ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของประชาชนตำบลบ้านคีรีวง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

Main Article Content

ฟ้าใส ประสารรส

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของประชาชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพในครอบครัว ระดับการศึกษา อาชีพและจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ความรู้ เจตคติ กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคีรีวง ได้มาโดยสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ส่วน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้เท่ากับ 0.74 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับได้เท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.10 กลุ่มอายุระหว่าง 49 ปีขึ้นไป มากสุด ร้อยละ 35.90  ส่วนใหญ่การศึกษาระดับประถมศึกษามี ร้อยละ 59.70 ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้าง ร้อยละ24.20 จำนวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ 1 - 4 คน  ร้อยละ 61.10 ความรู้การคัดแยกขยะจากครัวเรือน มีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับความรู้ปานกลาง ( = 5.74, S.D = 1.61) เจตคติการคัดแยกขยะจากครัวเรือน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =18.37, S.D = 3.22) พฤติกรรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับพฤติกรรมปฏิบัติบางครั้ง ( =23.00, S.D = 4.31) และปัจจัยด้านระดับการศึกษา ความรู้ เจตคติ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือน ได้ร้อยละ 43.10 (R2=.431, β= .748) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ประสารรส ฟ. (2025). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนของประชาชนตำบลบ้านคีรีวง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล . วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้, 1(1), 65–77. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2614
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ.(2568).ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ.สืบค้นจากhttps://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php

กรมควบคุมมลพิษ.(2565).รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565.สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/29509/

กัญธณิฌาศ์ วัฒน์พานิชกุล (2562). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาล

นครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสหศาสตร์,19(2): 55-72.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, บรรณกร เสือสิงห์, วัฒนศักดิ์ จันทร์แปลง, วิเชียร พุทธภูมิ, บุญชนัฎฐา

พงษ์ปรีชา (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของแม่บ้านในอําเภอเขาค้อ จังหวัด

เพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,20(1): 203-212.

ณัชชลิดา ยุคะลัง, จารุวรรณ วิโรจน์, กู้เกียรติ ทุดปอ, นิรุวรรณ เทริน์โบล์ (2563). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ที่มีการขยายชุมชนอย่างรวดเร็ว: กรณีศึกษาชุมชนข้างเคียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,13(1): 632-638.

ไทยพีบีเอส.(2567). "ขยะล้นเมือง" คนไทยสร้างขยะเฉลี่ย 7.3 หมื่นตัน/วัน.สืบค้นจาก

https://www.thaipbs.or.th/news/content/340722

นภัส น้ำใจตรง, นรินทร์ สังข์รักษา (2562). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในตำบล

กระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารชุมชนวิจัย,13(1): 179-190.

ศาลิมาร์ เกิดกลิ่นหอม(2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย

ชุมชน: เทศบาลนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิต

พัฒนาบริหารศาสตร์

สกุลรัตน์ โทนมี, รัชนีกร จันสน, วิภาดา ศรีเจริญ, พิสมัย กลอนกลาง, นงลักษณ์ เจริญไพบูลย์ลาภ.

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ตำบลตะเบาะ อำเภอ

เมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ,13(2): 32-44.

สุทธิ์ บุญโทร และพีรญา อึ้งอุดรภัคดี.(2559). ประสิทธิผลการจัดการปริมาณขยะชุมชนจากการใช้ หลัก 5Rs กรณีศึกษา ตำบลทุ่งทราย จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2560) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.