเพศเมีย รุ่นลูกรุ่นที่ 1 จาก 6 พื้นที่ศึกษามาทดสอบความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลง 6 ชนิด โดยเป็นสารไพรีทรอยด์ 5 ชนิด และสารฟิโพรนิล ที่ความเข้มข้น discriminating concentration โดยวิธีขององค์การอนามัยโลก จากนั้น พัฒนาสเปรย์อัดก๊าซและประเมินผลในการกำจัดยุงลายบ้านในตู้ทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า ยุงลายบ้านจาก 6 พื้นที่เสี่ยงดื้อต่อสารไพรีทรอยด์ทั้ง 5 ชนิด โดยมีอัตราตายเฉลี่ยร้อยละ 2.0±2.3-80.0±3.3 แต่มีความไวต่อสารฟิโพรนิลและมีอัตราตายเฉลี่ยร้อยละ 100 โดยอัตราตายเฉลี่ยของยุงลายบ้านมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) สเปรย์อัดก๊าซที่มีฟิโพรนิลร้อยละ 0.14 เป็นสารออกฤทธิ์ ให้อัตราตายของยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์จากทั้ง 6 พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกใน 3 จังหวัด ร้อยละ 100 ที่ 24 ชั่วโมง องค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์อัดก๊าซกำจัดยุงพาหะนำโรคที่ดื้อสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อป้องกันโรคที่นำโดยยุง</p>
2024-07-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/549
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรสวนทุเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช
2024-05-23T16:05:15+07:00
อรณัส มุสิกวงค์
musikawong7560@gmail.com
ธัชพงศ์ คลิ้งเคล้า
musikawong7560@gmail.com
ญาณิศา ศรีใส
musikawong7560@gmail.com
บุณยานุช ทองคำดี
musikawong7560@gmail.com
<p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ลักษณะการใช้สารเคมี ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรสวนทุเรียน และวิเคราะห์ปัจจัยต่อการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนทุเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือเกษตรกรสวนทุเรียน ในจังหวัดนครศรีธรรมราข จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 – กรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และใช้สถิติอนุมาน inferential statistics ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 54.23) อายุ 50-59 ปี (ร้อยละ 48.46) จบมัธยมปลาย (ร้อยละ 29.23) และมีเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัยและระดับมีความเสี่ยง เท่ากัน (ร้อยละ 32.69) รองลงมาระดับปลอดภัย (ร้อยละ 29.23) และปกติ (ร้อยละ 5.39) เป็นผู้ฉีดพ่นเองหรือรับจ้างฉีดพ่น (ร้อยละ 48.09) ใช้สารกำจัดศัตรูพืช >3 วัน/เดือน (ร้อยละ 64.05) ส่วนมากใช้สารเคมีกลุ่ม Avermectin (ร้อยละ 85.00) ส่วนมากมีความรู้ระดับสูง (ร้อยละ 85.77) ทัศนคติระดับพอเพียง (ร้อยละ 64.62) พฤติกรรมระดับเสี่ยงระดับปานกลาง (ร้อยละ 93.10) ปัจจัยที่มีผลต่อการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนทุเรียนที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P-value</em> < <em>0.05</em> ) ได้แก่ เกษตรกรอายุ ≥ 50-59 ปี เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัย 0.56 เท่า ของผู้มีอายุ ≥ 20-49 ปี (95% CI 0.33-0.96) เกษตรกรที่สูบบุหรี่ เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัย 2.73 เท่าของผู้มีที่ไม่สูบบุหรี่ ( 95% CI 1.20-6.20 ) เกษตรกรที่ลักษณะงานเสี่ยงสูง เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัย 2.04 เท่าของผู้ที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่ำ (95% CI 1.15-3.62) ปัจจัยด้านอายุ การสูบบุหรี่ ลักษณะการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ข้อสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ เสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพแก่กลุ่มปลูกทุเรียน</p>
2024-07-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/589
การศึกษาทางระบาดวิทยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตโรคเลปโตสไปโรสิส พื้นที่จังหวัดสตูล พ.ศ. 2564
2024-05-03T11:05:55+07:00
ปิยะพร แซ่อุ่ย
s_piyaporn@kkumail.com
ชูพงศ์ แสงสว่าง
s_piyaporn@kkumail.com
ธิดาพร เทพรัตน์
s_piyaporn@kkumail.com
ฟิตรา ยูโซะ
s_piyaporn@kkumail.com
<p>โรคเลปโตสไปโรสิสเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของจังหวัดสตูล การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบ retrospective cohort study เพื่อหาขนาดความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสจังหวัดสตูล โดยทำการศึกษาผู้ป่วยเข้าข่ายและยืนยันโรคเลปโตสไปโรสิสที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสตูล โรงพยาบาลมะนัง และโรงพยาบาลควนกาหลง จังหวัดสตูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564 ทำการศึกษาศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณาและศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ รูปแบบ Retrospective cohort study เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียนโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนาและหาขนาดความสัมพันธ์ด้วย Univariate analysis นำเสนอค่า Risk Ratio และช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบผู้ป่วยเข้าข่ายโรคเลปโตสไปโรสิส 42 ราย เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 4.76 มีภาวะหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิต 4 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย 3:1 มัธยฐาน 39.5 ปี (Q1,Q3 =12,47 ปี) มัธยฐานวันเริ่มป่วยถึงเข้ารับการรักษา และถึงให้ยาปฏิชีวนะเท่ากับ 2.5 วัน และ 3.5 วัน ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงและเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี (RR= 7.4, 95%CI=1.32-41.46) ผู้ที่มีอาการหนาวสั่น (RR= 6.67, 95%CI=1.14-38.83) ไอเป็นเลือด (RR= 6.67, 95%CI=1.14-38.83) ปัสสาวะสีเข้ม(RR= 13.67, 95%CI=4.59-40.62) มีเลือดออก (RR= 20.00, 95%CI=5.18-77.21) Septic shock (RR=20.00, 95%CI=5.18-77.21) และมีภาวะแทรกซ้อนแรกรับ (RR= 9.6, 95%CI=1.12-82.32) โรคเลปโตสไปโรสิสมีการดำเนินโรครวดเร็ว ควรสื่อสารให้ประชาชนในพื้นทีมีความรู้ในการป้องกันโรค หากป่วยรีบไปพบแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ต้องตระหนักสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ กำหนดแนวทางคัดกรอง วินิจฉัย และเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมลดความสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตลงได้</p>
2024-07-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/1283
การพัฒนาแบบจำลองการแพร่โรคไข้เลือดออกในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูมิทัศน์ ในพื้นที่ท่องเที่ยวและเขตเมืองของจังหวัดภูเก็ต
2024-05-28T08:05:25+07:00
สุรชาติ โกยดุลย์
thvbdosk@yahoo.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลวัตประชากรยุงลายพาหะนำโรค 2) สร้างแบบจำลองการแพร่โรคไข้เลือดออก รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์แบบการศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยอาคารบ้านเรือนในพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่ท่องเที่ยวจาก 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต พื้นที่ศึกษา 6 แห่ง รวมทั้งหมด 740 หลัง [อำเภอเมือง: 1) ตำบลตลาดใหญ่/ตลาดเหนือ ชุมชนตลาดใหญ่ 120 หลัง 2) ตำบลราไวย์ ชุมชนบ้านไทยใหม่ 123 หลัง อำเภอกะทู้: 3) ตำบลป่าตอง ชุมชนบ้านนาใน 121 หลัง 4) ตำบลกมลา ชุมชนบ้านนอกเล 121 หลัง อำเภอถลาง: 5) ตำบลเชิงทะเล ชุมชนบ้านบางเทานอก 126 หลัง 6) ตำบลสาคู ชุมชนบ้านบางม่าเหลา 129 หลัง] พื้นที่ศึกษาจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์พิจารณา 2 ประการ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลภูมิทัศน์และรูปแบบสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสภาพเศรษฐกิจสังคม 2) ขอบเขตของพื้นที่ศึกษาซึ่งสัมพันธ์กับขอบเขตพื้นที่การปกครอง ดำเนินการศึกษาระหว่างปี 2561 – 2562 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านสภาพภูมิทัศน์ สภาพภูมิศาสตร์ และสภาพนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อมของอาคารบ้านเรือนที่ส่งผลต่อจำนวนและความชุกชุมของยุงลายและการอุบัติของโรคไข้เลือดออก ผลการจำแนกและวิเคราะห์ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของจังหวัดภูเก็ตจากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม สรุปได้เป็น 9 ประเภทหลัก ได้แก่ พื้นที่การเกษตรมากที่สุด รองลงมาคือประเภทป่าไม้ พื้นที่ชุมชนเมือง รีสอร์ท สนามกอล์ฟ ทะเลและชายหาด พื้นที่การค้า พื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่ปศุสัตว์ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกับปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ ในด้านระดับความสูงจากทะเลปานกลาง สรุปได้ว่าผู้ป่วยเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตระดับความสูงไม่เกิน 100 เมตร สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศประเภทระดับความลาดชันของพื้นที่โดยส่วนใหญ่พบในเขตพื้นที่ราบ ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกับปัจจัยทางด้านภูมิอากาศในเรื่องปริมาณน้ำฝนรวมรายปี พบว่าความสัมพันธ์อาจเป็นไปในทิศทางแปรผันด้านบวก กล่าวคือ พื้นที่ทางด้านทิศใต้ส่วนใหญ่ปรากฏในเขตอำเภอเมืองภูเก็ตและอำเภอกะทู้จะแสดงค่าปริมาณน้ำฝนมาก และลดลงเมื่อมีตำแหน่งเลื่อนขึ้นไปทางทิศเหนือคืออำเภอถลาง สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเมื่อจำแนกรายอำเภอพบว่าอำเภอเมืองภูเก็ตมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดในทุกปี ข้อค้นพบจากการวิจัยเหล่านี้มีนัยสำคัญต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกล่วงหน้า และสามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาให้เกิดรูปแบบและแนวทางการจัดการโรคติดต่อนำโดยแมลงผสมผสานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p>
2024-07-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/984
ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของพนักงานขับรถส่งอาหาร ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
2024-06-08T14:25:08+07:00
อรญา มาลยาภรณ์
moraya.nb@gmail.com
ประภัสสร ดำแป้น
prapatsornmam@gmail.com
วรรณวรา หวานสนิท
varawansanit@gmail.com
กวิน อินทำ
gavin.intham@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional survey study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยความสัมพันธ์ที่มีต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของพนักงานขับรถส่งอาหาร ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถส่งอาหารที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 170 คน การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสถานที่แหล่งรวมพนักงานขับรถส่งอาหารอยู่ระหว่างรอรับอาหาร โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS) โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่าความชุกของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทางถนนจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2565 - 2566) ของพนักงานขับรถส่งอาหาร ร้อยละ 30.0 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก พบว่าจำนวนชั่วโมงการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหารโดยเฉลี่ยมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน และจำนวนรอบการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหารโดยเฉลี่ยมากกว่า 20 รอบต่อวัน มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value < 0.05</em>) งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์เชิงนโยบายในการกำหนดแนวทางและมาตรการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับผู้ขับขี่จักรยานยนต์ประเภทพนักงานส่งอาหาร และสามารถนำไปสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้</p>
2024-07-31T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา