การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทยปี พ.ศ. 2565-2566

ผู้แต่ง

  • พงศธร พอกเพิ่มดี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • กฤติยา สุขพัฒนากุล กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • โศรดากรณ์ พิมลา กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • วันวิสา เพ็ญสุริยะ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • นาฎอนงค์ เจริญสันติสุข สำนักดิจิทัลสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ปุณณิภา คงสืบ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ศศิภา จันทรา กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐนรี ขิงจัตุรัส กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • อิสริยาภรณ์ คันธา กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • อรจิรา หนูทองอินทร์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ณิชาธร กาญจนโยธิน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ชุติมา อรรคลีพันธุ์ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพ, สมรรถนะ, ผลลัพธ์สุขภาพ, การจัดลำดับความสำคัญ, ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและเหตุผล: การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทยปี พ.ศ. 2565–2566 เทียบกับต่างประเทศ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประเทศไทยเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) และกลุ่มประเทศอาเซียน วิเคราะห์และสังเคราะห์ความเชื่อมโยงค่าใช้จ่ายสุขภาพและตัวชี้วัด และนำมาจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดสุขภาพที่ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาจากตัวชี้วัดด้านสุขภาพของกลุ่มประเทศ OECD จำนวน 193 ตัวชี้วัด เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนและพัฒนาสมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยที่ยั่งยืนและมีมาตรฐานในระดับสากล

ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods) ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพของผลลัพธ์ระบบสุขภาพ รวมถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของค่าใช้จ่ายสุขภาพกับตัวชี้วัดที่สำคัญ จากข้อมูลตัวชี้วัดของ ประเทศไทย เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD และประเทศในอาเซียน และใช้เทคนิค modified Delphi surveys โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญออนไลน์แบบไม่เปิดเผยตัวตน 2 รอบ เพื่อนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มตัวชี้วัดและการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย

ผลการศึกษา: ประเทศไทยมีข้อมูลตัวชี้วัดจำนวน 158 ตัวชี้วัด ไม่มีข้อมูล 35 ตัวชี้วัด โดยสามารถเปรียบเทียบตัวชี้วัดของไทยกับกลุ่มประเทศ OECD ได้จำนวน 112 ตัวชี้วัด เปรียบเทียบไม่ได้ 46 ตัวชี้วัด เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่แสดงแนวโน้ม สัดส่วน หรือเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ มีข้อค้นพบที่สำคัญ คือ 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดที่ต้องเร่งพัฒนาจำแนกรายมิติ พบว่า ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นความท้าทายของระบบสาธารณสุขของไทย ซึ่งมีสถานะการดำเนินงานที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD มีจำนวน 51 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดที่ต้องเร่งพัฒนาเนื่องจากระบบ สาธารณสุขของประเทศไทยมีสถานะที่แย่กว่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD จำนวน 61 ตัวชี้วัด โดยจำแนกเป็น 5 มิติ คือ (1) มิติสถานะสุขภาพตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 17 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 8 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด 3 อันดับแรก ที่ต้องเร่งพัฒนา ได้แก่ อัตราส่วนการเสียชีวิตมารดา อัตราการเสียชีวิตของทารก และความชุกของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และ 2 ในผู้ใหญ่ (2) มิติปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นที่ท้าทาย 12 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา จำนวน 7 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ อัตราการคลอดก่อนกำหนด การสูบบุหรี่ในเด็กอายุ 13-15 ปี จำแนกตามเพศ และ อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำแนกตามเพศ (3) มิติการเข้าถึงบริการ ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 2 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 12 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1,000 คน จำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์ สัดส่วนรายจ่ายครัวเรือนด้านสุขภาพ และอัตราการรอผ่าตัดต้อกระจกนานกว่า 3 เดือน (4) มิติคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 11 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 16 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้อยละของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สัดส่วนของการดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในการดูแลระยะยาว และอัตราการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในที่เป็นผู้ป่วยโรคจิตเวช (5) มิติทรัพยากรสุขภาพ ตัวชี้วัดที่เป็นประเด็นท้าทาย 9 ตัวชี้วัด ต้องเร่งพัฒนา 18 ตัวชี้วัด ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ จำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤต การผลิตบัณฑิตพยาบาล และ จำนวนพยาบาลต่อประชากร 1,000 คน 2) ผลการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดที่ต้องเร่งพัฒนาทั้ง 61 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤต รองลงมาคือ การผลิตบัณฑิตพยาบาล ส่วนอันดับ 3 ซึ่งมีความสำคัญในระดับเดียวกัน คือ อัตราส่วนการเสียชีวิตมารดา อัตราการเกิดสิ่งแปลกปลอมตกค้างระหว่างการผ่าตัด และจำนวนพยาบาลต่อประชากร 1,000 คน อันดับ 4 คือ ร้อยละของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และอันดับ 5 มี 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ สัดส่วนของการดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในการดูแลระยะยาว รายจ่ายรัฐบาลด้านสุขภาพต่อรายจ่ายรัฐบาลทั้งหมด และจำนวนแพทย์ต่อประชากร 1,000 คน 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ค่าใช้จ่ายสุขภาพและตัวชี้วัด พบว่า ประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวประชากรต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีรายได้น้อยจะมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพแย่กว่าประเทศของกลุ่ม OECD ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนในมิติการเข้าถึง และคุณภาพการดูแล ความครอบคลุมของชุดบริการสุขภาพหลัก สามารถทำได้ดีแม้จะมีระดับการใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ค่อนข้างต่ำ โดยไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวประชากรอยู่ที่ 25,472 บาท (US$730.5 ปรับค่า purchasing power parity) น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD แต่ประชากรไทยยังได้รับสิทธิบริการสุขภาพหลักอย่างทั่วถึง 4) ผลการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนและพัฒนาสมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยที่ยั่งยืน จำแนกเป็นข้อเสนอในการจัดการพัฒนาผลลัพธ์ระบบสุขภาพ 5 มิติ โดยมุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ควรมีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาระบบการบริการโดยเฉพาะระบบปฐมภูมิ ปรับการบริการทางการแพทย์สู่ community base และวางแผนบริหารจัดการและกระจายทรัพยากรอย่างทั่วถึง และจัดทำแผนการพัฒนาเพื่่อบรรลุุผลลัพธ์สุุขภาพตามเป้าหมาย OECD ในเรื่องของการจัดการเตียงผู้ป่วยวิกฤติ และการผลิตพยาบาล

ข้อยุติ: การวิเคราะห์สมรรถนะของระบบสุขภาพและมิติผลลัพธ์สุขภาพ 5 มิติ พบว่า สมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นและอยู่ในระดับต้นๆ ของอาเซียน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาผลลัพธ์สุขภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาระบบสุขภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดคุณภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดีสำหรับประชาชน

References

Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Twenty-year national strategic plan for public health (2017-2036) [internet]. 2018 [cited 2023 Nov 1]. Available from: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/Ebookmoph20.pdf. (in Thai)

OECD. Health at a glance. OECD indicators [internet]. 2021 [cited 2023 Nov 1]. Available from: https://doi.org/10.1787/ae3016b9-en.

OECD. Health at a glance. OECD indicators [internet]. 2023 [cited 2023 Nov 1]. Available from: https://doi.org/10.1787/7a7afb35-en.

OECD. Health at a glance: Asia/Pacific 2020. Measuring progress towards universal health coverage [internet]. 2020 [cited 2023 Nov 1]. Available from: https://doi.org/10.1787/c7467f62-en.

OECD. Health at a glance: Asia/Pacific 2022. Measuring progress towards universal health coverage [internet]. 2022 [cited 2023 Nov 1]. Available from: https://doi.org/10.1787/26b-007cd-en.

Benjakul S. Brief report on the conceptual framework review, the process of developing a set of health indicators and health measurement indexes: a case study of an international organization [internet]. (n.d.) [cited 2023 Mar 3]. Available from: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/pro1-sum(1).pdf. (in Thai)

Keeney E, Thom H, Turner E, Martin RM, Sanghera S. Using a modified Delphi approach to gain consensus on relevant comparators in a cost-effectiveness model: application to prostate cancer screening [internet]. 2021. [cited 2023 May 1]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33797744/. doi: 10.1007/s40273-021-01009-6.

Tamdee D, Tuanrat W. Community diagnosis and problem priority setting. In: Aungwattana S, Subpiboonkit P. editors. Community health nursing. Chiang Mai: Krong Chang Print. A I Press; 2012. p. 89–104. (in Thai)

Tasanapradit P, Wongboonsin K, Jitapunkul S, Surasiengsunk S, Intarat G, Heath system and evaluation [internet]. 2003 [cited 2023 Mar 3]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/2057/hs0971.pdf?sequence=2&isAllowed=y. (in Thai)

World Health Organization. Regional Office for the Western Pacific. 5(5), WHO Regional Office for the Western Pacific [internet]. 2015 [cited 2024 Jan 12]. Available from: https://iris.who.int/handle/10665/208216.

Strategy and Planning Division, The Permanent Secretary Ministry of Public Health. Health at a glance Thailand 2017. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2017 (in Thai)

Strategy and Planning Division, The Permanent Secretary Ministry of Public Health. Thailand health profile 2016-2017. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2019. (in Thai)

Strategy and Planning Division, The Permanent Secretary Ministry of Public Health. Report on the evaluation results of the Ministry of Public Health’s operational plan towards excellence for fiscal year 2022 [internet]. 2022 [cited 2024 Jan 12]. Available from: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/01/fullreport2565.pdf. (in Thai)

Strategy and Planning Division, The Permanent Secretary Ministry of Public Health. Statistical Thailand 2023 [internet]. 2023 [cited 2024 Jan 12]. Available https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2024/08/สรุป-สถิติที่สำคัญ-2566.pdf. (in Thai)

Yeamsakul N, Keiwkarnka B, Nimitarbun N. The development of efficiency indicators for primary care units under the Office of the Permanent Secretary for the Ministry of Public Health, Thailand. Journal of Public Health and Development 2011;9(2):154-67. (in Thai)

Chuenklin T, Rungnoei N, Kaeowichian N, Suthamchai B, Khotthong K, Girdwichai W, et al. An assessment on the Ministry of Public Health’s intermediate care policy: a quantitative analysis. Journal of Health Systems Research 2021;15(2):183-99. (in Thai)

Rathachatranon W. Future research using Delphi technique [internet]. 2019 [cited 2024 Jan 12]. Available from: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243620. (in Thai)

Bunnag C, Jariyatammanukul A, Phanthuwongpakdee N, Kongsri N, Reuangdat P, Sukmee T. Research coordination for SDGs: the Thailand Research Fund. 2018. Report No.: SRC59X0001 [internet]. 2018 [cited 2024 Jan 12]. Available from: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:138802. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2024

How to Cite

1.
พอกเพิ่มดี พ, สุขพัฒนากุล ก, พิมลา โ, เพ็ญสุริยะ ว, เจริญสันติสุข น, คงสืบ ป, จันทรา ศ, ขิงจัตุรัส ณ, คันธา อ, หนูทองอินทร์ อ, กาญจนโยธิน ณ, อรรคลีพันธุ์ ช. การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทยปี พ.ศ. 2565-2566. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 29 กันยายน 2024 [อ้างถึง 1 เมษายน 2025];18(3):291-313. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/1943

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ