อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ สำนักที่ปรึกษา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี
  • ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • วรรณชนก ลิ้มจำรูญ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • เบญจวรรณ อิ้งทม สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์ Saw Swee Hock National University of Singapore และ National University Health System
  • ฐิติกร โตโพธิ์ไทย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์ Saw Swee Hock National University of Singapore และ National University Health System, กองกิจกรรมทางกายภาพและสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โควิด-19, ทารก, อุบัติการณ์, การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อมาตรการควบคุมโรค การใช้ชีวิตประจำวัน และการจัดบริการด้านสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์และทารกเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากการติดโรค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาสู่ทารก

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงานทั่วประเทศของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 และทารกในประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ทารกจำนวน 6,048 คนที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ ธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ตัวแปรตามคืออุบัติการณ์ของการติดเชื้อโควิด-19 ของทารกแรกเกิด ตัวแปรต้น ได้แก่ อายุมารดา สัญชาติมารดา สถานะการฉีดวัคซีนของมารดา อายุครรภ์ที่ตรวจพบการติดเชื้อ อายุครรภ์ขณะคลอด ความรุนแรงของโควิด-19 ในมารดา วิธีการคลอด น้ำหนักแรกเกิดของทารก การแยกมารดาและทารก และการให้อาหารทารก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ (multivariable logistic regression)

ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 6.4) ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีอายุระหว่าง 20-34 ปี (adjusted odds ratio: AOR = 0.60, 95%CI: 0.43-0.81) และอายุ ≥ 35 ปี (AOR = 0.64, 95%CI: 0.44-0.93) มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ต่ำกว่ามารดาที่มีอายุน้อยกว่า ทารกที่มารดาได้รับการตรวจพบเชื้อในช่วงหลังคลอดมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า (AOR = 3.75, 95% CI: 2.16-6.51) เมื่อเทียบกับมารดาที่ได้รับการตรวจพบเชื้อในช่วงก่อนคลอด ทารกที่มารดามีความรุนแรงของการติดเชื้อมาก มีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.67, 95% CI: 0.47-0.96) เมื่อเทียบกับมารดาที่มีความรุนแรงของการติดเชื้อน้อย ทารกที่คลอดครบกำหนดมีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.49, 95% CI: 0.29-0.84) เมื่อเทียบกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่วนทารกที่ถูกแยกจากมารดาในช่วงหลังคลอด มีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.22, 95% CI: 0.09-0.51) เมื่อเทียบกับทารกที่ไม่ถูกแยกจากมารดาในช่วงหลังคลอด ส่วนทารกที่กินนมผงอย่างเดียว หรือกินผสมนมผงและนมแม่ มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า (AOR = 4.16, 95% CI: 2.32-7.45) เมื่อเทียบทารกที่ได้ดูดนมแม่จากเต้า หรือได้รับการป้อนนมแม่ที่บีบจากเต้า

สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชากรทารกแรกเกิดในประเทศไทยและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในระดับต่ำ การเข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อโควิด-19 นี้น่าจะมีประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางการป้องกันและการดูแลมารดาและทารกระหว่างการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาสู่ทารกต่อไป

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19). Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2023 Jul 17]. Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1.

World Health Organization. Episode #43 - Pregnancy & COVID-19 Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2023 Jul 17]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/media-resources/science-in-5/episode-43---pregnancy-covid-19.

Ntounis T, Prokopakis I, Koutras A, Fasoulakis Z, Pittokopitou S, Valsamaki A, et al. Pregnancy and COVID-19. J Clin Med. 2022;11(22).

Simbar M, Nazarpour S, Sheidaei A. Evaluation of pregnancy outcomes in mothers with COVID-19 infection: a systematic review and meta-analysis. J Obstet Gynaecol.2023;43(1):2162867.

Kahankova R, Barnova K, Jaros R, Pavlicek J, Snasel V, Martinek R. Pregnancy in the time of COVID-19: towards Fetal monitoring 4.0. BMC Pregnancy Childbirth. 2023;23(1):33.

Shafiee A, Kohandel Gargari O, Teymouri Athar MM, Fathi H, Ghaemi M, Mozhgani SH. COVID-19 vaccination during pregnancy: a systematic review and meta-analysis. BMC Pregnancy Childbirth. 2023;23(1):45.

World Health Organization. New research highlights risks of separating newborns from mothers during COVID-19 pandemic. Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2023 17 Jul]. Available from: https://www.who.int/news/item/16-03-2021-new-research-highlights-risks-of-separatingnewborns-from-mothers-during-covid-19-pandemic.

Kotlyar AM, Grechukhina O, Chen A, Popkhadze S, Grimshaw A, Tal O, et al. Vertical transmission of coronavirus disease 2019: a systematic review and meta-analysis. Am J Obstet Gynecol. 2021;224(1):35-53 e3.

Walker KF, O’Donoghue K, Grace N, Dorling J, Comeau JL, Li W, et al. Maternal transmission of SARS-COV-2 to the neonate, and possible routes for such transmission: a systematic review and critical analysis. BJOG. 2020;127(11):1324-36.

Jamieson DJ, Rasmussen SA. An update on COVID-19 and pregnancy. Am J Obstet Gynecol. 2022;226(2):177-86.

Sukmanee J, Butchon R, Karunayawong P, Dabak SV, Isa-ranuwatchai W, Teerawattananon Y. The impact of universal health coverage and COVID-19 pandemic on out-of-pocket expenses in Thailand: an analysis of household survey from 1994 to 2021. Expert Rev Pharmacoecon Outcomes Res. 2023:1-8.

Worldometer. Coronavirus Cases: Worldometer; 2023 [cited 2023 Jul 29]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/.

Aye YM, Kim SJ, Suriyawongpaisal W, Hong SA, Chang YS. Utilization of postnatal care services among Thai women during the COVID-19 pandemic: results of a web-based survey. Int J Environ Res Public Health. 2022;19(11).

World Health Organization. Adolescent pregnancy. Geneva: World Health Organization; 2023 [cited 2023 Jul 17]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy.

Okeke SR, Idriss-Wheeler D, Yaya S. Adolescent pregnancy in the time of COVID-19: what are the implications for sexual and reproductive health and rights globally? Reprod Health. 2022;19(1):207.

Souza S, Pereira AP, Prandini NR, Resende A, de Freitas EAM, Trigueiro TH, et al. Breastfeeding in times of COVID-19: a scoping review. Rev Esc Enferm USP. 2022;56:e20210556.

Lubbe W, Niela-Vilen H, Thomson G, Botha E. Impact of the COVID-19 pandemic on breastfeeding support services and women’s experiences of breastfeeding: A Review. Int J Womens Health. 2022;14:1447-57.

Perez-Bermejo M, Peris-Ochando B, Murillo-Llorente MT. COVID-19: relationship and impact on breastfeeding-a systematic review. Nutrients. 2021;13(9).

Liu X, Chen H, An M, Yang W, Wen Y, Cai Z, et al. Recommendations for breastfeeding during Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) pandemic. Int Breastfeed J. 2022;17(1):28.

Department of Medical Services. Guidelines for the Diagnosis, Management, and Prevention of Hospital-Acquired COVID-19 Infections, revised edition, April 18, 2023. Bangkok: HFocus; 2023 [cited 2023 Oct 17]. Available from: https://www.hfocus.org/sites/default/files/files_upload/aenwthangewchptibatilasud.pdf.

Department of Disease Control MoPH. COVID-19 Vaccination Guidelines for the Year 2023, Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2023 [cited 2023 Oct 17]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1417120230426124113.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023

How to Cite

1.
ต่างวิวัฒน์ พ, ตวงรัตนานนท์ ฐ, ลิ้มจำรูญ ว, อิ้งทม เ, โตโพธิ์ไทย ช, โตโพธิ์ไทย ฐ. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในประเทศไทย. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 28 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 21 เมษายน 2025];17(4):748-64. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/2473

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ