มุมมองผู้ป่วยเกี่ยวกับคุณภาพบริการการแพทย์ฉุกเฉินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในบริบทการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน, การกระจายอำนาจ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การแพทย์ฉุกเฉินถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสุขภาพที่สามารถลดอัตราตายและผลกระทบจากการเจ็บป่วยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต อย่างไรก็ตาม การแพทย์ฉุกเฉินนั้นยังมีความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะในการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน ในประเทศไทยจึงมีการผลักดันนโยบายการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านการถ่ายโอนภารกิจศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินหรือศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการฯ จากโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป มายังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อมีเป้าประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉินในบริบทท้องถิ่น การศึกษานี้จึงทำเพื่อประเมินมุมมองของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับคุณภาพของบริการการแพทย์ฉุกเฉินผ่านการประเมินประสบการณ์ ความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินเปรียบเทียบระหว่างจังหวัดที่มีการถ่ายโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการและจังหวัดที่ยังไม่มีการถ่ายโอน ซึ่งส่งผลต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน จากการศึกษาพบว่า จังหวัดที่มีการถ่ายโอนศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ มีระดับความเชื่อมั่นที่น้อยกว่าจังหวัดที่ไม่มีการถ่ายโอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอัตราการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติและฉุกเฉินเร่งด่วน (emergency severity index, ESI 1 หรือ 2) น้อยกว่า (จังหวัดที่มีการถ่ายโอน ร้อยละ 32.7; จังหวัดที่ไม่มีการถ่ายโอนร้อยละ 47.5; p-value = 0.01) และระดับความเชื่อมั่นในการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหากมีภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินในอนาคตต่ำกว่า (จังหวัดที่มีการถ่ายโอนร้อยละ 72.5; จังหวัดที่ไม่มีการถ่ายโอนร้อยละ 83.1; p-value = 0.01) ทว่าระดับความพึงพอใจต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการให้บริการของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน และโรงพยาบาลในทั้งสองกลุ่มจังหวัดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สะท้อนถึงช่องว่างในการพัฒนางานการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งอาจมีผลมาจากความแตกต่างกันของการออกแบบบริการและกลไกการอภิบาลระบบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การทำงานร่วมกันของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับจังหวัดจึงเป็นโอกาสในการพัฒนาที่สำคัญในการผลักดันนโยบายการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพตามความต้องการของพื้นที่ได้
References
Tadadej C, Mongkolsomlit S, Suriyawongpaisarn P. Evolution of emergency medical service systems in Thailand: a systematic review. J Health Sci [internet]. 2014 Jun 30 [cited 2024 Jun 25];23:513-23.
Suriyawongpaisal P, Woratanarat T, Tansirisithikul R, Srithamrongsawat S. Scaling up emergency medical services under the universal health insurance scheme in Thailand. Indian J Public Health Res Dev. 2012 Dec;3(4):220–5.
Suriyawongpaisal P, Aekplakorn W, Tansirisithikul R. A Thailand case study based on quantitative assessment: does a national lead agency make a difference in pre-hospital care development in middle income countries? Scand J Trauma Resusc Emerg Med. 2014 Dec 12;22(1):75.
Bhattarai HK, Bhusal S, Barone-Adesi F, Hubloue I. Prehospital emergency care in low- and middle-income countries: a systematic review. Prehospital Disaster Med. 2023 Aug;38(4):495–512.
Determining Plans and Process of Decentralization to Local Government Organization Act, B.E. 2542. The Royal Government Gazette Volume 116, Section 114 Kor. p. 48. (Nov 17, 1999). (in Thai)
Sutapak T. Evaluating emergency medical services of Ubon Rachathani province. Local Administation J. 2015;8(3):10-18.
Suryanto null, Plummer V, Boyle M. EMS systems in lower-middle income countries: a literature review. Prehospital Disaster Med. 2017 Feb;32(1):64–70.
Secretary of State for Health. High quality care for all: NHS next stage review. Final report. The Stationery Office; 2008. 92 p.
Baubin M, Neumayr A, Eigenstuhler J, Nübling M, Lederer W, Heidegger T. Patient satisfaction in out-of-hospital emergency care: development of a standard questionnaire. Notf Rettungsmedizin. 2012 Apr;15(3):225–33.
Neumayr A, Gnirke A, Schaeuble JC, Ganter MT, Sparr H, Zoll A, et al. Patient satisfaction in out-of-hospital emergency care: a multicentre survey. Eur J Emerg Med. 2016 Oct;23(5):370-4.
Srithamrongsawad S, Suriyawongpaisal P, Atiksawedparit P, Kaewkamjornchai P, Sitthirat P. Evaluating pre-hospital emergency care services in the context of decentralization policy. Faculty of Medicine Ramthibodi Hospital, Mahidol University; 2024.
Glick P. How reliable are surveys of client satisfaction with healthcare services? Evidence from matched facility and household data in Madagascar. Soc Sci Med 1982. 2009 Jan;68(2):368–79.
Morley C, Unwin M, Peterson GM, Stankovich J, Kinsman L. Emergency department crowding: a systematic review of causes, consequences and solutions. PLoS ONE. 2018 Aug 30;13(8):e0203316.
Oliveira R, Santinha G, Sá Marques T. The impacts of health decentralization on equity, efficiency, and effectiveness: a scoping review. Sustainability. 2024 Jan;16(1):386.
Fatile JO, Ejalonibu GL. Decentralization and local government autonomy: quest for quality service delivery in Nigeria. J Econ Manag Trade. 2015 Sep 9;1–21.
National Institute for Emergency Medicine. Provincial emergency medical services performance scoring index 2023. Nonthaburi: National Institute for Emergency Medicine; 2023. (in Thai)
Ministry of Public Health of Thailand. Health KPI [internet]. 2024 [cited 2024 Sep 26]. Available from: http://healthkpi.moph.go.th. (in Thai)
Suwanwela NC, Chutinet A, Kijpaisalratana N. Thrombolytic treatment in Thailand. J Stroke Med. 2018 Jun 1;1(1):41–4.
Aruga T. The status quo and future prospects of emergency medical service systems in Japan in view of the tight supply-demand situation for medical resources. Nihon Rinsho Jpn J Clin Med. 2016 Feb;74(2):187–95.
Alanazy ARM, Wark S, Fraser J, Nagle A. Factors impacting patient outcomes associated with use of emergency medical services operating in urban versus rural areas: a systematic review. Int J Environ Res Public Health. 2019 May;16(10):1728.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น