การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของมาตรการคัดกรองเบาหวานในประชากรไทย

ผู้แต่ง

  • สุคนธา คงศีล ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วีรชัย ศรีวณิชชากร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เพชร รอดอารีย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • พิจิตรพงศ์ สุนทรพิพิธ ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐนารี เอมยงค์ ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รมนปวีร์ บุญใหญ่ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์
  • ณฐมน พรมอ่อน กลุ่มงานโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
  • สุขุม เจียมตน ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พจมาน พิศาลประภา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กฤช ลี่ทองอิน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • อัญชลี รุ่งศรี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • วรัญญา ปานเมือง ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการประเมินผล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธัญยชนก หมื่นมะโน ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการประเมินผล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริกัลยา กองพันธ์ ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการประเมินผล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, มาตรการการคัดกรองเบาหวาน, ประชากรไทย, ต้นทุน-อรรถประโยชน์

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและเหตุผล: การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (type 2 diabetes: T2DM) ในประชากรทั่วไปมีจำกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุน-อรรถประโยชน์ของกลยุทธ์การคัดกรอง T2DM ด้วย DM risk score (DMRS) และ fasting plasma glucose (FPG)/fasting capillary blood glucose (FCBG) เปรียบเทียบกับการไม่คัดกรองในประเทศไทย

ระเบียบวิธีศึกษา: แบบจำลอง decision tree และ Markov ถูกสร้างเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและจำนวนปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น (quality-adjusted life-year: QALY gained) ของการตรวจคัดกรอง T2DM ด้วย DMRS และ FPG/FCBG เปรียบเทียบกับไม่คัดกรอง ข้อมูลต้นทุน-อรรถประโยชน์เป็นข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิจากเวชระเบียนประชากรไทยอายุ 35-59 ปี จากโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2 แห่ง การคำนวณอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น (incremental cost effectiveness ratio: ICER) ทำในมุมมองทางสังคมและของผู้ให้บริการ

ผลการศึกษา: ในมุมมองทางสังคมและของผู้ให้บริการ การคัดกรอง T2DM ด้วย DMRS และ FPG/FCBG เปรียบเทียบกับไม่มีการคัดกรอง มีค่า ICER เท่ากับ 157,570 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น โดยค่า ICER ที่ได้น้อยกว่า 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น

สรุปผลการศึกษา: กลยุทธ์การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (T2DM) ที่ใช้ DMRS และ FPG/FCBG ถือว่ามีความคุ้มค่าในประเทศไทย เนื่องจากอัตราส่วนต้นทุนต่อประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความเต็มใจจ่ายต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น

References

International Diabetes Federation. IDF diabetes atlas-10th edition [internet]. 2021 [cited 2022 Feb 6]. Available from: www.diabetesatlas.org.

Aekplakorn W, Puckcharern H, Satheannoppakao W. Report on the Thai people's health survey by physical examination, No. 6, 2019-2020. Bangkok: Aksorn Graphics and Design; 2021. (in Thai)

HFocus. Diabetes patients in Thailand continue to surge, reaching 4.8 million people, expected to reach 5.3 million people in 2040 [internet]. 2019 [cited 2022 Mar 14]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18031. (in Thai)

Division of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control. Department of Disease Control campaigns for World Diabetes Day 2021 to raise awareness of diabetes care to receive thorough treatment [internet]. 2021 [cited 2022 Mar 14]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc. (in Thai)

Division of Non-Communicable Diseases. Department of Disease Control. Department of Disease Control campaigns for World Diabetes Day 2020, supporting the role of nurses in creating the power to change diabetes [internet]. 2020 [cited 2022 Mar 14]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=15591&deptcode=brc. (in Thai)

Health Information Group. Strategy and Planning Division. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Public Health Statistics 2020. Nonthaburi: Strategy and Planning Division. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2021.

Aekplakorn W. Report on the 5th survey of Thai people's health by physical examination. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2014. (in Thai)

Diabetes Association of Thailand. Medical practice guidelines for diabetes 2017. 2nd edition. Pathum Thani: Romyen Media; 2017. (in Thai)

Srivanichakorn W, Rawdaree P. Diabetes prevention for Thailand. Journal of Health Science of Thailand. 2022 Apr 29;31(2):363-75. (in Thai)

Toscano CM, Zhuo X, Imai K, Duncan BB, Polanczyk CA, Zhang P, et al. Cost-effectiveness of a national population-based screening program for type 2 diabetes: the Brazil experience. Diabetology & Metabolic Syndrome. 2015 Oct 31:7:95. doi: 10.1186/s13098-015-0090-8.

Dukpa W, Teerawattananon Y, Rattanavipapong W, Srinonprasert V, Tongsri W, Kingkaew P, et al. Is diabetes and hypertension screening worthwhile in resource-limited settings? An economic evaluation based on a pilot of a Package of Essential Non-communicable disease interventions in Bhutan. Health Policy and Planning 2015 Oct;30(8):1032-43. doi:10.1093/heapol/czu106.

Toil PL, Wu O, Thavorncharoensap M, Srinonprasert V, Anothaisintawee T, Thakkinstian A, et al. Economic evaluation of population-based type 2 diabetes mellitus screening at different healthcare settings in Vietnam. PLoS ONE. 2021:16(12);1-18.

Teerawattananon Y, Kingkaew P, Koopitakkajorn T, Youngkong S, Tritasavit N, Srisuwan P, et al. Development of a Health Screening Package under the universal health coverage: the role of health technology assessment. Health Economics [internet]. 2016 [cited 2022 Mar 14];25:162-78. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26774008/. doi: 10.1002/hec.3301.

Aekplakorn W, Bunnag P, Woodward M, Sritara P, Cheepudomwit S, Yamwong S, et al. A risk score for predicting incident diabetes in the Thai population. Diabetes Care. 2006;29(8):1872-7.

Srivanichakorn W, Phisalprapa P, Tangjittipokin W, Washirasaksiri C, Sitasuwan T, Charatcharoenwitthaya P, et al. High risk prediabetes registry and cohort. [Preliminary report]. Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University; 2024.

Sriwijitkamol A, Plengvidhya N, Srivanichakorn W, Preechasuk L. Diabetes registry in Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.

Working Group to Develop a Health Technology Assessment Manual for Thailand. Health technology evaluation manual for Thailand. 2nd ed. 2013. Nonthaburi: Watcharin P.P. Printing; 2014. (in Thai)

Katulanda G, Katulanda P, Dematapitiya C, Dissanayake H, Wijeratne S, Sheriff M, et al. Plasma glucose in screening for diabetes and pre-diabetes: how much is too much? Analysis of fasting plasma glucose and oral glucose tolerance test in Sri Lankans. BMC Endocrine Disorders. 2019;19(11):1-5.

Cheng LJ, Chen JH, Lin MY, Chen LC, Lao CH, Luh H, et al. A competing risk analysis of sequential complication development in Asian type 2 diabetes mellitus patients. Scientific Reports. 2015 Oct 28;5(1):15687. Epub 2015/10/29. https://doi.org/10.1038/srep15687. PMID: 26507664. PubMed Central PMCID: PMC4623532.

Harris MI, Klein R, Welborn TA, Knuiman MW. Onset of NIDDM occurs at least 4–7 yr before clinical diagnosis. Diabetes Care. 1992;15(7):815–9. Epub 1992/07/01. https://doi.org/10.2337/diacare.15.7.815. PMID: 1516497.

Krairittichai U, Potisat S. Survival rates and mortality risk factors of Thai patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of the Medical Association of Thailand. 2017 Feb 1;100:S8-15.

Rattanavipapong W, Luz AC, Kumluang S, Kusumawardani N, Teerawattananon Y, Indriani CI, et al. One step back, two steps forward: an economic evaluation of the PEN program in Indonesia. Health Systems & Reform 2016;2(1):84-98.

Drummond M, Pang F. Transferability of economic evaluation results. In: Drummond M, McGuire A, editors. Economic evaluation in health care: merging theory with practice. Oxford: Oxford University Press; 2001. p. 256-76.

Williams A, Cookson R. Equity in health. In: Culyer AJ, editor. Handbook of health economics. Amsterdam: Elsevier; 2000. p. 1863-910.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2024

How to Cite

1.
คงศีล ส, ศรีวณิชชากร ว, รอดอารีย์ เ, สุนทรพิพิธ พ, เอมยงค์ ณ, บุญใหญ่ ร, พรมอ่อน ณ, เจียมตน ส, พิศาลประภา พ, ลี่ทองอิน ก, กาญจนพิบูลวงศ์ อ, ตันติวงษ์ พ, พิพัฒน์ศาสตร์ ร, รุ่งศรี อ, ปานเมือง ว, หมื่นมะโน ธ, กองพันธ์ ศ. การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของมาตรการคัดกรองเบาหวานในประชากรไทย. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 29 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 1 เมษายน 2025];18(4):529-44. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/2585

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ