การศึกษาอุบัติการณ์ ต้นทุนและผลกระทบงบประมาณของการให้บริการล้างไตแบบต่อเนื่องในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ไตวายเฉียบพลัน, การบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง, อุบัติการณ์, ต้นทุนต่อหน่วย, ผลกระทบงบประมาณบทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่ไตเกิดการสูญเสียการทำงานลง ในช่วงเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน หากรักษาด้วยยาไม่หาย การบำบัดทดแทนไตจึงจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่รอดได้ ซึ่งการบำบัดทดแทนไตในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 วิธี โดยผู้ป่วยแต่ละรายมักมีข้อบ่งชี้ในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่ต่างกัน หนึ่งในนั้นคือการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (continuous renal replacement therapy, CRRT) ที่ถูกจัดอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ยังมีปัญหาความไม่เหมาะสมของการชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่สถานพยาบาล
วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ต้นทุนและผลกระทบด้านงบประมาณของผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง
ระเบียบวิธีศึกษา: ทำการศึกษาข้อมูลอุบัติการณ์จากการทบทวนวรรณกรรมและบันทึกข้อมูลการเบิกจ่ายเงินจากฐานข้อมูล e-claim ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่าง พ.ศ. 2559-2562 ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการจัดบริการตามแนวคิดการประเมินต้นทุนที่อิงการปฏิบัติงานจริง ร่วมกับแนวคิดอิงแนวทางปฏิบัติ ในมุมมองของโรงพยาบาลที่ให้บริการ โดยใช้วิธีคำนวณต้นทุนแบบมาตรฐานและแบบต้นทุนจุลภาค ทำการเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรต่างๆ เป็นระยะเวลา 2 ปีในโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง และวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ โดยใช้มุมมองของระบบประกันสุขภาพ (budget holder) ในกรอบเวลา 5 ปี
ผลการศึกษา: คาดว่าแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ต้องเข้ารับบริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องอยู่ที่ระหว่าง 3,540–6,049 ราย ขณะที่ต้นทุนของการให้บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องมีค่าระหว่าง 57,502 บาท (CRRT 1 ครั้ง) และ 116,890 บาท (สูงสุดเฉลี่ย 3 วัน) ที่ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนสามส่วน ได้แก่ ต้นทุนค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าลงทุน ส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณ 5 ปี กรณีอ้างอิงจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับบริการ CRRT 3,540 ราย จะอยู่ที่ระหว่าง 1,017 และ 2,068 ล้านบาท อีกกรณีหากอ้างอิงจำนวนผู้ป่วยที่ 6,049 ราย ผลกระทบงบประมาณจะอยู่ที่ระหว่าง 1,739 และ 3,535 ล้านบาท
สรุป: ข้อค้นพบจากการศึกษานี้จะสามารถช่วยให้ สปสช. วางแผนระบบเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่โรงพยาบาลในการให้บริการ CRRT และปรับปรุงการเข้าถึงของผู้ป่วยต่อไป
References
Srisawat N, Tungsanga K. Acute kidney injury. Journal of The Department of Medical Services 2017;42(6):64-8. (in Thai)
Srisawat N, Peerapornratana S, Tiranathanagul K, Praditpornsilpa K, Tungsanga K, Eiam-ong S. Textbook of continuous renal replacement therapy. Bangkok: Excellence Center for Critical Care Nephrology; 2017. (in Thai)
The Nephrology Society of Thailand. Hemodialysis and treatment guide plasma filtration for kidney disease patients. Bangkok: The Nephrology Society of Thailand; 2018. 49 p. (in Thai)
National Health Security Office. In-depth analysis of the partnership strengthening project report to assess the management of specific service cases. 2017. (in Thai)
Wittawat C. HITAP organizes an expert meeting to develop a research project on reimbursement for continuous renal replacement therapy (CRRT) for acute renal failure services [internet]. 2019 [updated 2019 Oct 8, cited 2022 Oct 10]. Available from: https://www.hitap.net/news/175096. (in Thai)
Srisawat N, Kulvichit W, Mahamitra N, Hurst C, Praditpornsilpa K, Lumlertgul N, et al. The epidemiology and characteristics of acute kidney injury in the Southeast Asia intensive care unit: a prospective multicentre study. Nephrol Dial Transplant. 2020;35(10):1729-38.
Hoste EA, Bagshaw SM, Bellomo R, Cely CM, Colman R, Cruz DN, et al. Epidemiology of acute kidney injury in critically ill patients: the multinational AKI-EPI study. Intensive Care Med 2015;41(8):1411-23.
Chantutanon S. Statistics and epidemiological measurements to know. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2018. (in Thai)
Riewpaiboom A. Cost analysis in health systems development. Bangkok: Sak Sopha Printing; 2018. 232 p. (in Thai)
Public health service rates of service units under the Ministry of Public Health for Thai people, 2019. Health Administration Division, editor. Samut Sakhon: Born To Be Publishing; 2019. 155 p. (in Thai)
Leelahavarong P. Budget impact analysis. JMAT 2014;97:S65-S71.
Hsu RK, McCulloch CE, Dudley RA, Lo LJ, Hsu C-y. Temporal changes in incidence of dialysis-requiring AKI. Journal of the American Society of Nephrology 2013;24(1):37-42.
Pakula AM, Skinner RA. Acute kidney injury in the critically ill patient: a current review of the literature. J Intensive Care Med 2016;31(5):319-24.
Hoste EAJ, Kellum JA, Selby NM, Zarbock A, Palevsky PM, Bagshaw SM, et al. Global epidemiology and outcomes of acute kidney injury. Nat Rev Nephrol 2018;14(10):607-25.
Garnier F, Couchoud C, Landais P, Moranne O. Increased incidence of acute kidney injury requiring dialysis in metropolitan France. PLoS One. 2019;14(2):e0211541.
Navva PK, Venkata Sreepada S, Shivanand Nayak K. Present status of renal replacement therapy in Asian countries. Blood Purif 2015;40(4):280-7.
Hoyt DB. CRRT in the area of cost containment. Is it justified? American Journal of Kidney Disease 1997;30(5):102-4.
Jacka MJ, Ivancinova X, Gibney RT. Continuous renal replacement therapy improves renal recovery from acute renal failure. Can J Anaesth 2005;52(3):327-32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น