การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566: ระยะที่ 1 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ดาวรุ่ง คำวงศ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • มโน มณีฉาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

สัญญาณเตือน, ผลกระทบต่อสถานะสุขภาพ, การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสัญญาณเตือนการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดผลกระทบทางสุขภาพที่เชื่อมโยงจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากร การจัดบริการสุขภาพ และการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อบจ. ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์บุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลในพื้นที่ รพ.สต. และ อบจ. ในพื้นที่กรณีศึกษา 12 พื้นที่ใน 6 จังหวัด คัดเลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และ (2) การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เพื่อสังเคราะห์ชุดตัวชี้วัดและสารสนเทศตามห่วงโซ่ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล เชื่อมโยงการวัดผลการเข้าถึงการใช้บริการ คุณภาพของการดูแล ผลลัพธ์ทางสุขภาพ และต้นทุนของการดูแล ที่เป็นสัญญาณเตือนความเสี่ยงของผลกระทบทางด้านสุขภาพเบื้องต้น โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและงานสาธารณสุขจากฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปีงบประมาณ 2561-2565 เป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนการถ่ายโอน และ ข้อมูลในปีงบประมาณ 2566 ซึ่งเป็นรอบปีแรกของการถ่ายโอน

ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า กรอบแนวคิดของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย (1) ผลลัพธ์ทางสุขภาพ (2) ต้นทุนของการดูแล (3) ผลลัพธ์งานสาธารณสุข (4) การเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ (5) การได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ และการได้รับการดูแลรักษาทันเวลา (6) การดำเนินงานตามกรอบกิจกรรมและเป้าหมายของงานสาธารณสุข และ (7) ทรัพยากรและรูปแบบการบริหารจัดการ เป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปสู่สัญญาณเตือนที่จะใช้ในการติดตามประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. ในระยะต่อไปได้  สถิติของตัวชี้วัดหลายตัวบ่งชี้ผลกระทบในเบื้องต้นได้ จากการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับของผลการดำเนินการ ความแตกต่างของแนวโน้มของผลการดำเนินการต่อเนื่อง และความแตกต่างของความเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มของผลการดำเนินการภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต.

กระทรวงสาธารณสุข สปสช. คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักนายกรัฐมนตรี และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันทบทวน วางแผนและ ออกแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสุขภาพต่อประชาชน อันเป็นผลจากการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. รวมถึงควรทบทวนและออกแบบระบบในการกำกับดูแลระบบสาธารณสุขในพื้นที่ด้วย

References

Cohen JM, Peterson SB. Administrative decentralization: strategies for developing countries. Colorado: Kumarian Press; 1999.

Wei YD. Regional development in China: states, globalization, and inequality. London and New York: Routledge; 2000.

Srisasalux J, Israchanwanich S. Health system reform and health decentralization. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2015. (in Thai)

Quality and Standard Service Unit Support Office. Service unit registration audit guideline for main contractor service unit, primary care service unit, coordinate service unit. Bangkok: National Health Security Office; 2016. (in Thai)

Sudhipongpracha T, Choksettakij W, Phuripongthanawat P, Kittayasophon U, Satthatham N, Onphothong Y. Policy analysis and policy design for the transfer of subdistrict health promotion hospitals to provincial administrative organizations (PAOs). Nontaburi: Health Systems Research Institute; 2021. (in Thai)

Local Government Commission. Transferring missions from Tambon health promoting hospital to local government. Bangkok: The National Legislative Assembly; 2017. (in Thai)

Department of Local Administration. List of sub-district Health Promoting Hospitals and health stations that are transferred to local administrative organizations. Bangkok: Ministry of Interior; 2021. (in Thai)

Nethipo V. The political process of public health decentralization in Thailand: studying the case of primary care units. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2010. (in Thai)

Tae-arak P. Alternative models of health care decentralization. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2010. (in Thai)

Srisasalux J, Vichathai C, Kaewvichian R. Experience with public health decentralization: the health center transfer model. Journal of Health Systems Research 2009;3(1):16-34. (in Thai)

Sangmano S. Problems of transferring district health promoting hospitals from the Ministry of Public Health to local government organiztions : Chiang Mai province (master’s thesis). Chiang Mai: ChiangMai Rajabhat University; 2014. (in Thai)

Kulthanmanusorn A, Saengruang N, Wanwong Y, Kosiyaporn H, Witthayapipopsakul W, Srisasalux J, et al. Evaluation of the devolved health centers: synthesis lesson learnt from 51 health centers and policy options. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2018. (in Thai)

Health Systems Research Institute. Transfer of Tambon health promoting hospitals (THPH) to the provincial administrative organizations (PAOs) [Internet]. 2022 [cited 2024 Jan 31]. Available from: https://datastudio.google.com/u/0/reporting/4552d076-ab49-469f-9e05-e1505be8f3c8/page/p_2pwuh693xc. (in Thai)

Pitayarangsarit S, Tosanguan J, Hathaichanok S. The role of local government organizations in health promotion and policy proposals on decentralization in health promotion. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2010.

Techaatik S, Nakham P. Studying and monitoring the development of the transfer system of public health centers to local government organizations. Journal of Health Systems Research 2009;3(1):113-30. (in Thai)

Leethongdee S. Implementation of health decentralization: progress evaluation and impact analysis. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2011. (in Thai)

Capuno JJ, Schustereder G. The correlates of local government responsiveness under decentralization: do performance ratings matter in the Philippines?. International Journal of Public Administration 2015;38(7):521-32.

Kelekar U, Llanto G. Evidence of horizontal and vertical interactions in health care spending in the Philippines. Health Policy and Planning 2015;30(7):853-62.

National Health Security Office. Manual of assessment criteria for registration of regular service units primary care unit shared service units provide services. Saraburi: Health Security Office Area 4; 2009. 2-4 p. (in Thai)

Sriratanaban J, Ngamkiatphaisan S, Maneechay M, Sriratanaban P, Manasvanich B, Preechachaiyawit P, et al. A synthetic research study to develop measurement, analysis, review and improvement systems for primary-care performances in Thailand. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2024

How to Cite

1.
ศรีรัตนบัลล์ จ, สิงห์วีรธรรม น, คำวงศ์ ด, มณีฉาย ม. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566: ระยะที่ 1 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพ. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 27 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 1 กรกฎาคม 2025];18(2):152-72. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/1462