ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเติมยาตามใบสั่งยาของเครือข่ายร้านยาจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ปฐวี เดชชิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นภัสสร หลำรอด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กฤษกร ธนไพโรจน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สรัญญา สุนันต๊ะ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1
  • นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัด, งานเติมยาตามใบสั่งยา, ร้านยา, การบริหารการปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

โครงการลดความแออัดและการรอคอยรับยาที่โรงพยาบาลให้ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเลือกรับยาโรคเรื้อรังต่อเนื่องได้ที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 ได้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 การประเมินผลการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมาพบรายงานจำนวนโรงพยาบาล ร้านยา ผู้ป่วย ใบสั่งยา และต้นทุนการดำเนินงาน การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการพัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเติมยาตามใบสั่งของร้านยา รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และสังเกต เพื่อจัดทำแผนผังกระบวนการดำเนินงานของแต่ละร้านยา และกำหนดตัวชี้วัดร่วมให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์โครงการ และการวิจัยเชิงปริมาณโดยบันทึกเวลาการปฏิบัติการแต่ละขั้นตอนของร้านยา เพื่อประเมินผลการบริหารการปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่าทุกร้านยามีการปฏิบัติการ 5 ขั้นตอนที่เกิดคุณค่าในโครงการเติมยาให้ผู้ป่วย การประเมินร้อยละของเวลาที่ใช้ในการบริหารการปฏิบัติการของร้านยาสูงที่สุด (ร้อยละ 25.7) คือ ขั้นตอนการส่งมอบยาและให้คำแนะนำปรึกษาการใช้ยา ส่วนขั้นตอนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อเบิกค่าตอบแทนชดเชยค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ และการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและยาคืนให้โรงพยาบาล มีร้อยละของเวลาการบริหารการปฏิบัติการรองลงมา (ร้อยละ 22.0) แต่เภสัชกรร้านยาให้ความเห็นว่าขั้นตอนนี้ยุ่งยาก และอาจจะไม่เพิ่มคุณค่าของโครงการแต่ยังจำเป็นต้องปฏิบัติ  ข้อเสนอจากการศึกษานี้ คือ การปรับปรุงระบบการเชื่อมต่อข้อมูลสารสนเทศที่ซ้ำซ้อนและยุ่งยากเพิ่มขึ้นจากการให้บริการปกติของเภสัชกรร้านยาจะลดเวลาในการปฏิบัติการ และเพิ่มประสิทธิผลการบริหารการปฏิบัติการทั้งหมดของโครงการนี้ได้

References

National Health Security Office. National Health Security Office annual report 2019. Bangkok: Sangjan Printing; 2019. 232 p. (in Thai)

Manmor P, Wasusri T. The reduction of patient’s waiting time at an outpatient department using simulation modeling: a community hospital in Suphanburi province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2019;15(2):51-62. (in Thai)

Sripirom R, Ratthanachodpanich T, Phumas P, Sakonchai S, Chantapasa K, Limwattananon S, et al. Self-Medication among Thai people by buying medicines from community pharmacy. Journal of Health Science Research 2017;11(3):369-77. (in Thai)

National Health Security Office. First date, the pilot program on drug-dispensing services in 300 pharmacies from 35 hospitals to reduce hospital congestion. 2019 [cited 2020 Aug 10]. Available from: https://www.thecoverage.info/news/content/656. (in Thai)

Ministry of Public Health, National Health Security Office, Pharmacy Council, Community Pharmacy Association (Thailand). Draft – Guideline of operation management the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies. 2020. 32 p. (in Thai)

National Health Security Office. Introduction process of the pilot program on voluntary drug-dispensing services in pharmacies on October 1st, 2019. [cited 2020 Aug 10]. Available from: https://www.thecoverage.info/news/content/665. (in Thai)

Phodha T, Singweratham N, Techakehakij W, Wongphan T. Cost assessment of the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies to reduce hospital overcrowding [report]. 2020 Aug 31 [cited 2023 Jun 28]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5467. (in Thai)

Khampang R, Tantivess S, Leelahavarong P, Yanpiboon A, onragdee K, Yangtisan A, et al. An evaluation of the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies to reduce hospital congestion phase II. 2021 [cited 2022 Sep 28]. Available from: https:// kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5445/hs2735.pdf. (in Thai)

National Health Security Office. The pilot model-3 program on drug-dispensing services in pharmacies at Lamphun. 2020 [cited 2020 Aug 17]. Available from: https://gnews.apps.go.th/news?news=66866. (in Thai)

Krajewski LJ, Ritzman LP, Malhotra MK. Operations management: Process and supply chains. Pearson Education; 2012. 669 p.

Luther D. Operations management: processes & best practices [internet]. [updated 2022 Oct 28, cited 2023 Jun 27]. Available from: https:// www.netsuite.com/portal/resource/articles/erp/operations-management.shtml.

Khonglormyati J. Factors associated with the participation in the project on development of health services within pharmacies among drugstores in the 4th Health Region. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016;8(2):358-70. (in Thai)

Steven A. Melnyk, Douglas M. Stewart, Morgan Swink. Metric and performance measurement in operations management: dealing with the metrics maze. JOM 2004;22:209-17.

Bernard Marr & Co. What Are SMART KPIs? (Spoil: The Don’t Really Exist!). 2020 [cited 2020 Sep 24]. Available from: https://www.bernardmarr.com/default.asp?contentID=1524.

Hadwesad J, Chaiyasong S, Taratai K. Evaluation of the pilot project on “drug-dispensing services in pharmacies to reduce overcrowding In Mahasarakham Hospital, Mahasarakham province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2022;14(3):604-17. (in Thai)

Nitikarun S, Upakdee N. The Distribution of Community Pharmacies in the Context of Health Need in Thailand. Journal of Health Science Research 2020;14(1):71-87. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023

How to Cite

1.
เดชชิต ป, หลำรอด น, ธนไพโรจน์ ก, สุนันต๊ะ ส, กิติกรรณากรณ์ น. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเติมยาตามใบสั่งยาของเครือข่ายร้านยาจังหวัดลำพูน. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 28 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];17(4):731-47. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/2426

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ