การประเมินประสิทธิภาพของโครงการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านในเครือข่ายโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, รับยาที่ร้านยา, ลดความแออัด, ระยะเวลารอคอยบทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ดำเนินโครงการลดความแออัดและลดระยะเวลารอคอยการรับยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกสิทธิการรักษาให้ไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน ตามรูปแบบที่ 1 คือโรงพยาบาลจัดซื้อและจัดยาสำหรับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลแล้วจัดส่งไปยังร้านยาเพื่อให้เภสัชกรร้านยาจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย มีร้านยาเครือข่ายทั้งหมดจำนวน 18 แห่ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโครงการในมุมมองของโรงพยาบาล
ระเบียบวิธีศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาโดยการรวบรวมผลจากฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลในช่วงปีงบประมาณ 2563-2566 เพื่อประเมินประสิทธิภาพโครงการ โดยพิจารณาตัวชี้วัดหลักด้านต้นทุนรวมในการจัดการใบสั่งยาและจัดส่งยา และตัวชี้วัดเสริมด้านความน่าเชื่อถือ เช่น อัตราการคืนยา ความผิดพลาดทางยา และศักยภาพตามสัดส่วนของโรคที่ส่งออกไปรับยาที่ร้านยา
ผลการศึกษา: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2566 มีการบันทึกการรับยาที่ร้านยา 36,415 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 8.7 ของใบสั่งยาทั้งหมด การให้บริการในเวลาราชการคิดเป็นร้อยละ 4.6 และนอกเวลาราชการคิดเป็นร้อยละ 43.3 ของการให้บริการทั้งหมด ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยข้อมูลปีล่าสุดมีการลดต้นทุนค่าแรงนอกเวลาราชการ พบว่าต้นทุนต่อใบสั่งยาลดลงจาก 105.50 บาทในปี พ.ศ. 2563 เหลือ 41.23 บาทในปี พ.ศ. 2566 แต่อัตราการคืนยาจะสูงขึ้นโดยในปีล่าสุดเท่ากับร้อยละ 2.5 แต่ไม่พบการสูญหายของยา โครงการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน แต่การเบิกจ่ายค่าชดเชยการบริการตามโครงการที่ได้รับคืนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 49 บาทต่อใบสั่งยา ยังไม่ครอบคลุมต้นทุนการดำเนินงานที่รวมต้นทุนความน่าเชื่อถือ สำหรับศักยภาพของโครงการ การส่งออกใบสั่งยาโรคยอดนิยม ได้แก่ โรคต้อหิน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และไตวายเรื้อรัง
สรุป: ในอนาคตควรมีนโยบายพิจารณาปรับปรุงการชดเชยค่าใช้จ่ายให้เพียงพอและส่งเสริมรูปแบบการบริการแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ขณะที่ยังคงความสามารถทางการเงินสำหรับหน่วยงานที่เข้าร่วม
References
Khampang R, Tantivess S, Leelahavarong P, Yanpiboon P, Ponragdee K, Yangtisan A, et al. An evaluation of the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies to reduce hospital congestion phase II. Research report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021. (in Thai)
Chaiyasong S, Hadwiset J, Taratai K, Srimongkol P, Kalapat R. Developmental evaluation of the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies to reduce hospital overcrowding phase II, Mahasarakham Province. Research report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021. (in Thai)
Olson PS, Sripong P, Kanjanasilp J, Suttriruksa S, Seesin T, Potisarach P, et al. Developmental evaluation of a pilot program to reduce overcrowding at Roi Et Hospital by allowing patients to receive medications from nearby pharmacies. Research report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021. (in Thai)
National Health Security Office. Announcement of the National Health Security Office: Regarding the payment of additional healthcare service costs for referral units specializing in pharmacy. The Royal Government Gazette Volume 140, Special Section 63 Ngor. (Mar 17, 2023). (in Thai)
Kitikannakorn N, Detchit P, Wattanasombat S, Sunanta N. Development of performance efficiency evaluation indicators for the medicine reception at drugstore program in the context of a central hospital network. Thai J Hosp Pharm 2023;33(2):154-70. (in Thai)
Srivanichakorn S. Review of health system reform in Singapore. Research report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2000. Report No. hs0673. (in Thai)
Khoo HS, Lim YW, Vrijhoef HJ. Primary healthcare system and practice characteristics in Singapore. Asia Pac Fam Med. 2014 Jul 19;13(1):8. doi: 10.1186/s12930-014-0008-x.
Lochid-amnuay S, Kessomboon N, Puttasri W, Puangkantha W. Recommendations on incorporating accredited community pharmacy into universal coverage in Thailand. Thai J Hosp Pharm 2011;(21)3:189-202. (in Thai)
Srithamrongsawat S. Health care reform in Korea. Research report. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2000. (in Thai)
Kwon S, Lee Tj, Kum Cy. Republic of Korea health system review. Manila: World Health Organization Regional Office for the Western Pacific; 2015. 102 pages.
Al-Worafi Y.M. Quality of hospital pharmacies services in developing countries: status and future recommendations [internet]. United Arab Emirates: Springer Cham; 2024 [cited 2024 Sep 6]. Available from: https://link.springer.com/referencework/10.1007/978-3-030-74786-2.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น