ศักยภาพ การมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการจัดการสุขภาพชุมชนหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เพ็ญนภา ศรีหริ่ง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จิราพร วรวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุบผา รักษานาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วนิดา ศรีพรหมษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • มนัสศรี ไพบูลย์ศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ศักยภาพการจัดการสุขภาพชุมชน, การมีส่วนร่วม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การถ่ายโอน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ การมีส่วนร่วมและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการจัดการสุขภาพชุมชน หลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วยด้านศักยภาพของ อสม. มี 3 ส่วนคือ 1. ความรู้ในการจัดการสุขภาพชุมชน 2. เจตคติในการจัดการสุขภาพชุมชน 3. ทักษะและพฤติกรรมการปฏิบัติ (ด้วยการประเมินตนเอง) ด้านการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการดำเนินการจัดการสุขภาพชุมชน และด้านความสามารถของ อสม. ในการจัดการสุขภาพชุมชน โดยมีค่าความเที่ยงของเครื่องมือ 0.85, 0.92, 0.95, 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนในจังหวัดจาก 4 ภูมิภาค รวม 10 จังหวัดที่มีการถ่ายโอนภารกิจของ รพ.สต.ไปขึ้นกับ อบจ. กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 482 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม STATA 16.1 ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกแบบพหุ รายงานค่า adjusted odds ratio, 95%CI และ p-value ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต. ขนาดกลาง 255 คน (ร้อยละ 52.9) เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.0) อายุระหว่าง 50-59 ปี คือร้อยละ 38.6 ระยะเวลาของการเป็น อสม. ค่าเฉลี่ย 16.38 ± 9.64 ปี) และร้อยละ 87.3 เคยผ่านการอบรมมาก่อน ศักยภาพของ อสม. จากความรู้ เจตคติและทักษะหรือพฤติกรรมในการจัดการสุขภาพชุมชน พบว่า อสม. ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 96.9 มีเจตคติในระดับสูง พบค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ต่ำสุดคือด้านการประเมินผลการจัดการสุขภาพชุมชน มีพฤติกรรมในการปฏิบัติการจัดการสุขภาพชุมชนในระดับสูง (ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) พบค่าเฉลี่ยสูงสุด  พบค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์จากการจัดการสุขภาพชุมชน ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินการจัดการสุขภาพชุมชน ด้านความสามารถของ อสม. ในการจัดการสุขภาพชุมชนในภาพรวมก็อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58) พบค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการติดตามประเมินผล (ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือความสามารถด้านการจัดการสุขภาพตนเอง (ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ 4.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของ อสม. ในการจัดการสุขภาพชุมชนมี 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ศักยภาพด้านทักษะหรือพฤติกรรมในการปฏิบัติการจัดการสุขภาพชุมชนของ อสม. 2) ด้านการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการจัดการสุขภาพชุมชน 3) กลุ่มอายุของ อสม. 4) ระยะเวลาที่เป็น อสม. และ 5) อาชีพ

References

Office of the Decentralization for Local Administration, Office of the Permanent Secretary to the Prime Minister. Handbook on the implementation of decentralization to local government organizations in accordance with the Decentralization to Local Government Organizations Act B.E. 2545 (2002). Bangkok: Office of the Decentralization for Local Administration; 2021. (in Thai)

Srisasakul J, Patcharanamul W. Evaluation of the transfer of primary care services to local administrative organizations and alternative decentralization models. Nonthaburi: Health Systems Research Institute, International Health Policy Program; 2018. (in Thai)

Thanomchaiyathawat B, Chukumnird S, Lillahkul N, Noin J, Ratchawan R, Junwin B, et al. Human resource management provided by the Queen Sirikit health centers and subdistrict health promotion hospitals transferred to the management of the provincial administrative organizations using the mechanism of the Primary Health System Act (B.E. 2562). Final report. Nonthaburi: Health System Research Institute; 2019. (in Thai)

Sarakshetrin A, Sriyasak A, Chantra R, Krirkgulthorn T, Nimwatanakul S, Chenktin T, et al. The proposed policy to human resource for health management during the transitional period of transfer health promotion hospital to provincial administrative organization. Final report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2022. (in Thai)

Department of Health Service Support. Handbook for village health volunteers and community health managers. Nonthaburi: Department of Health Service Support, Ministry of Public Health; 2013. (in Thai)

Rongmuang D, Sukrungreung I, Thongdee J, Dechavoot L, Suwannarat K, Sarakshetrin A, et al. Provision of services according to primary care service standards and certification of service standards of sub-district health-promoting hospitals under the provincial administrative organization. Final report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2022. (in Thai)

Daniel W, Cross C. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 10th ed. New Jersey: John Wiley & Sons; 2013.

Soonthorn S, Sriyasak A, Leungratanamart L, Tongpeth J, Boonmee L. The development of the community health management models during the post-crisis of the COVID-19 pandemic for village health volunteers in the 5th and the 6th health regions. Final report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2022. (in Thai)

World Health Organization, UNICEF. Operational framework for primary health care transforming vision into action. Technical series on primary health care. Cairo. Switzerland: YAT Communication; 2022.

Thianjuruwatthana W, Nawsuwan K, Vachiraprapun S. Guidelines for development of quality village health volunteers (VHVs) to support the health workforce for the future health system. Journal of Health Science 2021;30(2):353-66. (in Thai)

Techathan C, Rattanapanna S, Jaitia S. Effect of empowerment program of the village health volunteers to implementation of community health education in Papai municipality, Sansai district, Chiang Mai province. College of Asian Scholar Journal 2019;9(1):17-24. (in Thai)

Thongchai C, Boonnjarut S. Capacity adaptation of village health volunteers under changing contexts in the semi-urban area of Ban Thabo, Chae Ramae sub-district, Ubon Ratchathani province. Area Based Development Research Journal 2017;9(3):206-20. (in Thai)

Choomee P, Udomkitpipat J. Knowledge of chronic diseases and competencies in providing services regarding chronic diseases in the community of village health volunteers in Surat Thani province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation 2021;7(4):277-93. (in Thai)

Tippetch P. Factors influencing village public health volunteers’ performance in Mab Pong sub-district, amphoe Panthong, Chonburi province (master’s thesis). Faculty of Public Administration, Burapha University; 2017. (in Thai)

Hnuploy K. Factors related to the work performance of volunteer village health workers in Phatthalung province (master’s thesis). Department of Health System Management, Graduate School, Thaksin University; 2010. (in Thai)

Ha N. Competencies development for village health volunteer of Muang district, Phuket province (master’s thesis). Department of Public Administration, Prince of Songkla University, Hat Yai, Thailand; 2019. (in Thai)

Charoenson P, Munsawaengsub C, Nanthamongkolchai S, Pitikultang S. Role of village health volunteers in family care team practice, Chanthaburi province. Proceedings of the 20th National Graduate Research Conference. Mar 15, 2019. Khon Kaen University. MM022; 2019. (in Thai)

Suwannakoot N, Nakrukamphonphatn S, Natason A, Lamduan W. Factors predicting to caring competency of older people among village health volunteers in Ubon Ratchathani province. Journal of Science and Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University 2021;23(2):18-26. (in Thai)

Chuengsatiansap K. Health volunteers in the context of changes: potentials and development strategies. Final report. Nonthaburi: Health System Research Institute; 2016. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2024

How to Cite

1.
ศรีดาวเรือง ฉ, ศรีหริ่ง เ, ศรียะศักดิ์ อ, ธนากาญจนภักดี ว, วรวงศ์ จ, รักษานาม บ, ศรีพรหมษา ว, ไพบูลย์ศิริ ม. ศักยภาพ การมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการจัดการสุขภาพชุมชนหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 29 กันยายน 2024 [อ้างถึง 1 เมษายน 2025];18(3):351-66. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/1954

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ