มาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิและความพร้อมให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ประสงค์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ผู้แต่ง

  • ดาราวรรณ รองเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อินทิรา สุขรุ่งเรือง โรงพยาบาลพุทธโสธร
  • จีราพร ทองดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ลลิตา เดชาวุธ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤษณี สุวรรณรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อติญาณ์ ศรเกษตริน คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภัทร์พงศ์ อุดมพัฒน์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า
  • จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความพร้อม, ศักยภาพ, การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การถ่ายโอนอำนาจ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและเหตุผล: พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานและความพร้อมในการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ประสงค์จะถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ร่วมกับการสำรวจเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ ผู้เกี่ยวข้องเชิงนโยบาย (n = 6) ผู้แทนจากภาคสาธารณสุข (n = 28) ผู้แทนจากภาค อปท. (n = 16) และผู้แทนจากภาคประชาชน (n = 24) และการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือตัวแทน (n = 430) เลือกแบบสุ่มอย่างง่าย ตามขนาด อบจ. เล็ก กลางและใหญ่ เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และเชิงปริมาณคือแบบประเมินความพร้อมและความสามารถในการให้บริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษา: 1. รพ.สต. มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างอยู่ในระดับพอดี หรือมาก แต่ความพร้อมของบุคลากรสายวิชาชีพ โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และทันตแพทย์ รวมทั้งสายสนับสนุนด้านการเงินและบัญชี ยังอยู่ในระดับน้อย 2. รพ.สต. ส่วนใหญ่คิดว่ามีความสามารถในการให้บริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิภายหลังการถ่ายโอนภารกิจเท่าเดิมและมากขึ้น มีเพียงบริการทันตกรรม ที่คิดว่าสามารถให้บริการได้ลดลง 3. ข้อเสนอแนะจาก รพ.สต. เพื่อให้การบริการสุขภาพสำหรับประชาชนในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะการให้บริการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ทันตกรรม ควรเป็นไปในรูปแบบของเครือข่ายแบบเดิมไปก่อน

ข้อยุติ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ สรรหาบุคลากรทั้งสายวิชาชีพและสายสนับสนุน รวมถึงลงนามความร่วมมือในการสนับสนุนบริการในรูปแบบเดิมในช่วงเปลี่ยนผ่าน และเตรียมความพร้อมในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และควรมีการดำเนินงานขับเคลื่อนภาคประชาชนด้วย

References

Office of the Permanent Secretary and Office of the Decentralization to the Local Government Organization Committee. Criteria and procedures for transferring Chaloem Phrakiat Health Center 60th Anniversary Nawamintharachinee and health promoting hospital to the provincial administrative organization. Bangkok: Government House; 2021. (in Thai)

Primary Health Care Act B.E. 2562 (2019). The Royal Thai Government Gazette Volume 136 Chapter 56 Kor. p. 165-185. (Apr 26, 2019). (in Thai)

McCollum R, Limato R, Otiso L, Theobald S, Taegtmeyer M. Health system governance following devolution: comparing experiences of decentralisation in Kenya and Indonesia. BMJ Glob Health 2018;3(5):e000939. doi: 10.1136/bmjgh-2018-000939.

Frumence G, Nyamhanga T, Mwangu M, Hurtig AK. Challenges to the implementation of health sector decentralization in Tanzania: experiences from Kongwa district council. Glob Health Action. 2013;6(1):20983. doi: 10.3402/gha.v6i0.20983.

Ghuman BS, Singh R. Decentralization and delivery of public services in Asia. Policy and Society. 2013;32(1):7-21.

Bureau of Primary Health System Support, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. The handbook for guidelines on development the health promotion hospital B.E. 2564 [internet]. 2021 [cited 2022 Aug 21]. Available from: https://drive.google.com/file/d/1aCDXtrAjIYPlDgn403Jz-d_6fEWp4U3J/view. (in Thai)

Sawaengdee K, Sarakshetrin A, Rongmuang D, Chantra R, Kunlaka S, Rajataramya B, et al. A study of workload, sufficiency of manpower and human resource management in district health promotion hospital. Journal of Health and Nursing Research [internet]. 2019 Apr 5 [cited 2022 Nov 25];35(2):174-83. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/215460/149929. (in Thai)

Kolhmainen-Aitken R L. Decentralization’s impact on the health workforce: perspectives of managers, workers, and national leaders. Hum Resour Health 2004;2:5. doi: 10.1186/1478-4491-2-5.

World Health Organization. Primary health care measurement framework and indicators: monitoring health systems through a primary health care lens [internet]. 2022 [cited 2022 Jul 3]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240044210.

Morgan CL, Beerstecher HJ. Practice size and service provision in primary care: an observational study. The British Journal of General Practice. 2009;59:e71–e77. doi.org/10.3399/bjgp09X419538.

Cobos Mun˜oz D, Merino Amador L, Monzon Llamas L, Martinez Hernandez D, Santos Sancho JM. Decentralization of health systems in low and middle income countries: a systematic review. Int J Public Health 2017;62:219-29. doi 10.1007/s00038-016-0872-2.

Sapkota S, Dhakal A, Rushton S, van Teijlingen E, Marahatta SB, Balen J, et al. The impact of decentralisation on health systems: a systematic review of reviews. BMJ Global Health. 2023 Dec 1;8(12):e013317.

Oliveira R, Santinha G, Sá Marques T. The impacts of health decentralization on equity, efficiency, and effectiveness: a scoping review. Sustainability. 2023;16(1):386.

Gopalakrishnan S, Udayshankar PM, Rama R. Standard treatment guidelines in primary healthcare practice. Journal of Family Medicine and Primary Care. 2014;3(4):424-9.

Diaz J, Fava L, Iuliano P, Vilches D, Terzaghi MA, Rosso J. A patient referral and counter-referral management system for hospitals. Proceedings of the InENTERprise Information Systems: International Conference, CENTERIS 2011 Part III; 2011 Oct 5-7; Vilamoura, Portugal. Springer Berlin Heidelberg; 2011. p. 185-93.

Siha W, Arparsrithongsakul S. Development of medical supplies system in health promotion hospitals from Kamalasai hospital by applying vendor managed inventory. Research and Development Health System Journal. 2020;13(1):670-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2024

How to Cite

1.
รองเมือง ด, สุขรุ่งเรือง อ, ทองดี จ, เดชาวุธ ล, สุวรรณรัตน์ ก, ศรเกษตริน อ, อุดมพัฒน์ ภ, เรืองวัชรินทร์ จ. มาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิและความพร้อมให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ประสงค์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 29 กันยายน 2024 [อ้างถึง 1 เมษายน 2025];18(3):331-50. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/1948

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ