ผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อระยะเวลาการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19, ระยะเวลาการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินบทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบการดูแลผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อระยะเวลาในการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง จากข้อมูลบันทึกปฏิบัติการฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน ในปี พ.ศ. 2562-2564 ศึกษาเปรียบเทียบการออกปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ในช่วงก่อนมีการระบาดและมีการระบาดของโควิด-19
ผลการศึกษา: พบว่าการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในช่วงไม่มีการระบาด เริ่มการระบาดและมีการระบาดมีจำนวน 270, 255 และ 353 ราย ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยฉุกเฉิน (emergency dispatch triage) มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงเวลา (ร้อยละ 40.4, 62.4 และ 66.6 ตามลำดับ) ระยะเวลาตั้งแต่รับแจ้งเหตุจนถึงรถพยาบาลพร้อมออกปฏิบัติการ (turnout time 71, 87, 167.5 วินาที, p < 0.001) ระยะเวลาตั้งแต่รับแจ้งเหตุจนถึงจุดเกิดเหตุ (response time 6, 7, 9 นาที, p < 0.001) และระยะเวลาตั้งแต่ออกจากจุดเกิดเหตุถึงโรงพยาบาลปลายทาง (back time 5, 5, 6 นาที, p = 0.004) ในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, ตามลำดับ ระยะเวลาที่ใช้ในจุดเกิดเหตุ (scene time) ไม่แตกต่างกัน
สรุปผลการศึกษา: การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผลกระทบกับระยะเวลาในการออกปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การเตรียมความพร้อมของทีมปฏิบัติการ การจำกัดการทำหัตถการนอกโรงพยาบาลให้มีเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ จะช่วยลดระยะเวลาในการออกรับและดูแลผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บที่จุดเกิดเหตุได้
References
WHO Director-General’s opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020 [internet]. 2020 [cited 2022 Oct 17]. Available from: https://www.who.int/director-general/speeches/detail/who-director-general-s-openingremarks-at-the-media-briefing-on-covid-19-11-march-2020.
Şan İ, Usul E, Bekgöz B, Korkut S. Effects of COVID-19 pandemic on emergency medical services. Int J Clin Pract. 2021 May;75(5):e13885.
Laukkanen L, Lahtinen S, Liisanantti J, Kaakinen T, Ehrola A, Raatiniemi L. Early impact of the COVID-19 pandemic and social restrictions on ambulance missions. Eur J Public Health. 2021 Oct 26;31(5):1090-5.
National Institute for Emergency Medicine. Emergency medical triage protocol and criteria based dispatch [internet]. 2nd ed. Nonthaburi: National Institute for Emergency Medicine; 2013 [cited 2020 Jun 7]. p. 2-5. Available from: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/272?group=21. (in Thai)
World Health Organization Thailand. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) as reported by the CSCA press briefing including a summary over the past week until 23 Sep 2021 [internet]. 2021 [cited 2023 Feb 24]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2021_09_23_tha-sitrep-202-covid19.pdf?sfvrsn=3a8bb0aa_5. (in Thai)
Al Amiry A, Maguire BJ. Emergency Medical Services (EMS) calls during COVID-19: early lessons learned for systems planning (a narrative review). Open Access Emerg Med OAEM. 2021;13:407-14.
Sheets NW, Fawibe OS, Mahmoud A, Chawla-Kondal B, Ayutyanont N, Plurad DS. Impact of the COVID-19 pandemic on trauma encounters. Am Surg. 2023 Mar;89(3):434-9.
Ageta K, Naito H, Yorifuji T, Obara T, Nojima T, Yamada T, et al. Delay in emergency medical service transportation responsiveness during the COVID-19 pandemic in a minimally affected region. Acta Med Okayama. 2020 Dec;74(6):513–20.
Yu JH, Liu CY, Chen WK, Yu SH, Huang FW, Yang MT, et al. Impact of the COVID-19 pandemic on emergency medical service response to out-of-hospital cardiac arrests in Taiwan: a retrospective observational study. Emerg Med J EMJ. 2021 Sep;38(9):679-84.
National Institute for Emergency Medicine. Operation manual for Special COVID-19 Operation Team [internet]. 2020 [cited 2023 Nov 20]. Available from: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2020/EBook/49789_20200324221653.pdf. (in Thai)
Pangma A. Announcement of the National Institute of Emergency Medicine on criteria for triaging emergency patients and prioritizing care Symptom number 26 in the case of coronavirus disease 2019 or COVID-19 (coronavirus disease 2019 (COVID-19)) 2022 [internet]. 2022 [cited 2023 Nov 20]. Available from: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/15009?group=10. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น