ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดบริการของผู้รับบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจความคิดเห็น โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เคยรับบริการในคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร จำนวน 310 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 56.8) มีอายุ 36-59 ปี (ร้อยละ 58.7) มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. (ร้อยละ 32.3) ประกอบอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 23.9) และใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ร้อยละ 52.9) โดยแรงจูงใจหลักในการเข้ารับบริการเกิดจากการเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง (ร้อยละ 18.8) ความคาดหวังต่อคุณภาพบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D. = 0.644) โดยด้านการแนะนำข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.94) ด้านความพึงพอใจในการจัดบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.544) โดยด้านการบริการต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.15) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความคาดหวังในการรับบริการด้านความน่าเชื่อถือในการตรวจรักษา และด้านการตอบสนอง ท่าทีการแสดงออก มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่น กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Nyakutombwa, C. P., Nunu, W. N., Mudonhi, N., & Sibanda, N. (2021). Factors Influencing
Patient Satisfaction with Healthcare Services Offered in Selected Public Hospitals in Bulawayo,
Zimbabwe. The Open Public Health Journal, 14(1), 181-192.
https://doi.org/10.2174/1874944502114010181
Oliver, R. L. (1980). A cognitive model of the antecedents and consequences of satisfaction
decisions. Journal of Marketing Research, 17(4), 460-469.
World Health Organization. (2022). Primary health care. Retrieved from
https://www.who.int/health-topics/primary-health-care
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารและ
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ.
กัลยา ไชยวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการจัดบริการคลินิกหมอครอบครัว
อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยนเรศวร.พิษณุโลก.ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:
สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
มณีรัตน์ ปัจจะวงษ์ และปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2563). ประเมินผลการให้บริการของ
หน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามการรับรู้ของประชาชนที่เคย
ใช้บริการ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(3), 1-20.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
วิรัตน์ ชนะสิมมา, และ ทตมัล แสงสว่าง. (2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ
ของประชาชนที่ชำระภาษีท้องถิ่นกับเทศบาลตำบลหนองนาคำ กรณีศึกษาตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ
จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.
กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2563). มาตรฐานและเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการ
สุขภาพปฐมภูมิ.กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.