แพลตฟอร์มการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อติดตามสุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, ระบบการคัดกรอง, โรคไม่ติดต่อเรื้อรังบทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: โครงการวิจัยย่อยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สามารถใช้จัดการข้อมูลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในเบื้องต้น เพื่อให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ระเบียบวิธีศึกษา: ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีพื้นที่เป้าหมาย 3 รพ.สต. (เขาตูม ยะรัง และเมาะมาวี) และ 3 อบต. (ยะรัง ปากูและสาคอบน) จังหวัดปัตตานี โดยเริ่มจากลงพื้นที่สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารใน อบต. และ รพ.สต. เสนอการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลให้กับ อบต. และ รพ.สต. เพื่อใช้ในการติดตามและตัดสินใจ ซึ่งโครงการย่อยนี้พัฒนาแพลตฟอร์มการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อติดตามสุขภาพชุมชนโดย รพ.สต. และ อบต. สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนในการช่วยเหลือและใช้ในการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 39 คน จำแนกเป็น 4 กลุ่มคือ ผู้บริหารและพนักงาน อบต. 6 คน ผู้บริหาร รพ.สต. และพยาบาลวิชาชีพ 9 คน อสม. 9 คน และผู้ป่วย/ญาติ 15 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบเจาะจง (อบต. รพ.สต.) และแบบง่าย (อสม. ผู้ป่วย) ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้แพลตฟอร์ม
ผลการศึกษา: แพลตฟอร์มดิจิทัลที่พัฒนาสามารถแก้ปัญหา เพิ่มความสะดวกและความพึงพอใจแก่ผู้มารับบริการและผู้ให้บริการในหลายประเด็นผ่านการอบรมใช้งานแพลตฟอร์มและมีการประเมินโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดย 1. ระบบคัดกรองสุขภาพของคนในชุมชนเปลี่ยนจากระบบกรอกใส่แบบฟอร์มกระดาษ มาเป็นระบบดิจิทัลที่มีความแม่นยำรวดเร็ว สะดวก และข้อมูลถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ real time และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน การแก้ปัญหา และการบริหารจัดการเกี่ยวกับสุขภาพของคนในชุมชน 2. รพ.สต. และ อบต. สามารถมองเห็นทิศทางและแนวโน้มด้านปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างแม่นยำและตลอดเวลา (real time) ทำให้ง่ายต่อการกำหนดทิศทางและวางแผนการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ได้ตรงจุดและถูกต้อง 3. เป็นตัวกลางในการสื่อสารการทำงานร่วมกันระหว่าง อบต. รพ.สต. อสม. และกลุ่มเป้าหมาย 4. ช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น การนัดหมายเพื่อการรักษาและการติดตาม ผลการประเมินทักษะหลังการอบรมเสริมทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับดีมาก
ข้อเสนอแนะ: เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลและติดตามสุขภาพชุมชนและประชาชนผู้ใช้บริการควรได้รับการฝึกอบรมการใช้แพลตฟอร์มใหม่นี้อย่างครอบคลุม
References
Kaewtha S, Khamwangsanga P, Kanchanapibulwong A. Situation report on NCDs: diabetes, hypertension and related risk factors 2019. 1st ed. Aksorn Graphic and Design Publishing; 2020. p. 1-85. (in Thai)
Department of Disease Control. Diabetes, high blood pressure knowledge and direction of operations in the field of non-communicable diseases and evaluation, fiscal year 2024. (in Thai)
Division of Noncommunicable Diseases/Risk Communication Office, Department of Disease Control. The Department of Disease Control invites people aged 35 and over to screen for diabetes and hypertension, revealing that 8 million Thais still do not have access to the screening system [internet]. 2023 Mar [cited 2024 May 20]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=32939&deptcode=brc&news_views=254. (in Thai)
Sripotong S, Theerakarn S, Wannapira W. Development of diabetes and hypertension screening system with community network participation in urban primary care cluster. Buddhachinaraj Med J 2020;37(3):336-46. (in Thai)
Khiewsa-ard P. Digital skills of government officers and staffs of customs department on challenge of organizational development to digital transformation (master thesis). Bangkok: Department of Public Administration and Public Affairs, Faculty of Political Science, Thammasat University; 2019.
Malisuwan S. Digital transformation for Thailand 4.0. NBTC Journal 2560;2(2):23–48. (in Thai)
Cornish F, Breton N, Moreno-Tabarez U, Delgado J, Rua M, de-Graft Aikins A, et al. Participatory action research. Nature Reviews Methods Primers 2023;3(1);1-14.
Leksono F, Sugianto D. Understanding South Tangerang’s generation Z during 2019 student protest through empathy map canvas. Proceedings of the 1stConference of Visual Art, Design, and Social Humanities by Faculty of Art and Design; 2019 Nov 2; Surakarta, Central Java, Indonesia.
Guthrie G. Ideation tips to make your design team a creative powerhouse [blog on the internet]; 2022 Feb 21 [cited 2024 Aug 22]. Available from: https://nulab.com/learn/designand-ux/ideation-tips-make-your-design-team-creative-powerhouse/.
Jongsareejit A. Screening system development for cataracts and glaucoma in community: a case study of community health center in Lak Ha Subdistrict Municipality in Amphoe Ban Phaeo in Samut Sakhon Province. Journal of Liberal Arts, Maejo University 2015;3(1):37-57. (in Thai)
Ruttawongsa A. Development of a screening model for diabetic retinopathy. Journal of Environmental and Community Health 2020;5(2):86-94. (in Thai)
Kaewsrem S, Saikamnor E. Development of a screening system for individuals at risk of diabetes. Journal of Technology Management Rajabhat Maha Sarakham University 2022;9(2):7-17. (in Thai)
Jongkasikit NN. Decision support system for analyzing the risk of chronic disease in cases of diabetes and high blood pressure. Industry Technology Lampang Rajabhat University 2016;9(2):9-9. (in Thai)
Maneelert C. The developing of an application to screen people at risk for diabetes and high blood pressure. Rajabhat Chiang Mai Research Journal 2021;22(3):109-25.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น