สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีและการดื้อยาต้านไวรัส ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

ศิวิมล ภูมินิยม

บทคัดย่อ

โครงการเข้าถึงยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติของประเทศไทยส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงยาต้านไวรัสเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาที่เพิ่มขึ้น การวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัส ความชุกของการดื้อยา รูปแบบของการกลายพันธุ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื้อยาต้านไวรัสในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมาจากผลการตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือด (HIV viral load) ณ ห้องปฏิบัติการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2567 การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการดังนี้         1) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยใช้ค่าสัดส่วน 2) วิเคราะห์รูปแบบการกลายพันธุ์ของจีโนไทป์ HIV-1 ด้วยเทคโนโลยีเน็กซ์เจเนเรชั่นซีเควนซิ่ง และ          3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื้อยาโดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างที่ศึกษาจำนวนทั้งหมด 41,002 ตัวอย่าง เป็นผู้ติดเชื้อเพศชายร้อยละ 55.4 เพศหญิงร้อยละ 44.6 อายุเฉลี่ย 38.7 ปี ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.1) มีค่า HIV viral load น้อยกว่า 200 copies/mL ในขณะที่ ส่วนน้อย (ร้อยละ 4.0) มีค่ามากกว่า 1,000 copies/mL ความชุกการดื้อยาเท่ากับร้อยละ 1.8 การดื้อยาต้านไวรัสเฉพาะยากลุ่มเอ็นเอ็นอาร์ทีไอ (NNRTIs) พบมากที่สุด (ร้อยละ 46.0) ตามด้วยยากลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTIs) ร่วมกับ NNRTIs ร้อยละ 40.0 ตำแหน่ง K103N/S และ V106I/M พบการกลายพันธุ์มากที่สุดในยากลุ่ม NNRTIs บ่งชี้ระดับการดื้อยา nevirapine (NVP) และ efavirenz (EFV) ระดับสูงผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื้อยาต้านไวรัสในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าทุกปัจจัยศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการดื้อยาผ่านกลไกการยับยั้งเอนไซม์Reverse Transcriptase ข้อค้นพบจากการวิจัยเหล่านี้เสนอแนะการเลือกใช้ยาต้านไวรัสที่เหมาะสม ในขณะที่กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีความล้มเหลวทางไวรัสวิทยาและกลุ่มที่มีค่า HIV viral load มากกว่า 1,000 copies/mL แต่ไม่พบการกลายพันธุ์เป็นกลุ่มที่ควรให้ความสำคัญในการลดปริมาณไวรัสให้ต่ำที่สุด

Article Details

How to Cite
1.
ภูมินิยม ศ. สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีและการดื้อยาต้านไวรัส ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย . J Dis Prev Control Integr Health Sci [อินเทอร์เน็ต]. 29 เมษายน 2025 [อ้างถึง 18 พฤษภาคม 2025];1(1):1-16. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/3065
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สภาเทคนิคการแพทย์. คู่มือการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีสําหรับเทคนิคการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: P.S. Service; 2560.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสุขภาพคนไทย 2562: สื่อสังคมสื่อสองคม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

Division of AIDS and STIs. HIV info hub [Internet]. [cited 2024 Nov 22]. Available from: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

National Health Security Office. NAP web report [Internet]. Nonthaburi: National Health Security Office; [cited 2024 Nov 27]. Available from: http://napdl.nhso.go.th/NAPWebReport

ไชยเชษฐ์ นานอก, ธีระพจน์ สิงห์โตหิน, สุกัญญา สุทธิบริบาล. ผลการตรวจการดื้อยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสในตัวอย่างส่งตรวจที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2564. [ไม่ระบุแหล่งพิมพ์และปี].

Roche Diagnostics. Package insert COBAS® AmpliPrep/COBAS® TaqMan® HIV-1 Test, version 2.0.

Roche Diagnostics. Package insert Cobas® HIV-1.

Vela Diagnostics. Package insert Sentosa® SQ HIV1 Genotyping Assay.

ปรีญาภัทร ตรีบุญเมือง. ผลการตรวจการดื้อยาในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านเอชไอวีในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด: การติดตามย้อนหลัง. Health Sci J Thai. 2564;3(1):7.

Muccini C, Pinyakorn S, Sirivichayakul S, Kroon E, Sacdalan C, Crowell TA, et al. Prevalence trend of transmitted drug resistance in a prospective cohort of Thai people with acute HIV infection. J Acquir Immune Defic Syndr. 2021;87(5):1173-7.

จริยา ผดุงพัฒโนดม. สถานการณ์การดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4. 2563;10(2):48-57.

สุวรรณี กีรติวาสี, พนิดา มณีศรีวงศ์กูล, สินิณนาฏ อินทรประพันธ, ณัฐกฤตา ธีระกุลพิศุทธิ์, พลกฤษณ์ เที่ยงอยู่, นิรมล พิมนํ้าเย็น. ความชุกของเชื้อดื้อยาตานไวรัสเอชไอวีด้วยการใช้เทคโนโลยีเน็กซ์เจเนเรชั่นซีเควนซิ่งในเขตภาคเหนือตอนลาง. วารสารโรคเอดส์. 2565;34(2):100-12.

Pattanodom P. The situation of HIV-1 antiretroviral drugs resistance in Pranangklao Hospital. J Med Public Health Reg 4. 2020;10(2):48-57.

สุรพล เกาะเรียนอุดม. Surveillance of HIV-1 antiretroviral drug-resistant strains in Thailand. Dis Control J. 2552;35(1):23-30.

Standford University. HIV drug resistance database [Internet]. [cited 2024 Dec 2]. Available from: https://hivdb.stanford.edu/