วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi
<p><strong>วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย (Journal of Raj Pracha Samasai Institute)</strong><br /><u>กำหนดออก 3 ฉบับ</u><u>: </u>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน / ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม / ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม<br /><u>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</u><u>:</u> เป็นวารสารทางวิชาการที่มีวัตถุประสงค์ จัดทำและเผยแพร่โดยสถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และนักวิจัยได้มีโอกาสเผยแพร่ นิพนธ์ต้นฉบับ บทความฟื้นวิชา รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานผู้ป่วย การสอบสวนโรค นวัตกรรม บทความวิชาการ และบทความพิเศษที่เกี่ยวกับการส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ระบาดวิทยา การสอบสวนโรค อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย การพัฒนาคุณภาพงาน การตรวจพิเศษและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์และนโยบายทางสาธารณสุขการประเมินผลโครงการ การพัฒนาและประเมินหลักสูตร เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง <br /><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong><strong> </strong><strong>: </strong>ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ </p>
สถาบันราชประชาสมาสัย (Rajprachasamasai Institute)
th-TH
วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
3057-0816
<p><strong>ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์<br /></strong>บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสถาบันราชประชาสมาสัย ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความเห็นกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้นิพนธ์จำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน</p> <p><strong>นโยบายส่วนบุคคล<br /></strong>ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ระบุในวารสารสถาบันราชประชาสมาสัย จะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ ในวารสารเท่านั้น และจะไม่ถูกนำไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น หรือต่อบุคคลอื่นใด</p>
-
การพัฒนา Digital Platform เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2174
<p>โรคเรื้อนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย แม้จำนวนผู้ป่วยจะมีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงพบอุปสรรคสำคัญ เช่น ความล่าช้าในการรายงานผู้ป่วย การขาดมาตรฐาน การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน และข้อจำกัดทางเทคนิค ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค รวมถึงขัดขวางความพยายามระดับโลกในการกำจัดโรคเรื้อน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Zero Leprosy ขององค์การอนามัยโลก การศึกษานี้จึงมุ่งวิเคราะห์แนวทางนวัตกรรมในการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย โดยได้ดำเนินการทบทวนข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2558 - 2567) จากฐานข้อมูล PubMed และ Google Scholar โดยคัดเลือกบทความจากคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มดิจิทัล, AI, GIS และ Chatbot เพื่อพัฒนาและประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนนโยบาย Zero Leprosy<br />ผลการศึกษาพบว่า มีบทความวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อนใน PubMed จำนวน 7,528 บทความ ใน ScienceDirect จำนวน 9,282 บทความ และใน Google Scholar จำนวน 84,900 ใน Google Scholar โดยงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ AI สำหรับการตรวจคัดกรองโรคเรื้อนมีจำนวน 202, 307 และ 17,800 บทความตามลำดับ งานวิจัยเกี่ยวกับ GIS มี 11, 62 และ 5,170 บทความ และการใช้ Chatbot หรือแอปพลิเคชันมือถือมี 59, 155 และ 9,220 บทความ<br />งานวิจัยนี้เสนอแนวคิด Digital Platform เพื่อสนับสนุนการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย โดย AI ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ติดตามผู้ป่วย และเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล ลดความล่าช้าในการรักษา และลดความเสี่ยงของความพิการ ระบบ GIS ช่วยติดตามความครอบคลุมของการรักษา เฝ้าระวังการแพร่ระบาด และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานผ่าน Timeline และข้อมูลการเดินทางของผู้ป่วยเพื่อควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วน Chatbot หรือแอปพลิเคชันมือถือให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเรื้อน การป้องกัน และการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ตอบคำถามที่พบบ่อย และจัดเก็บข้อมูลสนทนาเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสาร และการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นนวัตกรรมเหล่านี้จึงมีศักยภาพในการขับเคลื่อนการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทยภายใต้นโยบาย Zero Leprosy ขององค์การอนามัยโลก</p>
พงษ์สุธีร์ ทองเกลี้ยง
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
9 1
55
63
-
การใช้กรอบการกำจัดโรคเรื้อนขององค์การอนามัยโลกจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาโรคเรื้อนของประเทศไทย
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2502
<p>การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่และการกระจายของโรค โดยจำแนกพื้นที่ระดับอำเภอของประเทศไทย จากการใช้ข้อมูลระหว่างปี 2543 - 2566 ตามกรอบการกำจัดโรคเรื้อนขององค์การอนามัยโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับการแพร่เชื้อโรคเรื้อนที่เกิดขึ้น และความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ทั้งนี้เพื่ออธิบายการกระจายของโรคเรื้อน และผลการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาโรคเรื้อน แสดงด้วยแผนที่พร้อมทั้งเปรียบเทียบความสอดคล้องกับการใช้เกณฑ์ปัจจุบันสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติ Cohen’s Kappa (K) ประเมินความสอดคล้องการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ฯ กับเกณฑ์ปัจจุบัน<br />ผลการวิเคราะห์ 928 อำเภอทั่วประเทศ เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำเร็จในการกำจัดโรคเรื้อนในสองทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีอำเภอที่ยังดำเนินการอยู่ในระยะที่ 1 ระยะก่อนหยุดการแพร่กระจายเชื้อจำนวน 7 อำเภอ ระยะที่ 2 ระยะหยุดการแพร่กระจายเชื้อจนถึงระยะกำจัดโรคเรื้อนจำนวน 62 อำเภอ และสามารถบรรลุการกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จ คือ อยู่ในระยะที่ 3 ระยะเฝ้าระวังหลังการกำจัดโรคเรื้อนจำนวน 241 อำเภอ และมีสถานะไม่ใช่โรคประจำถิ่นจำนวน 618 อำเภอ การเปรียบเทียบผลการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ฯ ด้วยเกณฑ์ที่ต่างกัน 2 วิธีดังกล่าว โดยกำหนดให้อำเภอที่อยู่ในระยะที่ 1 และ 2 เป็นอำเภอข้อบ่งชี้ฯ ระหว่างปี 2566 - 2568 พบว่า การจำแนกเป็นอำเภอข้อบ่งชี้ฯ มากกว่าเกณฑ์ปัจจุบัน และพบว่า ให้ผลที่สอดคล้องตรงกันร้อยละ 91, 93 และ 94 ตามลำดับ โดยมีค่าความสอดคล้องระดับปานกลาง Cohen’s Kappa 0.481, 0.498 และ 0.527 ตามลำดับ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ชี้ให้เห็นถึงการกระจุกของโรคในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของอำเภอที่ยังไม่สามารถกำจัดโรคเรื้อนได้สำเร็จ โดยอำเภอเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสในภาคใต้ การศึกษานี้จึงแนะนำให้สร้างเสริมความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและมาตรการควบคุมโรคเรื้อน เพื่อจัดการกับพื้นที่ที่มีปัญหาแพร่เชื้อของโรคเรื้อนอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการทั้ง 2 กลยุทธ์ ได้แก่ การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เชิงรับผ่านการสร้างความรู้และความตระหนักโรคเรื้อนในชุมชน และการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เชิงรุกผ่านการตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรคเรื้อน ดังนั้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก<br />เป็นสิ่งสำคัญในการเร่งรัดการกำจัดโรคเรื้อนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง<br />การนำกรอบการกำจัดโรคเรื้อนขององค์การอนามัยโลกมาใช้ในการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ฯ เน้นย้ำความสำคัญในการนำวิธีการมาตรฐานมาใช้ และทำให้ผู้จัดการโครงการควบคุมโรคเรื้อนระดับประเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามความก้าวหน้า ระบุพื้นที่ที่มีภาระโรคสูงได้อย่างแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญโรคเรื้อนและผู้เกี่ยวข้องร่วมกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานด้วย เพื่อให้การกำจัดโรคเรื้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แนวทางบูรณาการนี้จะส่งเสริมให้ประเทศไทยบรรลุการกำจัดโรคเรื้อนตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกในเวลาที่เหมาะสมและช่วยให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาในอำเภอที่มีการระบาดของโรคเรื้อนสามารถทำได้ทันท่วงทีและมีหลักฐานสนับสนุน</p>
ธีระศักดิ์ หุ้นชัยภูมิ
ศิรามาศ รอดจันทร์
ชุติวัลย์ พลเดช
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
9 1
64
77
-
แปรงสีฟันอัจฉริยะและผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก (การบูรณาการเทคโนโลยี และการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม)
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2872
<p><strong>บทนำ </strong>โรคทางช่องปากส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลก โดยมีผลต่อสุขภาพกาย อารมณ์ และเศรษฐกิจ แปรงสีฟันอัจฉริยะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาของแปรงสีฟันแบบเดิม และแปรงสีฟันไฟฟ้าแบบทั่วไปด้วยคุณสมบัติของการให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ การเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน และการดูแลสุขภาพช่องปากแบบเฉพาะบุคคล ช่วยปรับปรุงสุขอนามัยในช่องปากสำหรับประชากรกลุ่มต่างๆ<br /><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาการพัฒนาและประสิทธิภาพของแปรงสีฟันอัจฉริยะในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยเน้นผลกระทบต่อกลุ่มประชากรที่หลากหลายและคุณสมบัติทางเทคโนโลยี ประโยชน์ในการกำจัดคราบจุลินทรีย์และดูแลเหงือก รวมถึงความท้าทายและความสามารถของแปรงสีฟันอัจฉริยะในปัจจุบันและศักยภาพในอนาคต เพื่อพัฒนาการดูแลสุขอนามัยในช่องปาก<br /><strong>วิธีการศึกษา </strong>ทบทวนวรรณกรรมแบบ Systematic review และวิเคราะห์การพัฒนาการใช้งานและประสิทธิภาพของแปรงสีฟันอัจฉริยะ โดยคัดเลือกงานวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในปี ค.ศ. 2000 - 2024 จาก PubMed, Scopus และ Google Scholar โดยใช้คำค้นหาเช่น "แปรงสีฟันอัจฉริยะ" และ "เทคโนโลยีสุขภาพช่องปาก" งานวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องศึกษาผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในประชากรที่หลากหลาย และมีการตัดบทความที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษหรือไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ออก<br /><strong>ผลการศึกษา </strong>แปรงสีฟันอัจฉริยะปรับปรุงเทคนิคการแปรงฟัน ลดคราบจุลินทรีย์ และป้องกันโรคเหงือก มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น การให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง Machine Learningทำให้การแปรงฟันมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยเพิ่มอัตราการขจัดคราบจุลินทรีย์ได้สูงถึง 87% เมื่อเทียบกับแปรงสีฟันทั่วไป นอกจากนี้เครื่องมือแบบอินเทอร์ แอคทีฟ เช่น เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) และเกมมิฟิเคชัน อย่าง Brush Monster ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลช่องปากในเด็กและบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาทำให้สามารถแปรงฟันได้อย่างอิสระและลดภาระของผู้ดูแล แปรงสีฟันอัจฉริยที่มีบลูทูธและระบบติดตามข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน ยังช่วยให้การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้แปรงสีฟันอัจฉริยะยังช่วยทำความสะอาดอวัยวะเทียมในช่องปาก (Prosthetic cleaning) สำหรับผู้ไร้ฟัน (Edentulous patients) ช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือก และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน พบความท้าทายด้านราคาที่สูงและปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ยังคงเป็นอุปสรรคที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเน้นไปที่นวัตกรรมที่ยั่งยืนและการเข้าถึงที่เท่าเทียมกัน<br /><strong>สรุป </strong>แปรงสีฟันอัจฉริยะเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาการดูแลสุขภาพช่องปาก และช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มต่างๆ การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ร่วมกับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ นโยบายสนับสนุน และการทำงานร่วมกัน ระหว่างสาขาวิชาจะช่วยผลักดันให้การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นไปอย่างยั่งยืนและเข้าถึงได้ทั่วโลก</p>
อันติมา อุดมศิริ
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
9 1
30
42
-
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการค้นหารักษา เพื่อความสำเร็จการกำจัดและปลอดโรคเรื้อน
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/3114
<p>โรคเรื้อน (Leprosy) เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อ <em>Mycobacterium Lepare</em> ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการทางผิวหนังและเส้นประสาท หากไม่ได้รับการค้นพบหรือรักษาแต่ต้นอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องอาจนำไปสู่ความพิการ รวมถึงการถูกตีตราในสังคมปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงมีบทบาทสำคัญในการเร่งรัดการค้นหาและรักษาผู้ป่วยเพื่อเป้าหมายสูงสุดในการกำจัดและปลอดโรคเรื้อนอย่างสมบูรณ์</p>
ธีระ รามสูต
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
9 1
1
2
-
ผลลัพธ์ของการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการระงับความรู้สึก แบบทั่วร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อความวิตกกังวล
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2756
<p>การเตรียมความพร้อมก่อนการระงับความรู้สึก จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทำให้เกิดความร่วมมือในการดูแลรักษา เพื่อลดความวิตกกังวลและเพิ่มความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อระดับความวิตกกังวลและระดับความรู้ในการปฏิบัติตัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจร่วมกับหัตถการอื่น โดยได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในสถาบันโรคทรวงอก จำนวน 70 ราย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2567 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 ราย และกลุ่มทดลอง 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญแบบวัดความรู้การปฏิบัติตัวก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8 กลุ่มทดลองได้รับการเตรียมความพร้อม โดยแผนการสอน แผ่นภาพพลิกและแผ่นพับ การปฏิบัติตัวก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ที่ผู้วิจัยพัฒนาตามแนวคิดการปรับตนเองของลีเวนทาลและจอห์นสัน และแนวคิดความวิตกกังวลของสไปล์เบอร์เกอร์และคณะ ผ่านการตรวจสอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติร้อยละ และสถิติแมนท์-วิทนีย์ ยู<br />ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองมีแนวโน้มลดลง แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.052) ส่วนระดับความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย เพื่อผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนการระงับความรู้สึกสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001)<br />สรุปการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สามารถเพิ่มความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจได้</p>
อติภา มีแสง
กิตติมา พูนประสิทธิ์
ธิดา สายปัน
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
9 1
3
17
-
ประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่: การวิจัยเชิงคุณภาพ
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2813
<p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงตามเกณฑ์เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด 10 ราย ที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ปี 2566 ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแนวคำถามงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br />ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักได้สะท้อนประเด็นสำคัญจากการเข้ารับบริการ 3 ประเด็น คือ 1. ประสบการณ์ในการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน ได้แก่ เหตุผลในการเข้ารับบริการเนื่องจากความต้องการรักษาต่อเนื่องตามสิทธิการรักษา ได้รับคำแนะนำจากบุคคลที่เคยมารับบริการความพร้อมด้านบุคลากร สถานที่และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนพึงพอใจต่อการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยกายภาพบำบัดกิจกรรมบำบัด และการฟื้นฟูด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน 2. ปัญหาและอุปสรรคในการเข้ารับบริการ คือ ขาดผู้ดูแลส่งผลให้ผู้ให้ข้อมูลหลักขาดโอกาสเข้ารับบริการ ขาดความต่อเนื่องในการรับบริการในวันหยุดและยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 3. ความต้องการในการเข้ารับบริการ คือ ต้องการได้รับการฟื้นฟู<br />ทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้น ต้องการให้มีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางในวันหยุดต้องการอุปกรณ์ช่วยหรืออุปกรณ์เสริมในการฟื้นฟูสมรรถภาพ และต้องการความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางแบบผู้ป่วยในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น</p>
ปณิดา ยศหนัก
ช่อผกา หลงละเลิง
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
9 1
18
29
-
รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในสามเณร และพระพี่เลี้ยง ในกิจกรรมบรรพชาภาคฤดูร้อน ณ วัดแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน 2566
https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2778
<p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลปทุมธานีว่า พบผู้ป่วยสามเณรที่เข้าร่วมกิจกรรมบรรพชาสามเณรประมาณ 5,000 รูป จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2566 ณ วัดแห่งหนึ่ง มีอาการเข้าข่ายตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่จำนวน 5 ราย และยังพบผู้มีอาการสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่อีกหลายราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี จึงได้ออกสอบสวนโรคและควบคุมป้องกันโรคร่วมกับคณะกรรมการจัดอบรมของวัดแห่งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 21 - 25 เมษายน 2566 เป็นกรณีศึกษาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้ระบาดและป้องกันการระบาดในการจัดงานครั้งถัดไป<br /><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษาระบาดวิทยาเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่มารับบริการกับโรงพยาบาลสนามของวัดแห่งหนึ่ง และสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่ร่วมกับการศึกษา เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยศึกษาเชิงวิเคราะห์ด้วย Case-control study แบบ 1 : 2 โดยเปรียบเทียบกิจกรรม 4 กิจกรรมคือ 1. การเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมภายในไซต์อบรมที่มีการระบาด 2. การเข้าร่วมกิจกรรมในห้องนิทรรศการ 3. การเข้าร่วมชมภาพยนตร์ที่ห้องฉาย 3D 4. การเข้าร่วมพิธีเวียนประทักษิณ (บรรพชา) ร่วมกับศึกษาทางห้องปฏิบัติการและศึกษาทางสิ่งแวดล้อม<strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> ระหว่างวันที่ 3 - 30 เมษายน 2566 พบผู้ที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 327 ราย โดยพบสามเณร 308 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 6.95 พระพี่เลี้ยง 19 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 4.37 แต่ไม่พบการป่วยของเจ้าหน้าที่ในโครงการและไม่พบผู้เสียชีวิต โดยช่วงอายุที่พบจำนวนป่วยสูงสุด 10 - 14 ปี จากไซด์อบรมทั้งหมด 10 ไซต์ จากผลการศึกษาพบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมภายในไซต์อบรมที่มีการระบาด ส่วนอีก 3 กิจกรรมภาพรวม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมในห้องนิทรรศการ การเข้าร่วมชมภาพยนตร์ที่ห้องฉาย 3D และการเข้าร่วมพิธีเวียนประทักษิณ (บรรพชา) ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาดเนื่องจากกิจกรรมทั้ง 3 มีการกำกับระเบียบในการทำกิจกรรม ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี RT-PCR พบสารพันธุกรรมไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3 การศึกษาสิ่งแวดล้อมพบว่า วัดจัดให้มีการแยกสถานที่ 10 ไซต์อบรมไม่ให้ติดต่อสัมผัสกัน แต่สามเณรยังสามารถเดินทางข้ามไซต์อบรมเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับสามเณรที่อยู่ในไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ไซต์ของตนได้<br /><strong>สรุปและวิจารณ์:</strong> การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้ สาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A(H3) ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค คือ การเข้าทำกิจกรรมร่วมกับไซต์ที่มีการระบาด ในการจัดกิจกรรมปีต่อไปควรออกแบบไม่ให้มีการติดต่อกันของสามเณรระหว่างไซต์อบรมอย่างเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น</p>
อภิชน จีนเสวก
กาญจนวรรณ บัวจันทร์
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
9 1
43
54