สิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คำสำคัญ:
สิทธิประโยชน์, สวัสดิการ, ความก้าวหน้า, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, กำลังคนระบบบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: การส่งเสริมให้บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าในอาชีพนั้น มีความสำคัญ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. สังกัด อบจ. 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต. และ 3) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงสิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าของบุคลากร รพ.สต.
ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ระหว่างเมษายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2566 เลือกกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารระดับนโยบาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และคณะกรรมการสุขภาพระดับท้องถิ่นจำนวน 15 คน ผู้บริหารระดับพื้นที่ ได้แก่ ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข ผู้แทนจากภาค อปท. จำนวน 80 คน ผู้ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ที่ถ่ายโอนจำนวน 120 คน และผู้เชี่ยวชาญในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณ คือ บุคลากรของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจ เลือกแบบแบบเจาะจง และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของบุคลากร จำนวน 430 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: 1. สิทธิประโยชน์ สวัสดิการและความก้าวหน้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับการศึกษาเชิงคุณภาพที่พบว่า โดยภาพรวมมีการจัดให้ตามคู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและ รพ.สต. 2. ปัญหาที่พบ ได้แก่ ความล่าช้าในการเบิกจ่ายค่าตอบแทน การประเมินผลเพื่อเลื่อนเงินเดือนไม่เป็นธรรม ความแตกต่างในเรื่องสวัสดิการ และบางสายงานไม่สามารถเติบโตได้ในงานของตนเอง และ 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่สำคัญคือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ควรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทบทวนระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย เพื่อให้บุคลากรได้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม และ อบจ. ควรจัดทำคู่มือ/ ขั้นตอน ระเบียบ/ แนวทางการปฏิบัติต่างๆ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
วิจารณ์และข้อยุติ: เพื่อขวัญและกำลังใจของบุคลากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการในด้านต่างๆ คือ ทบทวนและปรับปรุงระเบียบการเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้มีความคล่องตัวมากขึ้น กำหนดตัวชี้วัดการประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือนที่ชัดเจนและเป็นธรรม จัดทำแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพ (career path) อย่างชัดเจนในทุกสายงาน กำหนดตำแหน่งระดับสูงขึ้น โดยเฉพาะในสายงานพยาบาลวิชาชีพ และเร่งรัดกระบวนการประเมินผลงานทางวิชาการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
References
Alhassan RK, Spieker N, van Ostenberg P, Ogink A, Nketiah-Amponsah E, de Wit TF. Association between health worker motivation and healthcare quality efforts in Ghana. Human Resources for Health. 2013 Dec;11:1-1.
Ministry of Public Health. Strategic plan for primary care system 4.0 (2017-2036). Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2017. (in Thai)
Ruangpung M, Kraithaworn P, Kittippimpanon K. Factors related to job satisfaction among nurses in primary care units of Service Health Region 4. Journal of Nursing Science Christian University of Thailand 2022;9(2):1-8. (in Thai)
Sudhipongpracha T, Choksetthakit W, Phuriphongthanawat P, Krityasophon U, Satthatham N, Onphotom Y. Policy analysis and policy design for the transfer of subdistrict health promotion hospitals to provincial administrative organizations (PAOs) [internet]. Health Systems Research Institute; 2021 [cited 2022 Dec]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/ 11228/ 5552? locale-attribute=th. (in Thai)
Uansri S, Markchang K, Chotchoungchatchai S, Ontong S, Panapong N, Pattanasiri T. The transfer of sub-district health promoting hospitals to local government organizations: progress and challenges. J Health Syst Res. 2024;18(3):314-30. (in Thai)
Srisasalux J, Vichathai C, Kaewvichian R. Experience with public health decentralization: the health center transfer mode. J Health Syst Res 2012;3(1):16-34. (in Thai)
Saengmano S, Siriwoharn S, Pichai K. Problem of incomplete transferring sub-district health promoting hospitals from the Ministry of Public Health to local government organizations in Chiang Mai province. Journal of Graduate Research 2014;5(2):25-35. (in Thai)
Lortakul T, Krasang A, Munmee T. The readiness of local administrative organizations in accepting transferring mission of tambon health promoting hospital (HPH) in Phra Nakhon Si Ayutthaya district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation 2021;7(6):29-42. (in Thai)
Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.
Office of the Decentralization Commission for Local Administrative Organizations. Guidelines for transferring the missions of the Chaloem Phrakiat 60th Anniversary Nawaminthrachini health station and subdistrict health promoting hospital to the provincial administrative organization [internet]. 2022 [cited 2022 Dec]. Available from: https://drive.google.com/file/d/1aIdKh0TwdEiVLRlHB5Jdm95EFAKHyhAF/view. (in Thai)
Choengsa-ard N, Soonthorn S, Nikornpittaya S. Factors affecting the achievement of the transfer mission of sub-district health promotion hospitals to local government organizations in Roi Et province. Journal of Politics and Governance 2022;12(3):112-26. (in Thai)
Kaewchan B. Development of the decision-making model for tumbon health promoting hospital personnel to provincial administrative organizations. Chiang Rai Medical Journal 2022;14(1):119-35. (in Thai)
Lortrakul T. The opinion of personnel of tambon health promoting hospital (HPH) in transferring the mission of tambon health promoting hospital (HPH) to local administrative organizations in Phranakhon Si Ayutthaya province. Journal of Ayutthaya Studies 2020;12(1):64-72. (in Thai)
Thanormchayatawat B, Chukumnird S, Lillahkul N, Noin J, Ratchathawan R, Junwin B, Dissara W, et al. Human resource management provided by the Queen Sirikit health centers and subdistrict health promotion hospitals transferred to the management of the provincial administrative organizations using the mechanism of the Primary Health System Act (B.E. 2562) [internet]. Health Systems Research Institute; 2023 [cited 2024 Dec]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5930/hs3018.pdf?sequence=1&isAllowed=y. (in Thai)
Chotchoungchatchai S, Markchang K, Uansri S, Tanomsridachchai W, Pattanasiri T, Ittiphisit S, et al. Process of situation reviewing and health policy and system research providing: the case of transferring sub-district health promoting hospitals to provincial administrative organizations. [internet]. Health Systems Research Institute; 2022 [cited 2024 Dec]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5864/hs2965.pdf?sequence=1&isAllowed=y. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น