รายงานผู้ป่วยไข้มาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมที่เดินทางกลับจากประเทศซูดานใต้ เพื่อการเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศไทยจากประเทศที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรีย

Main Article Content

กีรติ กิตติวัฒนาวงศ์
โสภาวดี มูลเมฆ
ราเชนทร์ แตงอ่อน
กามัล กอและ
ธีรกมล เพ็งสกุล

บทคัดย่อ

มาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในสกุล Plasmodium โดยเฉพาะ Plasmodium falciparumซึ่งเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดภาวะรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง เชื้อแพร่กระจายผ่านการกัดของยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) และมีวงจรชีวิตทั้งในยุงก้นปล่องและมนุษย์ รายงานทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ป่วย P. falciparum อาจมีระยะฟักตัวนานกว่าปกติ และสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่ระบาดของโรค การศึกษานี้มุ่งเน้นผู้ป่วยมาลาเรียชนิดP. falciparum ที่เดินทางกลับจากประเทศซูดานใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียสูง โดยศึกษาผู้ป่วย 4 รายที่ มีประวัติเดินทางไปทำงานในซูดานใต้และป่วยเป็นมาลาเรียภายหลังเดินทางกลับประเทศไทย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังและติดตามผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเนื่องจากมีผู้ป่วยมาลาเรียชนิดP. falciparum จำนวน 2 ราย มีระยะฟักตัวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ และเกิดภาวะติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ การศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการพัฒนามาตรการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
1.
กิตติวัฒนาวงศ์ ก, มูลเมฆ โ, แตงอ่อน ร, กอและ ก, เพ็งสกุล ธ. รายงานผู้ป่วยไข้มาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมที่เดินทางกลับจากประเทศซูดานใต้ เพื่อการเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศไทยจากประเทศที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรีย. J Dis Prev Control Integr Health Sci [อินเทอร์เน็ต]. 29 เมษายน 2025 [อ้างถึง 18 พฤษภาคม 2025];1(1):72-83. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JODPCIH/article/view/3073
บท
รายงานผู้ป่วย

References

นันทวดี เนียมนุ้ย. โรคมาลาเรีย (Malaria). วารสารเทคนิคการแพทย์. 2555;40:4289-99.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2563. หน้า 4-5.

Jenks J, Heidari S, Watts L, Nader C. A case of Plasmodium falciparum malaria in a man 6 months after visiting a malaria-endemic region. Infect Dis Clin Pract. 2012;20(3):173-6.

Berrevoets MAH, Sprong T, Meis JF, Dofferhoff ASM. Plasmodium falciparum malaria recrudescence occurring 2.5 years after leaving an endemic country. Neth J Med. 2013;71(8):426-8.

Sleiman E, Upadhyaya A, Glaser A, Krzyzak M. A case of Plasmodium falciparum malaria with a prolonged incubation period of four years. Cureus. 2020;12(3):e7176. doi:10.7759/cureus.7176.

Khan WA, Galagan SR, Prue CS, Khyang J, Ahmed S, Ram M, et al. Asymptomatic Plasmodium falciparum malaria in pregnant women in the Chittagong Hill Districts of Bangladesh. PLoS One. 2014;9(5):e98442. doi:10.1371/journal.pone.0098442.

Prah DA, Laryea-Akrong E. Asymptomatic low-density Plasmodium falciparum infections: parasites under the host’s immune radar? J Infect Dis. 2024;229(6):1913-8. doi:10.1093/infdis/jiad581.

Hailemeskel E, Tebeje SK, Ramjith J, Ashine T, Lanke K, Behaksra SW, et al. Dynamics of asymptomatic Plasmodium falciparum and Plasmodium vivax infections and their infectiousness to mosquitoes in a low transmission setting of Ethiopia: a longitudinal observational study. Int J Infect Dis. 2024;143:1070.

Ministry of Health, South Sudan. DHIS2 [Internet]. 2025 [cited 2025 Mar 1]. Available from: https://education.dhis2.org/south-sudan-launches-tvet-mis/

World Health Organization. Malaria in South Sudan: past, present and future [Internet]. 2025 [cited 2025 Mar 2]. Availablefrom:https://www.afro.who.int/sites/default/files/2025-03/Knowledge%20Management%20Series%20for%20Health_Malaria %20in%20South%20Sudan_%20Past%20Present%20and%20Future.pdf

South Sudan Health Cluster. Health Cluster Bulletin [Internet]. 2024 [cited 2025 Apr 23]. Available from: https://uploads.geobingan.info/attachment/1b53a2d5094940 ebafcda124d7e186ff.pdf

World Health Organization. World malaria report 2024 [Internet]. Geneva: WHO; 2024 [cited 2025 Apr 23]. Available from: https://www.who.int/teams/global-malaria-programme/reports/world-malaria-report-2024

โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียแห่งประเทศไทย. ระบบมาลาเรียออนไลน์ [Internet]. 2568 [สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2567]. แหล่งข้อมูล: https://malaria.ddc.moph.go.th/malariar10/home.php

Afriyie SO, Addison TK, Gebre Y, Mutala AH, Antwi KB, Abbas DA, et al. Accuracy of diagnosis among clinical malaria patients: comparing microscopy, RDT and a highly sensitive quantitative PCR looking at the implications for submicroscopic infections. Malar J. 2023;22:76. doi:10.1186/s12936-023-04506-5.

Grignard L, Nolder D, Sepúlveda N, Berhane A, Mihreteab S, Kaaya R, et al. A novel multiplex qPCR assay for detection of Plasmodium falciparum with histidine-rich protein 2 and 3 (pfhrp2 and pfhrp