สถานการณ์และการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์มะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชลิยา วามะลุน โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กรมการแพทย์
  • โสภิต ทับทิมหิน โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กรมการแพทย์
  • พงศธร ศุภอรรถกร โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กรมการแพทย์
  • บุญหยาด หมั่นอุตส่าห์ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กรมการแพทย์
  • ทิพาพร บุญมานะ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กรมการแพทย์

คำสำคัญ:

การให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์, มะเร็งเต้านม, กลุ่มอาการมะเร็งทางพันธุกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์มะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ดำเนินการระหว่าง กุมภาพันธ์ 2565-ธันวาคม 2566 ประกอบด้วย 2 ระยะ ระยะแรกเป็นขั้นตอนการศึกษาสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์ 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 7 คน นักเทคนิคการแพทย์ 2 คน และผู้ป่วยมะเร็ง 17 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 เป็นขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์ 5 คน  พยาบาลวิชาชีพ 31 คน และประเมินผลการให้คำปรึกษาฯ ในผู้มารับบริการให้คำปรึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 88 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 44 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งหรือประชากรที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ (hereditary breast and ovarian cancer syndrome: HBOC) สูง ที่มารับบริการ ณ คลินิกให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมจำนวน 44 คน ซึ่งได้รับการให้คำปรึกษาและรักษาพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ ทัศนคติและทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินความวิตกกังวลและความซึมเศร้า และแบบประเมินความกังวลโรคมะเร็งในผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แก่นสาระ และการใช้สถิติทดสอบที

ผลการศึกษาสถานการณ์พบว่าการให้คำปรึกษาพันธุศาสตร์โรคมะเร็งยังมีความไม่ชัดเจน บุคลากรทางการแพทย์มีความพร่องในองค์ความรู้ รวมถึงมีความพร่องในสมรรถนะเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง ผลการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็งที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ด้านโครงสร้าง ด้านบุคลากรและด้านระบบบริการ สำหรับการประเมินผลการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง พบว่า ความรู้ ทัศนคติและทักษะพยาบาลหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจของบุคลากรในการให้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความรู้และทัศนคติในผู้รับบริการหลังให้คำปรึกษาฯ เพิ่มขึ้น และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับความวิตกกังวลและซึมเศร้า วัดด้วย Thai hospital anxiety and depression scale (Thai-HAD) ระดับความกังวลต่อโรคมะเร็งลดลงกว่าก่อนใช้รูปแบบการให้คำปรึกษาฯ ที่พัฒนาขึ้น และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับความพึงพอใจในการรับบริการของผู้มารับคำปรึกษาฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง เป็นการสื่อสารที่ช่วยให้ผู้ป่วยหรือครอบครัวมีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรค สาเหตุและแนวทางการรักษาและการป้องกัน มีทางเลือกในการจัดการกับความเสี่ยงที่เป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุด รวมทั้งการปรับตัวของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวให้เข้ากับโรคที่เป็นด้วย ดังนั้นจึงควรนำการให้คำปรึกษาทางทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็งนี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการให้บริการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็งแก่หน่วยบริการสุขภาพด้านโรคมะเร็งต่อไป

References

Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, Bray F. Global cancer statistics 2020: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin 2021;71(3):209-49.

Chantkran W. The basic concepts of carcinogenesis. Asian Archives of Pathology: The Official Journal of Royal College of Pathologists of Thailand 2562;1(1):29-39. (in Thai)

Yanatatsaneejit P, Khowutthitham S. Cancer: secret in genetic code. Thai Journal of Genetics 2555;5(1):1-20. (in Thai)

Sukuntapan M, Arundon T. Genetics and Cancer [internet]. Holistic Center for Cancer Study and Care, Prince of Songkla University. No date [cited 2022 Jan 23]. Available from: https://hocc.medicine.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/08/04april_2012.pdf. (in Thai)

Kuchenbaecker KB, Hopper JL, Barnes DR, Phillips KA, Mooij TM, Roos-Blom MJ, et al. Risks of breast, ovarian, and contralateral breast cancer for BRCA1 and BRCA2 mutation carriers. JAMA 2017;317(23):2402-16.

Srinonprasert V, Tantai N, Maneeon S, Lertwilaiwittaya P. Economic evaluation of BRCA1/BRCA2 genetic testing in patient with breast and ovarian cancer in Thai context. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2022. (in Thai)

Ratanasiri T. Counseling for promotion and prevention of down syndrome. Srinagarind Medical Journal 2004;19(4):261-6. (in Thai)

Bureau of Health Promotion, Department of Health, Ministry of Public health. A guide for genetics consulting training course of down syndrome. Nonthaburi: The War Veterans Organization of Thailand; 2020.

Kunsiripunyo J, Srirot W. Preparation of counseling nurses to support down syndrome screening system in all age groups of pregnant women. Journal of Phrapokklao Nursing College 2021;32(1):237-52. (in Thai)

Jetsrisuparb A. Genetic counselling in thalassemia disease. Journal of Hematology and Transfusion Medicine 2015;25(4):355-64. (in Thai)

Bureau of Health Promotion, Department of Health, Ministry of Public Health. Counseling aspects of hereditary thalassemia. 1999 [cited 2022 Jan 18]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/1465/hs0516.pdf?sequence=2&isAllowed=y Ministry of Public Health. Department of Health, Bureau of Health Promotion. (in Thai)

Prasertsri N, Wamalun C, Taptimhin S, Boonrong C, Bangsri C, Somkhot C, et al. Knowledge, attitudes and expectations toward genetic testing of women with breast cancer. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2023;33(2):112-23. (in Thai)

Nursing Division, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Nursing standards in hospitals. Nonthaburi: The War Veterans Organization of Thailand; 2020. (in Thai)

Ibrahim F. Nursing practice according to the theoretical framework of nursing. 5th ed. Bangkok: Faculty of Nursing, Mahidol University; 2008. (in Thai)

Phengjard J. Applying Watson's human caring theory into palliative care. Thai Red Cross Nursing Journal 2010;3(1):1-17. (in Thai)

Nilchaikovit T, Lortrakul M, Phisansuthideth U. Development of Thai version of hospital anxiety and depression scale in cancer patients. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 1996;41(1):18-30. (in Thai)

Caruso A, Vigna C, Gremigni P. The cancer worry scale revised for breast cancer genetic counseling. Cancer Nurs. 2018;41(4):311-9.

Notification of the Ministry of Public Health Re: The Standard of Genomic Medicine Service of Medical Facilities. (2021 Nov 17) [cited 2022 Jan 23]. The Government Gazette. Volume 138, Special Section 282 Ngor. p. 10–12. Available from: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/282/T_0010.PDF. (in Thai)

Notification of the Medical Council of Thailand no. 52/2565 Re: Medical indications and genomic medicine service standards of medical practitioner. (2022 Sep 2) [cited 2022 Jan 20]. The Government Gazette Volume 139, Special Section 206 Ngor. p. 19–20. Available from: https://www.tmc.or.th/pdf/file-att-30-09-2022.pdf. (in Thai)

Notification of Thailand Nursing and Midwifery Council Re: Qualifications, duties and responsibilities of nursing and midwifery professionals providing genomic medicine services B.E. 2565 [cited 2022 Jan 23]. The Government Gazette Volume 140, Special Section 17 Ngor. p. 32-34. Available from: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/140D017S0000000003200(3).pdf. (in Thai)

Piwbuakum D. The effects of genetic counselling program on the acceptance of screening Down’s syndrome among pregnant women under 35 years. TUHJ [internet]. 2021 Apr. 27 [cited 2022 Jan 20];6(1):36-49. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/250673.

Culver JO, Bertsch NL, Kurz RN, Cheng LL, Pritzlaff M, Rao SK, et al. Systematic evidence review and meta-analysis of outcomes associated with cancer genetic counseling. Genet Med. 2024 Jan [cited 2024 Mar 20];26(1):100980. Available from: https://www.gimjournal.org/article/S1098-3600(23)00996-6/abstract. doi: 10.1016/j.gim.2023.100980. Epub 2023 Sep 6. PMID: 37688462.

Pithukpakorn M, Shuangshoti S, Teerapakpinyo C, Satproedprai N, Chantratita W, Polprasert C. Study of germline genome data in Thai cancer patients: a pilot study for Genomics Thailand. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2022.

Kansuttiviwat C, Lertwilaiwittaya P, Roothumnong E, Nakthong P, Dungort P, Meesamarnpong C, et al. Germline mutations of 4567 patients with hereditary breast-ovarian cancer spectrum in Thailand. NPJ Genom Med 2024;9(1):1-13.

Pereira JZ, Carneiro JG, Vieira MS, Valente BM, de Oliveira PZ, Mello CL, et al. Frequency of germline genetic variants in women with a personal or family history of breast cancer from Brazil. Mol Biol Rep 2022;49(10):9509-20.

Marabelli M, Cheng SC, Parmigiani G. Penetrance of ATM gene mutations in breast cancer: a meta-analysis of different measures of risk. Genet Epidemiol 2016;40(5):425-31.

Easton DF, Pharoah PD, Antoniou AC, Tischkowitz M, Tavtigian SV, Nathanson KL, et al. Gene-panel sequencing and the prediction of breast-cancer risk. N Engl J Med 2015;372(23):2243-57.

Daly MB, Pal T, Maxwell KN, Churpek J, Kohlmann W, AlHilli Z, et al. NCCN Guidelines® Insights: genetic/familial high-risk assessment: breast, ovarian, and pancreatic, version 2.2024. J Natl Compr Canc Netw 2023;21(10):1000-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2024

How to Cite

1.
วามะลุน ช, ทับทิมหิน โ, ศุภอรรถกร พ, หมั่นอุตส่าห์ บ, บุญมานะ ท. สถานการณ์และการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์มะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 29 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 1 เมษายน 2025];18(4):545-66. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/2705

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ