การถ่ายโอนบริการด้านยาจากโรงพยาบาลสู่ร้านยาชุมชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • สมหมาย อุดมวิทิต ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนา สมพรเสริม ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พุฒิพัฒน์ ทวีวชิรพัฒน์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปิยะพรรณ ช่างวัฒนชัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรานันต์ ตันติเวทย์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ร้านยา, ลดความแออัด, การถ่ายโอนบริการด้านยา

บทคัดย่อ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่ยังคงเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง และจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จึงต้องมีการลดการไปโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล รวมถึงลดการรับและแพร่เชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความแออัดของโรงพยาบาล คือ การเปิดบริการรับยาต่อเนื่องจากร้านยาคุณภาพนอกโรงพยาบาล การวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายหลักเพื่อ (1) ศึกษาความต้องการรับบริการของประชาชนจากการขยายขอบเขตการให้บริการด้านยา รวมถึง (2) การประเมินต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นกับร้านยาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการเข้าร่วมโครงการของร้านยาชุมชน การศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติ chi-square เพื่อทดสอบสมมติฐานทางสถิติในการศึกษาความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการลดความแออัดของโรงพยาบาล และ ประเมินต้นทุนการให้บริการ อาศัยแนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนตามกิจกรรม เพื่อประมาณการต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) ที่เกิดขึ้นจากการขยายหรือปรับปรุงการให้บริการด้านยาเพิ่มเติมที่เกิดแก่ร้านยาชุมชน ผลการศึกษา พบว่า (1) บริการที่ประชาชนต้องการสูงสุด ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น การดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการดูแลฉุกเฉินในด้านต่างๆ เกี่ยวกับยา และการฉีดวัคซีน (2) บริการที่ร้านยาสามารถถ่ายโอนหรือให้บริการเสริมจากโรงพยาบาลมาสู่ร้านยาในชุมชน มีทั้งหมด 8 บริการ คือ 1) การวัดความดัน 2) การวัดระดับน้ำตาลในเลือด 3) การจัดส่งยาถึงบ้าน 4) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องยาและดูแลการจัดยาให้เหมาะสมกับคนไข้ 5) การอธิบายผลข้างเคียงของยาและการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของยา 6) การให้คำปรึกษาผ่านอีเมล/โทรศัพท์/ช่องทางอื่นๆ 7) การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น และ 8) การรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยต้นทุนส่วนเพิ่มกับร้านยา อยู่ในช่วง 822–1,378 บาทต่อวัน หรือ 187.50–312.50 บาทต่อผู้ป่วย 1 คน ในการเข้ารับบริการ 1 ครั้ง ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณในส่วนนี้แก่ร้านยาชุมชนที่เข้าร่วมบริการ

References

Chuanchom T, Sujirat T, Supitcha A, Mei Sian P, Teeraphon T. Compiling the need for medication refill channels for patients with chronic diseases. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019;11(3):505-14. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171617. (in Thai)

Health Technology and Policy Assessment Project. Getting medicine at the drugstore. Help to reduce congestion in the hospital?. Final report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021 [cited 2022 Apr 22]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5445. (in Thai)

National Health Security Office. NHSO reveals a project to receive medicine near home through the target, reducing the threat of congestion in hospitals by 10-20%. Bangkok: National Health Security Office; 2020. Available from: https://www.nhso.go.th/news/2865. (in Thai)

Department of Medicine. Guidelines to reduce congestion in hospitals to reduce the spread of COVID-19. Bangkok: Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2020 [cited 2022 Mar 15]. Available from: https://www.thainapci.org/2021/wp-content/uploads/2020/05/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%9E.-edited-250363.pdf. (in Thai)

Sunee L, Niratchara T, Natthida H, Atchara N. Outcomes of the family pharmacist network in universal health care coverage. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018;10(2):383-91. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171158. (in Thai)

Lochid-amnuay S, Waiyakarn S, Pongcharoensuk P, Koh-Knox CP, Keokittichai S. Community pharmacy model under the universal coverage scheme in Thailand. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2009;19(2):110-22. Available from: http://mis.pharm.su.ac.th/web/sites/default/files/Community%20Pharmacy%20Model%20under%20the%20Universal%20Coverage%20Scheme%20in%20Thailand.pdf. (in Thai)

Pantasri T. Expanded roles of community pharmacists in COVID-19: a scoping literature review. J Am Pharm Assoc (2003) 2022 [cited 2022 May 20];62(3):649-57. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8704729/.

Pharmaceutical Group of the European Union. PGEU annual report 2020: the role of community pharmacists in the fight against COVID-19. 2020 [cited 2022 May 20]. p 20-21. Available from: https://www.pgeu.eu/wp-content/uploads/2021/02/PGEU-Annual-Report-2020-Web.pdf.

Yamanae T. Statistic: an introduction analysis. Singapore: Harper International Education; 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024

How to Cite

1.
อุดมวิทิต ส, สมพรเสริม ธ, ทวีวชิรพัฒน์ พ, ช่างวัฒนชัย ป, ตันติเวทย์ ว. การถ่ายโอนบริการด้านยาจากโรงพยาบาลสู่ร้านยาชุมชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 29 มีนาคม 2024 [อ้างถึง 20 พฤษภาคม 2025];18(1):60-71. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/2399

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ